จตุตถปาราชิกรรณนา
โดย บ้านธัมมะ  9 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42736

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๒

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

จตุตถปาราชิกรรณนา 605

อธิบายศัพท์กิริยาอนาคต 606

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุที่อยู่ฝังแม่น้ําฯ 607

โจรภายนอกศาสนาเที่ยวปล้นบ้านชายแดนฯ 608

มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ํายีสิกขาบทฯ 609

มหาโจรในพระศาสนามี ๕ จําพวก 611

แก้อรรถนิคมคาถา 614

ปฐมบัญญัติจตุตถปาราชิก 617

อนุบัญญัติจตุตถปาราชิก 617

เหตุที่ให้เชื่อถือมีฐานะ ๖ อย่าง 622

อรรถาธิบายฐานะ ๖ อย่าง 623

เรื่องสอบสวนดูปฏิปทาของภิกษุผู้อ้างตนได้บรรลุ 625

อธิบายบทภาชนีย์ 627

กถาว่าด้วยสุทธิกมหาวาร 633

กถาว่าด้วยผู้มีความประสงค์จะกล่าว 639

กถาว่าด้วยปัจจัยปฏิสังยุตตวาร 641

จตุตถปาราชิกสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๓ 642

วินีตวัตถุในจตุตถปาราชิก

เรื่องสําคัญว่าได้บรรลุ 643

เรื่องต้้งกติกาหลีกไป 647

เรื่องพระมหาโมคคัลลานะเห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต 649

เรื่องมังสเปสีเปรต 653

เรื่องมังสปิณฑเปรต 653

เรื่องนิจฉวีเปรต 653

เรื่องอสิโลมเปรต 653

เรื่องสัตติโลมเปรต 654

เรื่องอุสุโลมเปรต 654

เรื่องสูจิโลมเปรต 654

เรื่องสูจิโลมเปรตที่ ๒ 654

เรื่องอัณฑภารเปรต 655

เรื่องปรทาริกเปรต 655

เรื่องเปรตพราหมณ์ชั่ว 656

เรื่องมังคลีหญิงเปรต 656

เรื่องโอกิลินีหญิงเปรต 656

เรื่องโจรฆาตกเปรต 657

เรื่องพระภิกษุเปรตเป็นต้น 657

เรื่องแม่น้ําตโปทา 658

เรื่องการรบ 659

เรื่องช้างลงน้ํา 659

เรื่องพระโสภิตะ 660

บทสรุปปาราชิก 661

อธิษฐานคาถาของท่านผู้รจนา 664


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 2]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 605

จตุตถปาราชิกวรรณนา

พระศาสดา ผู้ทรงรู้แจ้งสัจจะทั้ง ๔ ทรงประกาศ จตุตถปาราชิกใดไว้แล้ว, บัด นี้ มาถึงลำดับสังวรรณนาแห่งจตุตถปาราชิกนั้นแล้ว ; เพราะเหตุนั้น คำใดที่จะพึงรู้ ได้ง่าย และคำที่ข้าพเจ้าได้ประกาศแล้วใน เบื้องต้น, สังวรรณนานี้ แห่งจตุตถปาราชิก แม้นั้น จะเว้นคำนั้นๆ เสีย.

[เรื่องภิกษุพวกจำพรรษาริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา]

คำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวสาลิยํ วิหรติฯ เปฯ คิหีนํ กมฺมนฺตํ อธิฏเม ความว่า พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการที่ควร ทำ ในนาและในสวนเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์เถิด. มีคำอธิบายว่า พวกเรา จงบอก และจงพร่ำสอนว่า พวกท่านควรทำอย่างนี้ ไม่ควรทำอย่างนี้

บทว่า ทูเตยฺยํ ได้แก่ การงานของทูต.

บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ ไป. อธิบายว่า ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ไปให้ลุถึงความเป็นพรหม หรือ พระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิง คือ บุรุษผู้ ประเสริฐสุด ซึ่งเป็นผู้ได้ฌาน และเป็นพระอริยเจ้า.

