ธรรมสำหรับผู้อยู่ครองเรือน [อาฬวกสูตร เป็นต้น]
โดย khampan.a  17 ก.พ. 2553
หัวข้อหมายเลข 15519

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๒๕ อาฬวกสูตร [๘๔๔] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนได้ปัญญา อย่างไรหนอ, ทำอย่างไร จึงจะหาทรัพย์ได้, คนได้ชื่อเสียงอย่างไรหนอ, ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้, คนละโลกนี้ไปสู่ โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะ ไม่เศร้าโศก. [๘๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า บุคคล เชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ ปัญญา, เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็น ผู้ทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้, คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะ ความสัตย์, ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้, บุคคล ใดผู้อยู่ครองเรือน ประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณ- พราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูซิว่า ในโลก นี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ และ ขันติ. ---------------------------

* สัจจะ คือ วาจาสัจจ์ ธรรมะ หรือ ทมะ หมายถึง ความฝึกตน ได้แก่ ปัญญา ธิติ คือ ความขยัน ความเพียร จาคะ คือ การให้ การเสียสละ *


ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 17 ก.พ. 2553

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๓๕๕

ธรรมิกสูตร


สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า

ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว ไม่

พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า และไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่า.

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขา

ไม่ให้อะไรๆ ในที่ไหนๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้

อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้น

วัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด.

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์

เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน

ฉะนั้น แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหม-

จรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น.

ก็สาวก ผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ใน

ท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่

บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่

เป็นจริงทั้งหมด.

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่พึงดื่มน้ำเมา

พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม เพราะทราบชัดการ

ดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด.

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง

และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้ว ให้กระทำบาป

เพราะความเมานั่นเอง สาวกพึงเว้นความ

เป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อัน

เป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้. ฯลฯ


ความคิดเห็น 2    โดย khampan.a  วันที่ 17 ก.พ. 2553
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๑๐ ๕. ปฐมธนสูตร

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล. ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มี แก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียก ผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวตของผู้นั้นไม่เปล่า บุคคล เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการ เห็นธรรม.

ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 17 ก.พ. 2553
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๑๗ ๒. สังคหสูตร (ว่าด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ) [๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์) ๔ ประการนี้ สังคหวัตถุ ๔ ประการ คืออะไร คือ ทาน (การให้ปัน) ๑ เปยยวัชชะ (เจรจาไพเราะ) ๑อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน) ๑ สมานัตตตา (ความวางตนสม่ำเสมอ) ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการ. การให้ปัน ๑ เจรจาไพเราะ ๑ บำเพ็ญประโยชน์ ๑ ความวางตนสม่ำเสมอ ในธรรมนั้นๆ ตามควร ๑ เหล่านี้แลเป็น ธรรมเครื่องสงเคราะห์ในโลก เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) คุมรถที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น ถ้าธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ไม่มีไซร้ มารดาหรือบิดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร, ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตทั้งหลาย ยังเหลียวแลธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้อยู่ เพราะเหตุนั้นบัณฑิตเหล่านั้น จึงได้ถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่น่าสรรเสริญ.

ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 17 ก.พ. 2553

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๐๖

๒. อันนนาถสูตร ว่าด้วยสุข ๔ ประการ

[๖๒] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้รับตามกาล-สมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์

โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

อนณสุขํ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

อนวชฺชสุขํ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 17 ก.พ. 2553
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๕๕๓ อินทริยชาดก [๑๑๗๕] ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือน ดีชั้นหนึ่ง, การแบ่งปันโภคทรัพย์ให้แก่สมณ- พราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้วบริโภคด้วยตนเอง ดีชั้นสอง, เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจด้วยความ

มัวเมา ดีชั้นสาม, เมื่อเวลาเสื่อมประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้นสี่. ... ฯลฯ ...

ความคิดเห็น 6    โดย สามารถ  วันที่ 17 ก.พ. 2553

ขอบคุณมากคครับ

ผมจะไปศึกษาอย่างละเอียดครับ