ไม่มนสิการโดยแยบคาย [อรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร]
โดย เมตตา  26 พ.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 16338

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376- 377

๑๑.อโยนิโสมนสิการสูตร

อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย

[๗๘๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล เธอไปที่พักในกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกอันลามก

คือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก.

[๗๙๐] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิ่งอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู

ใคร่ประโยชน์ หวังจะให้ภิกษุนั้นสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้

กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า ท่านถูกวิตกกิน เพราะมนสิการไม่แยบคาย

ท่านจงละมนสิการไม่แยบคายเสีย และจงใคร่ครวญโดยแยบคาย ท่าน

ปรารภพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความ

ปราโมทย์ ปีติและสุขโดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้นท่านจักเป็นผู้มากด้วยความ

ปราโมทย์ จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้อัน

เทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล.

อรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสเล วิตกฺเก คือ ซึ่งมหาวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น.

บทว่า อโยนิโสมนสิการา แปลว่า เพราะไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบาย.

บทว่า โส แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า อโยนิโส ปฏินิสฺสชฺช คือ ท่านจง

เว้นการไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบายนั้น. บทว่า สตฺถารํ ได้แก่ กล่าวกัมมัฏฐาน

ที่น่าเลื่อมใสด้วยคาถานี้. บทว่า ปีติสุขมสํสยํ ได้แก่ จักบรรลุปีติอันมี

กำลังและความสุขโดยส่วนเดียว.

จบอรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร ที่ ๑๑