ในคำว่า อสุโก ภิกฺขุ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุทั้งหลาย ปรึกษากับตนอย่างนั้นแล้ว ภายหลัง เมื่อกล่าวแก่พวกคฤหัสถ์พึงทราบว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 606

ได้กล่าวสรรเสริญด้วยอำนาจแห่งชื่อทีเดียว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อพุทธรักขิต ได้ปฐมฌาน ชื่อธรรมรักขิต ได้ทุติยฌานดังนี้เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า เอโสเยว โข อาวุโส เสยฺโย ความว่า การช่วยอำนวยกิจการ และการนำข่าวสาส์นไปด้วยความเป็นทูต มี ข้าศึกมาก มีการแข่งดีกันมาก ทั้งเป็นของไม่สมควรแก่สมณะ , ส่วนข้อที่พวก เราพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้นแล เป็นสิ่งที่ น่าสรรเสริญกว่า คือ ยอดเยี่ยมกว่าได้แก่ ดีกว่ากิจทั้งสองนั้น เป็นไหนๆ. ท่าน กล่าวอธิบายไว้อย่างไร? กล่าวไว้ว่า ข้อที่พวกเราจักพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ ผู้ถามถึง หรือผู้มิได้ถามถึงภิกษุผู้นั่งพัก อิริยาบถอยู่หรือโดยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้นนี้ ได้ปฐมฌาน นี้แลประ เสริฐที่สุด.

[อธิบายศัพท์กิริยาอนาคต]

ก็ เมื่อความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต ไม่มี ภิกษุเหล่านั้น จักกล่าว ชมคุณนั้น ในขณะนั้นไม่ได้เลย, เพราะเหตุนั้น เนื้อความที่ท่านมิได้แต่ง ปาฐะที่เหลือ กล่าวไว้ว่า ภาสิโต ภวิสฺสโต จึงไม่ถูก ; เพราะฉะนั้น ใน บทว่า ภาสิโต นี้ บัณฑิตควรทำไห้มีความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต แล้ว พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า คุณอย่างใด จักเป็นสิ่งที่พวกเรากล่าวชมอย่างนั้น คุณอย่างนั้นต้องประเสริฐที่สุด. แต่นักศึกษา ควรแสวงหาลักษณะจากคัมภีร์ ศัพทศาสตร์.

สองบทว่า วณฺณวา (๑) อเหสุํ ความว่า วรรณะแห่งสรีระที่ใหม่เอี่ยม อย่างอื่นนั่นแล เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีน้ำนวล ด้วยวรรณะนั้น


(๑) บาลีเป็น วณฺณวนฺโต


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 607

บทว่า ปินินฺทฺริยา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีอินทรีย์อิ่ม โดยความ ที่อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ไม่เหี่ยวแห้ง เพราะโอกาสที่ประสาททั้ง ๕ ตั้งมั่น เป็นของบริบูรณ์.

บทว่า ปสนฺนมุขวณฺณา มีความว่า เป็นผู้มีน้ำนวลโดยไม่แปลก กัน แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สีหน้าของภิกษุเหล่านั้น ก็ผ่องใสเกินไป กว่า วรรณะแห่งสรีระ. อธิบายว่า ผ่องใสไม่หม่นหมอง คือบริสุทธิ์.

บทว่า วิปฺปสนฺนจฺฉวิวณฺณา มีความว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มี น้ำนวลด้วยวรรณะใด ซึ่งเป็นเช่นกับดอกกรรณิการ์, วรรณะเช่นนั้นของ มนุษย์ทั้งหลายแม้เหล่าอื่น ก็มีอยู่, * เหมือนอย่างว่า (วรรณะเช่นนั้น) ของ มนุษย์เหล่านี้เป็นฉันใด, ของภิกษุเหล่านั้น ไม่เป็นฉัน นั้น คือ ผิวพรรณ ของภิกษุเหล่านั้น ผุดผ่อง. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า มีผิวพรรณผุดผ่อง. ด้วยประการอย่างนี้แล ภิกษุเหล่านั้น ไม่หมั่นประกอบอุเทศและปริปุจฉาเลย ทั้งไม่หมั่นประกอบกรรมฐานด้วย. โดยที่แท้ ครั้นฉันโภชนะที่ประณีต ซึ่งได้มาด้วยการพรรณนาคุณที่ไม่เป็นจริง เป็นการหลอกลวง แม้ตามประกอบอยู่, ซึ่งความเป็นผู้ยินดีในความหลับตาม สบาย และความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ จึงถึงความโสภาทางสรีระนี้ มีส่วนเปรียบเหมือนพวกพาลมฤคคึกคะนอง ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ถามพวกภิกษุที่อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

บทว่า วคฺคุมุทาตีริยา ได้แก่ พวกภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา.

