ทำไมจึงเดือดร้อนบ่อยจัง
โดย kanchana.c  3 ก.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12818

แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1487

มองย้อนกลับไปในชีวิตที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่จดจำได้ คือ ความทุกข์ความเดือดร้อน ใจ เพราะคำติเตียนเสียส่วนมาก ยังไม่ถึงกับเป็นคำด่า แต่ก็คงเป็นคนติดสรรเสริญมาก เมื่อถูกตำหนิติเตียนแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดความทุกข์ใจมากมาย ถึงกับร้องไห้ สะอึกสะอื้น (เมื่อตอนเป็นเด็ก) และจดจำมาได้ถึงบัดนี้ แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่า ๕๐ ปีแล้ว

เมื่อได้มาศึกษาธรรมแล้ว พอเข้าใจได้ว่า เดือดร้อนด้วยเรื่องไม่ควรเดือดร้อนทั้งนั้น เพราะการเห็นสิ่งที่ไม่ดี การได้ยินเสียงที่ไม่ดี การได้กลิ่นที่ไม่ดี การลิ้มรสที่ไม่ดี ที่ เป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้เคยกระทำไว้แล้วในอดีต จะเป็นชาตินี้ หรือชาติไหนก็ตาม เป็นจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ ไม่ใช่ความรู้สึกเป็นทุกข์ เหมือนกับทางกาย แต่ที่ทุกข์เดือดร้อนเพราะกิเลส เพราะความไม่รู้ เพราะความยึดติด ในสิ่งที่พอใจ คือ คำสรรเสริญ เมื่อไม่ได้สิ่งที่พอใจ ก็ต้องเกิดความไม่พอใจเดือดร้อน ใจอย่างที่เป็นอยู่

ได้ฟังท่านอาจารย์บรรยายแนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๑๔๗๘ ท่านได้นำข้อความ

จากอรรถกถา อุปัฏฐานสูตร มีใจความว่า

ความเดือดร้อนมี ๓ อย่าง คือ เดือดร้อนด้วยความแก่ เดือดร้อนด้วยความเจ็บ ป่วย เดือดร้อนด้วยกิเลส

ในความเดือดร้อน ๓ อย่างนั้น ความเดือดร้อนด้วยกิเลส มีบทว่า สลฺลวิทฺธสฺส ความว่า แทงที่หัวใจด้วยลูกศร คือ ตัณหาที่ถูกซัดไปด้วยอวิชชา เหมือนถูกแทงด้วย ลูกศร คือ หอกที่อาบด้วยยาพิษ


จะเห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงว่า การถูกตำหนิติเตียนนั้นเป็นความเดือด ร้อน เพราะไม่เกี่ยวกับทางกาย ซึ่งเกิดพร้อมกับความรู้สึกเป็นทุกข์ แต่ที่เราเป็นทุกข์ เดือดร้อนเพราะกิเลสล้วนๆ เมื่อเจ็บป่วยหรือถึงวัยชราก็ต้องเป็นทุกข์ เพราะกายเจ็บ ปวด และยิ่งทุกข์หนักไปอีก เพราะกิเลส ท่านอาจารย์อธิบายต่อไปว่า

“เวลาที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น เจ็บปวดทรมาน เหมือนกับการยิงลูกศรไปที่หนึ่ง แต่ว่า ยังไม่พอ โทมนัส ความกังวล ความเดือดร้อนใจ ก็อุปมาเหมือนกับยิงลูกศรซ้ำไปที่เก่า อีกดอกหนึ่ง เพิ่มความทุกข์ทรมานขึ้นอีกแค่ไหน แผลเดียว เจ็บมาก เป็นกายวิญญาณ ที่เกิดร่วมกับทุกขเวทนา ยังไม่พอ ยังมีกิเลส ความห่วง ความกังวล ความเดือดร้อนใจ เกิดซ้ำอีก เท่ากับว่าแผลเก่านั้น แล้วก็ยิงลูกศรซ้ำไปอีกดอกหนึ่ง เพราะฉะนั้น ความ ทุกข์ทรมานจะเกิดขึ้นมากสักแค่ไหน”

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ค่ะ ที่นำพระธรรมของพระผู้มีพระภาคมาสอนอย่าง ละเอียด ทำให้เข้าใจชีวิตตามที่ควรจะเป็น ตามความเป็นจริงมากขึ้น



ความคิดเห็น 1    โดย Jans  วันที่ 4 ก.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 4 ก.ค. 2552

ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ ตอนที่พระพุทธเจ้าถูกด่าว่าพระอานนท์ก็บอกให้พระพุทธเจ้า เสด็จไปอยู่ที่เมืองอื่น พระพุทธเจ้าก็บอกว่าถ้าที่เมืองอื่นยังด่าว่าเราอยู่ พระอานนท์ก็ บอกว่าให้ไปที่เมืองอื่นอีก พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องเกิดขึ้นที่ใดก็ให้เรื่องสงบที่นั้นค่ะ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถาคาว่า "เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทน

ลูกศร ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม, เพราะคนเป็น อันมาก เป็นผู้ทุศีล, ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมนำ พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมเสด็จ ขึ้นพาหนะที่ฝึกแล้ว; ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำ ล่วงเกินได้, ผู้นั้นชื่อว่าฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ ประเสริฐสุด. ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ, ม้าอาชาไนย ม้าสินธพที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ, พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ, (แต่) ผู้ฝึกตนเองได้แล้ว ประเสริฐกว่านั้น."


ความคิดเห็น 3    โดย aiatien  วันที่ 4 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 4 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย suwit02  วันที่ 4 ก.ค. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 6    โดย khampan.a  วันที่ 4 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 170

ขิตกเถรคาถา (ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ) ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า "จิตของใคร ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดังภูเขา ไม่กำหนัดแล้ว ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, ไม่ขัดเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง, ผู้ใด อบรมจิต ได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้น แต่ที่ไหน ... "

--- การได้ประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้าย เรื่องไม่ดี ไม่น่าปรารถนาหรือ เป็นเรื่องดีที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ (คำว่าบังเอิญไม่มีในพระพุทธศาสนา) หรือไม่ได้เกิดขึ้นเพราะบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำให้ (เมื่อไม่เข้าใจก็จะโทษคนอื่น หรือคิดว่าเป็นคนอื่นที่ทำให้) แต่แท้ที่จริงแล้วเกิดขึ้นเพราะตนเอง กล่าวคือ ตนเอง เป็นผู้กระทำเหตุไว้แล้ว เหตุที่ว่านั้น ก็คือ กุศล-กรรม และ อกุศลกรรม อาจจะเป็นเหตุในชาตินี้ หรือ เป็นเหตุในอดีตชาติที่ผ่านๆ มาก็ได้ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลย ถ้าไม่ได้สร้างเหตุไว้ ผลก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีเข้าใจอย่างนี้ ย่อมจะทำให้เป็นผู้มีความหวั่นไหวน้อยลง ไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของอกุศล ทั้งด้วยโลภะ (ความติดข้องต้องการ) เมื่อได้รับสิ่งที่ดี น่าปรารถนา หรือ ด้วยโทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ) เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ดังนั้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงเป็นเครื่องทดสอบปัญญา ทดสอบความอดทนได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็นถึงประโยชน์ของความเข้าใจพระธรรม ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...


ความคิดเห็น 7    โดย เมตตา  วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย พุทธรักษา  วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย paderm  วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

[๖๐๗] คำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ในคำว่า ก็ความ สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญ นั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย. คำว่า ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ให้……..สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 10    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 5 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย panasda  วันที่ 6 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