อภิธรรมในชีวิต [41] อุทธัจจเจตสิก สติเจตสิก
โดย พุทธรักษา  22 มี.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18093

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุทธัจจเจตสิก และ สติเจตสิก โมหมูลจิตประเภทที่ ๒ เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา ประกอบด้วย "อุทธัจจเจตสิก" โดยศัพท์ "อุทธัจจะ" หมายถึง สภาพที่ไม่สงบ หรือ ฟุ้งซ่าน อุทธัจจเจตสิก ต้องเกิดร่วมกับ "อกุศลจิตทุกประเภท" ขณะใด ที่จิต มี อุทธัจจะ เกิดร่วมด้วย ขณะนั้น ไม่มี "สติ" "สติ" ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต ทุกประเภท" สติ เป็น เจตสิก ที่ดีงาม สติ ไม่ได้เกิดเฉพาะขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เท่านั้นแต่ ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล ศึกษาพระธรรม แสดงธรรม หรือ เจริญสมถภาวนาสติ ก็เกิดร่วมด้วย แต่ "สติ" ในขณะที่ "เจริญวิปัสสนาภาวนา" เท่านั้นที่ ระลึก รู้ ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม จิต ที่มี อุทธัจจเจตสิก เกิดร่วมด้วย เป็นกุศลไม่ได้ เพราะขณะนั้น ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล ไม่เจริญภาวนา อุทธัจจเจตสิก ทำให้ จิต ฟุ้งซ่านจากกุศลธรรม อุทธัจจเจตสิก เป็น "สภาพธรรม ที่ไม่สงบ" ซึ่งเกิดกับ "อกุศลจิต ทุกประเภท" อุทธัจจเจตสิก เกิดกับ โมหมูลจิต ที่มีวิจิกิจฉาเกิดร่วมด้วย เพราะ อุทธัจจเจตสิก ต้องเกิดกับ "อกุศลจิต ทุกประเภท" แต่โมหมูลจิตประเภทที่ ๒ คือ โมหมูลจิต ที่มี อุทธัจจเจตสิก เกิดร่วมด้วย (โมหมูลจิต อุทธัจจสัมปยุตต์) ต่างกับ โมหมูลจิตประเภทที่ ๑ คือ โมหมูลจิต ที่มี วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดร่วมด้วย (โมหมูลจิต วิจิกิจฉาสัมปยุตต์) เพราะ วิจิกิจฉาเจตสิก ไม่เกิดกับ อกุศลจิตทุกประเภทแต่เกิดกับโมหมูลจิตเพียงประเภทเดียวเท่านั้น คือ โมหมูลจิตวิจิกิจฉาสัมปยุตต์ โมหมูลจิตประเภทที่ ๒ ซึ่งมี อุทธัจจสัมปยุตต์ นั้นเกิดขึ้นมากมาย จนนับไม่ถ้วน ในวันหนึ่งๆ แต่ก็ "ยากที่จะรู้" ลักษณะของจิตประเภทนี้ ถ้าไม่ได้อบรมเจริญวิปัสสนาภาวนาก็ไม่รู้ "ลักษณะ" ของ โมหมูลจิต ประเภทนี้ ขณะที่โมหมูลจิตประเภทที่ ๒ ซึ่งเป็น อุทธัจจสัมปยุตต์ เกิดขึ้นขณะนั้น ไม่ระลึก-รู้-ลักษณะของสภาพของอารมณ์ขณะนั้น

เราอาจจะไม่เห็นโทษของโมหมูลจิต ที่เกิดร่วมกับอุทธัจจเจตสิกเพราะขณะนั้น เป็นจิตที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา (ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์) แต่อกุศลจิต ทุกประเภท เป็นโทษ

โมหเจตสิก และ ปัญญาเจตสิก

โมหเจตสิก เป็นโทษ เพราะ เป็นมูล (เหตุให้เกิด) ของ "อกุศลธรรมทั้งปวง" เมื่อ "ไม่รู้-สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง" อกุศลธรรม ก็จะ สะสมมากขึ้น โมหเจตสิก เป็น ปัจจัยให้เกิด "โลภะ" (โลภมูลจิต) ... เพราะเมื่อ "ไม่รู้" สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ก็ย่อมเพลิดเพลินไป ในอารมณ์ ที่ปรากฏทางทวารต่างๆ โมหเจตสิก เป็นปัจจัยให้เกิด "โทสะ" (โทสมูลจิต) เพราะเมื่อ "ไม่รู้" สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ก็ย่อมเกิดความโกรธได้ ขณะที่ประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โมหเจตสิก เกิดกับ อกุศลจิต ทุกประเภทและ เป็น (มูล) เหตุ ให้กระทำ "อกุศลกรรมบถ" ทางกาย วาจา ใจ

ขณะใด ที่ "สติ" ระลึก ตรงสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏทางทวารหนึ่ง ทวารใดใน ๖ ทาง เท่านั้นคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ "ปัญญา" จึงจะสามารถเจริญขึ้นจนกระทั่งสามารถ "ดับโมหะ" ได้ เป็นสมุจเฉท
พระอริยบุคคล

พระโสดาบันบุคคล (ผู้-รู้แจ้ง-อริยสัจจธรรม-ขั้นแรก) สามารถ ดับ โมหมูลจิต วิจิกิจฉาสัมปยุตต์ ได้เป็นสมุจเฉท ท่าน "ไม่มีความสงสัย ในปรมัตถธรรม" อีกเลย ท่านรู้จัก "โลกในอริยวินัย" ไม่มีความสงสัย เคลือบแคลง ใน พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ไม่สงสัย ใน "มัคคปฏิปทา" ซึ่งเป็น หนทาง ที่นำไปสู่การดับกิเลส.

พระโสดาบันบุคคล (ผู้รู้แจ้งในอริยสัจจธรรมขั้นแรก) พระสกทาคามี (ผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นที่สอง) พระอนาคามี (ผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นที่สาม) ทั้ง ๓ บุคคล ยังมี "โมหมูลจิตอุทธัจจสัมปยุตต์" พระอรหันต์ เท่านั้น ที่ดับกิเลสได้ หมดสิ้น


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน



ความคิดเห็น 1    โดย chaiyut  วันที่ 23 มี.ค. 2554

โมหเจตสิก เป็นโทษ เพราะ เป็นมูล (เหตุให้เกิด) ของ "อกุศลธรรมทั้งปวง"เมื่อ "ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง" อกุศลธรรม ก็จะ สะสมมากขึ้น

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 23 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