ข้อว่า กิจฺจิ ภิกฺขเว ขมนิยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. สรีรยนต์นี้ของพวกเธอ ซึ่งมีจักร ๔ มีทวาร ๙


(๑) น่าจะเป็น กตฺถิ ตามในอัตถโยชนา ๒/๔๑๙ เพราะรูปเรื่องก็เป็นเช่นนั้น คือพวกภิกษุมีสีหน้าผ่องใส แต่พวกมนุษย์ไม่ผ่องใสเหมือนพวกภิกษุ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 608

ยังพอทนได้แลหรือ? คือ พวกเธอยังอาจเพื่ออดทนอดกลั้น เพื่อบริหารได้ ละหรือ? สรีรยนต์ของพวกเธอ ไม่ให้ทุกข์อะไรๆ เกิดขึ้นบ้างหรือ?

ข้อว่า กจฺจิ ยาปนิยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พวกเธอยังอาจเพื่อให้สรีรยนต์เป็นไป คือ ให้ดำเนินไปในกิจทั้งปวงบ้างหรือ? สรีรยนต์ ของพวกเธอไม่แสดงอันตรายอะไรๆ บ้างหรือ?

สองบทว่า กุจฺฉิ ปริกนฺโต ความว่า ท้องอันพวกเธอคว้านแล้ว พึงเป็นของดีกว่า. ปาฐะว่า กุจฺฉิ ปริกตฺโถ บ้าง ก็ใช้ได้.

[โจรภายนอกศาสนาเที่ยวปล้นบ้านชายแดนเป็นต้น]

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพวกภิกษุผู้อยู่ริมฝั่ง แม่น้ำวัคคมุทา โดยอเนกปริยาย อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มา. ก็แล ครั้นตรัสเรียกมาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มหาโจร ๕ จำพวกเหล่านี้ เป็นต้น เพื่อมิให้ภิกษุแม้เหล่าอื่นกระทำกรรมเห็นปานนั้น ต่อไป เพราะกรรมที่ภิกษุผู้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาเหล่านั้นกระทำ จัดเป็น โจรกรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา มีคำอธิบาย ว่า มีอยู่ และหาได้อยู่.

บทว่า อธิ คือ ในสัตวโลกนี้.

สองบทว่า เอวํ โหติ ความว่า ความปรารถนาในส่วนเบื้องต้น ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า กทาสุ นามาหํ นี้ เป็นนิบาต. ความว่า ชื่อ เมื่อไรหนอ?

ข้อว่า โส อปเรน สมเยน ความว่า มหาโจรนั้น ครั้นคิดใน ส่วนเบื้องต้นอย่างนั้นแล้ว ก็เพิ่มพูนบริษัทขึ้นโดยลำดับ กระทำกรรมมีอาทิ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 609

อย่างนั้น คือ กรรมเป็นเหตุประทุษร้ายคนเดินทาง ปล้นสดมภ์ชาวบ้านที่ตั้ง อยู่ชายแดน เป็นบุรุษผู้ถึงความเจริญไพบูลย์ขึ้นแล้ว ทำบ้านมิไห้เป็นบ้านบ้าง ทำชนบทมิให้เป็นชนบทบ้าง ฆ่าเอง ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ.

[มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโจรภายนอกอย่างนี้แล้ว จึงตรัส พระดำรัสว่า เอวเมว โข เป็นต้น เพื่อทรงแสดงมหาโจร ๕ จำพวกใน พระศาสนา ผู้เช่นกับโจรภายนอกนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปภิกฺขุโน ความว่า ในที่อื่นๆ ภิกษุผู้ต้องปาราชิก มีมูลขาดแล้ว ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ส่วนใน สิกขาบทนี้ ภิกษุผู้มิได้ต้องปาราชิก แต่ตั้งอยู่ในอิจฉาจารเที่ยวย่ำยีสิกขาบท น้อยใหญ่ ท่านประสงค์เอาว่า ภิกษุผู้เลวทราม ความปรารถนาในส่วนเบื้อง ต้น ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ภิกษุผู้เลวทรามนั้น เหมือนเกิดขึ้นแก่มหาโจรภายนอก อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ? เราจงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้ว เที่ยวจารึกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะ เคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช ปริขาร. (๑)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ผู้ประสบสักการะ.

