ในพระวินัยหากภิกษุแสดงธรรมต่อมาตุคามเกิน ๕-๖ คำ จะต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่จะมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ ๑ ภิกษุแสดง-ธรรมหย่อนกว่า ๕-๖ คำ ๑ ภิกษุลุกขึ้นแล้วนั่งแสดงธรรมต่อไป ๑ มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก ภิกษุแสดงแก่มาตุคามนั้น ๑ ภิกษุแสดงแก่มาตุคามอื่น ๑ มาตุคามถามปัญหา ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ ๑ ภิกษุแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นอยู่ มาตุคามฟังอยู่ด้วย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติ
ดังนั้น จึงต้องการทราบว่า หากในตอนเช้าที่เราถวายอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ ท่านยืนรับเรานั่งลงไหว้ แล้วท่านกล่าวสัมโมทนียคาถา ต้องการทราบว่า การที่เรานั่งลงไหว้จนท่านแสดงสัมโมทนียคาถาจนจบซึ่งยิ่งกว่า ๕-๖ คำ จะเป็นเหตุทำให้ท่านต้องอาบัติหรือไม่ค่ะ
ตามพระวินัยธรรมเทศนาสิกขาบท มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่ ๗ ถ้าในสถานที่นั้นมีเพียงพระภิกษุกับผู้หญิง (มาตุคาม) ไม่มีผู้ชายอยู่แถวนั้นเลยแล้วท่านกล่าวสัมโมทนียคาถา (ให้พร) เกิน ๕-๖ บท พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ และถ้าพระภิกษุยืนกล่าวธรรมะ ผู้ฟังนั่งฟังพระภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ตามเสขิยสิกขาบท
แล้วถ้าใส่อาหารบิณฑบาตตอนเช้า มีผู้ที่นั่งฟังสัมโมทนียกถา (รวมถึงผู้ชายอยู่ด้วย) ต้องอาบัติหรือเปล่าครับ
จากคำถามเรื่องการแสดงธรรมแก่มาตุคาม ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้ามารดาของผมใส่บาตรในตอนเช้าเพียงผู้เดียวเพราะแต่ละบ้านอยู่ห่างกันก็จะเข้าข่ายในข้อที่ว่าห้ามให้พรเกิน 5-6 คำแก่มาตุคาม แล้วคนแก่คนเฒ่าเวลาใส่บาตรแล้วก็อยากจะให้พระให้พรแก่ตน จะทำให้ไม่มีโอกาสได้รับพรจากพระเลยหรือครับ และคนแก่คนเฒ่าจะถามธรรมกับพระสงฆ์ก็ไม่ได้อีกซีครับเพราะท่านไม่สามารถแสดงธรรมเกิน 5-6 คำ ได้และข้อห้ามนี้เกิดจากบัญญัติห้ามในเหตุการณ์อะไรครับ
พระบัญญัติข้อนี้ถ้ามีผู้ถามปัญหา พระถิกษุสามารถตอบปัญหายาวเกิน ๕-๖ บทได้คือเป็นข้อยกเว้นครับ สำหรับต้นบัญญัติเรื่องนี้ โปรดอ่านโดยตรงในพระวินัย
เชิญคลิกอ่าน....
เรื่องพระอุทายี
เชิญคลิกอ่าน...
ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เป็นปาจิตตีย์
ขออนุโมทนาครับ