บทว่า ครุกโต ได้แก่ ผู้ได้รับความเคารพ.

บทว่า มานิโต ได้แก่ ผู้อันเขารักด้วยน้ำใจ.

บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันเขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา คือนำมา เฉพาะซึ่งปัจจัยทั้ง ๔.


(๑) วิ. มหา. ๑/๑๔.๑๖๙ - ๑๗๐


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 610

บทว่า อปจิโต ได้แก่ ผู้ลุถึงความยำเกรง. บรรดาบุคคลเหล่านั้น ชนทั้งหลายสักการะปัจจัย ๔ คือ ทำปัจจัย ๔ ที่ตกแต่งไว้อย่างดีให้ประณีตๆ แล้ว จึงถวายแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาสักการะแล้ว. ชนทั้งหลาย ให้ความเคารพเข้าไปตั้งอยู่เฉพาะในท่านผู้ใด แล้วจึงถวาย , ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาเคารพแล้ว. ชนทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ท่านผู้ใด ด้วยน้ำใจ. ท่านผู้นั้น ชื่อว่าอันเขานับถือแล้ว. ชนทั้งหลาย ย่อมทำกิจ มีการสักการะเป็นต้นนั้นแม้ ทั้งหมด แก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาบูชาแล้ว. ชนทั้งหลายย่อม ทำความนบนอบอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจแห่งกิจ มีการกราบไหว้ลุกรับ และ ประนมมือไหว้เป็นต้น แก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขายำเกรงแล้ว. ก็ความปรารถนาอย่างนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เลวทราม ผู้ปรารถนาอยู่ ซึ่งโลกามิส แม้ทั้งหมดนี้.

ข้อว่า โส อปเรน สมเยน มีความว่า ภิกษุผู้เลวทรามนั้น ครั้นคิดในส่วนเบื้องต้น อย่างนั้น แล้ว สงเคราะห์พวกภิกษุเลวทรามผู้ไม่มี ความเคารพกล้าในสิกขา ฟุ้งซ่าน จองหอง หลุกหลิก ปากจัด พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีอินทรีย์เปิด (ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์) ที่พระ อาจารย์และอุปัชฌาย์สละทิ้งแล้ว ผู้หนักในลาภ โดยลำดับ แล้วให้สำเหนียก ธรรมเนียมของคนหลอกลวงทั้งหลาย มีการวางกิริยาท่าทางเป็นต้น เป็นผู้มี คุณอันพวกภิกษุเลวทราม ผู้ทำความสั่งสม ในนิทานชาดกเป็นต้น สมบูรณ์ ด้วยกระแสเสียง สามารถเพื่อลวงต้มชาวโลก สรรเสริญอยู่ ด้วยอุบายทั้งหลาย มีการพรรณนาถึงเสนาสนะที่ชาวโลกสมมติเป็นต้น อย่างนั้นว่า พระเถระรูปนี้ เข้าจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะชื่อโน้น บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ออกพรรษาแล้ว ก็จะออกไป เป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม เที่ยวจาริกไปใน


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 611

คานนิคม และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.

[มหาโจรในพระศาสนามี ๕ จำพวก]

ข้อว่า อยํ ภิกฺขเว ปโม มหาโจโร มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม เป็นเหมือนโจรผู้ตัดที่ต่อเป็นต้น นี้ พึงทราบว่า เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ เพราะมิใช่จะหลอกลวงตระกูลหนึ่ง หรือสองตระกูลเท่านั้นก็หาไม่ , โดยที่แท้ ยังหลอกลวงมหาชน ถือเอาปัจจัย ๔ ด้วย. ส่วนภิกษุเหล่าใด ผู้เชี่ยวชาญใน พระสูตร เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม หรือทรงพระวินัย เมื่อภิกษาจารไม่สมบูรณ์ เที่ยวจาริกไปตามชนบทบอกบาลี กล่าวอรรถกถา ยังชาวโลกให้เลื่อมใสด้วย อนุโมทนาด้วยธรรมกถา และด้วยความเรียบร้อยแห่งกิริยาท่าทาง , ภิกษุเหล่านั้น เขาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว พึงทราบว่า เป็นผู้ยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง สืบต่อแบบแผนและประเพณีไว้.

บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า อันพระตถาคตแทงตลอดแล้ว คือ กระทำให้ประจักษ์แล้ว หรือยังผู้อื่นให้รู้แล้ว.

สองบทว่า อตฺตโน ทหติ มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม เทียบเคียง บาลีและอรรถกถา อยู่ในท่ามกลางบริษัท กล่าวพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใส ด้วยเสียงอันไพเราะ ถูกวิญญูชนผู้เกิดมีความอัศจรรย์ใจไต่ถามในที่สุด แห่งธรรมกถาว่า โอ! ท่านผู้เจริญ บาลีและอรรถกถา บริสุทธิ์ , พระคุณเจ้า เรียนเอาในสำนักของ ใคร? ดังนี้ กล่าวว่า ใครจะสามารถให้คนเช่นเราเรียน แล้วไม่แสดงอาจารย์ประกาศธรรมวินัยที่ตนแทงตลอดเอง คือ ที่คนได้บรรลุ ด้วยสยัมภูญาณ. ภิกษุผู้ขโมยธรรมที่พระตถาคตทรงบำเพ็ญบารมี สิ้น ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้ตรัสรู้โดยแสนยากลำบาก นี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 612

ข้อว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.

ข้อว่า ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ จรนฺตํ ได้แก่ เพื่อนพรหมจารีผู้ ประพฤติจริยาที่ประเสริฐ อันหาอุปกิเลสมิได้. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนเป็นต้นแม้อื่น ตั้งต้น แต่พระอนาคามีตราบเท่าถึงปุถุชนผู้มีศีล.

ข้อว่า อมูลเกน อพฺรหฺมจริเยน อนุทฺธํเสติ มีความว่า ภิกษุ ผู้เลวทราม ย่อมกล่าวหา คือโจท ด้วยอันติมวัตถุ ซึ่งไม่มีอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุผู้ลบหลู่คุณที่มีอยู่ ขโมยอริยคุณนี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓.

ในสองบทว่า ครุภณฺฑานิ ครุปริกฺขารานิ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้:- ในอทินนาทานสิกขาบท ภัณฑะมีราคา ๕ มาสก ท่านจัดว่า ครุภัณฑ์ ในคำว่า ชน ๔ คน ชวนกันลักครุภัณฑ์๑ นี้ฉันใด , ในสิกขาบทนี้ จะได้ จัดฉันนั้น หามิได้, โดยที่แท้ ภัณฑะที่จัดเป็นครุภัณฑ์ ก็เพราะเป็นของที่ ไม่ควรจำหน่าย โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภัณฑะ ๕ หมวดนี้ ไม่ควรจำหน่าย อย่าจำหน่าย, สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล แม้จำหน่ายไป ก็ไม่เป็นอันจำหน่าย ; ภิกษุใดพึงจำหน่าย ปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น ; ภัณฑะ ๕ หมวด คือ อะไรบ้าง? คือ อาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน๒ บริขารที่จัดเป็นครุบริขาร โดยความเป็นบริขารสาธารณะ เพราะ เป็นของไม่ควรแจก โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บริขาร ๕ หมวดนี้ ก็ไม่ควรแจก อย่าแจก , สงฆ์หรือคณะ หรือบุคคล แม้แจกไปแล้ว ไม่เป็น อันแจก, ภิกษุ ใดพึงแจกปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น ; บริขาร ๕ หมวด คืออะไรบ้าง? คืออาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน.๓ คำใด


(๑) วิ. ปริวาร. ๘/ ๕๓๐ ๒ - ๓ วิ จุล. ๗/ ๑๓๓ - ๔.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 613

ที่ควรกล่าวในบทว่า อาราโม อารามวตฺถุ เป็นต้น ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้น ทั้งหมดในวรรณนาแห่งสูตร ซึ่งมาในขันธกะว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว อวิสชฺชิยานิ นั่นเทียว.

ข้อว่า เตหิ คิหี สงฺคณหาติ มีความว่า ให้ครุภัณฑ์ ครุบริขาร มีอารามเป็นต้นเหล่านั้น สงเคราะห์ คืออนุเคราะห์พวกคฤหัสถ์.

บทว่า อุปลาเปติ มีความว่า ทำให้พวกคฤหัสถ์บ่นถึง คือ ให้เป็น ผู้ติดใจ ได้แก่ ให้มีความรักใคร่ อย่างนี้ว่า ดีจริง! พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา. ภิกษุผู้ลักครุบริขาร ที่ไม่ควรจำหน่าย และไม่ควรแจกโดยความเป็นอย่างนั้น สงเคราะห์คฤหัสถ์นี้ จัดเป็นมหาโจรพวกที่ ๔. ก็แล ภิกษุนั้น เมื่อจำหน่าย ครุภัณฑ์นี้ เพื่อสงเคราะห์สกุล ย่อมต้องกุลทูสกทุกกฏด้วย ย่อมเป็นผู้ควร แก่ปัพพาชนียกรรมด้วย , เมื่อจำหน่ายด้วยความเป็นผู้มีความเป็นใหญ่เหนือ ภิกษุสงฆ์ ย่อมต้องถุลลัจจัย, เมื่อจำหน่ายด้วยไถยจิต พึงให้ตีราคาสิ่งของ ปรับอาบัติแล.

ข้อว่า อยํ อคฺโค มหาโจโรมีความว่า ภิกษุนี้ที่ลักฉ้อโลกุตรธรรม ซึ่งสุขุมละเอียดนัก เป็นไปล่วงการถือเอาด้วยอินทรีย์ ๕ นี้ จัดเป็นโจรใหญ่ ที่สุดของมหาโจรเหล่านั้น, ขึ้นชื่อว่าโจรผู้เช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี.

ถามว่า ก็โลกุตรธรรม บุคคลอาจลวง คือลักฉ้อเอา เหมือนทรัพย์ มีเงินและทองเป็นต้นหรือ?.

แก้ว่า ไม่อาจ , ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุใด กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง. แท้จริง ภิกษุนี้ ย่อมกล่าวอวดธรรมที่ไม่มีอยู่ในตนอย่างเดียวว่า ธรรมนี้ของเรา มีอยู่. แต่ไม่ อาจให้อุตริมนุสธรรมนั้นเคลื่อนไปจากที่ได้ หรือไม่อาจทำให้มีอยู่ในตนได้.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 614

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า เป็นโจรเล่า?.

แก้ว่า เพราะว่าภิกษุนี้ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมนั้นแล้ว ถือเอา ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการอวดคุณที่ไม่มีอยู่ ; เพราะเหตุนั้น ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเป็นอันเธอผู้ถือเอา (ด้วยการอวดธรรมที่ไม่มีอยู่) อย่างนั้น ล่อลวง คือ ลักฉ้อ เอาด้วยอุบายอันสุขุม. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย.

อันเนื้อความในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้. เราได้กล่าวคำใดว่า ภิกษุใด กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง, ภิกษุนี้- เป็นยอดมหาโจร; ถ้าจะมีผู้โจทก์ท้วงว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? คือ เราได้ กล่าวคำนั้น ด้วยเหตุอะไร? เราพึงเฉลยว่า เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมยแล ภิกษุทั้งหลาย. อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น เป็นอัน ภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยไถยจิต ; เพราะเหตุนั้น เราจึงได้กล่าวคำนั้น.

จริงอยู่ โว ศัพท์ ในคำว่า เถยฺยาย โว นี้ เป็นนิบาตลงใน อรรถสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เหมือน โว ศัพท์ ในคำว่า เย หิ โว อริยา อรญฺวนปฏฺานิ เป็นอาทิ แปลว่า จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลายแล ย่อมเสพราวไพรในป่า. เพราะเหตุนั้น ผู้ศึกษาไม่พึงเห็นเนื้อความแห่ง โว ศัพท์นั้น อย่างนี้ว่า ตุมฺเหหิ ภุตฺโต แปลว่า อันท่านทั้งหลายฉันแล้ว ดังนี้.

[แก้อรรถนิคมคาถา]

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นนั่นแล ให้ แจ่มแจ้งขึ้นโดยคาถา จึงตรัสพระคาถาว่า อญฺถา สนฺตํ เป็นต้น.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 615

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อญฺถา สนฺตํความว่า อันมี อยู่โดยอาการอื่น ซึ่งมีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น.

บาทคาถาว่า อญฺถา โย ปเวทเย ความว่า ภิกษุรูปใด พึง ประกาศด้วยอาการอย่างอื่น ซึ่งมีกายสมาจารบริสุทธิ์เป็นต้น คือให้ชนชาติอื่น เข้าใจอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง โลกุตรธรรมมีอยู่ในภายในของเรา. ก็แล ครั้นประกาศแล้ว (แสดงตน) ดุจพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่เกิดขึ้น เพราะการประกาศนั้น.

บทว่า นิกจฺจ ในสองบาทคาถาว่า นิกจฺจ กิตวสฺเสว ภุตฺตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํ นี้ แปลว่า ล่อลวง คือ แสดงตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น ได้แก่ แสดงตนซึ่งไม่ใช่พุ่มไม้ และไม่ใช่กอไม้เลย ให้เป็นเหมือนพุ่มไม้และให้เหมือนกอไม้ เพราะเอากิ่งไม้ ใบไม้ และใบอ่อน เป็นต้น ปิดบังไว้.

บทว่า กิตวสฺเสว ความว่า ดุจพรานนก ผู้ลวง คือ หลอกจับนก ตัวที่มาแล้วๆ ในป่า ด้วยมีความสำคัญว่า เป็นพุ่มไม้และกอไม้แล้วเลี้ยงชีวิต ฉะนั้น.

บาทคาถาว่า ภุตฺตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํความว่า เมื่อภิกษุแม้นั้น ผู้ไม่ใช่พระอรหันต์เลย แสดงว่าเป็นพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่ตนได้มา, โภชนะที่เธอฉัน ชื่อว่าเป็นอันเธอฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย เพราะเธอ ฉันโภชนะที่ตนล่อลวงมนุษย์ทั้งหลายแล้วได้มา เปรียบเหมือนนายพรานนกผู้ มีเครื่องปกปิด ล่อ คือ ลวงจับนก ฉะนั้น. ก็ภิกษุเหล่าใด เมื่อไม่รู้อำนาจ แห่งประโยชน์นี้ ย่อมฉันด้วยอาการอย่างนั้น, ภิกษุเป็นอันมาก เมื่อผ้ากาสาวะ พันคอ มีธรรมเลวทรามไม่สำรวมแล้ว, ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึง ซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 616

บทว่า กาสาวกณฺา ได้แก่ ผู้มีคอที่พันด้วยผ้ากาสาวะ. มีคำ อธิบายว่า คุณเครื่องเป็นสมณะ คือ พระอรหัตตผล ย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้น มีแต่การทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอริยะเพียงนี้เท่านั้น. คำว่า ผู้มีผ้ากาสาวะพันคอ นี้ เป็นชื่อแห่งบรรพชิตผู้ทุศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์! ก็แล โคตรภูสงฆ์ทั้งหลาย ผู้มีผ้ากาสาวะ พันคอ จักมีในกาลอนาคต.

บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก.

บทว่า อสญฺตา ได้แก่ ผู้ไม่สำรวมทางกายเป็นต้น.

บทว่า ปาปา ได้แก่ บุคคลลามก.

สองบทว่า ปาเปหิ กมฺเมหิ ความว่า เพราะกรรมที่เลวทราม ทั้งหลาย มีการล่อลวงผู้อื่นเป็นต้นเหล่านั้น อันตนทำแล้ว เพราะไม่เห็นโทษ ในเวลากระทำ

บาทคาถาว่า นิรยนฺเต อุปปชฺชเรความว่า ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงทุคติ ที่หมดความแช่มชื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระคาถาว่า เสยฺโย อโยคุโฬเป็นต้น.

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ถ้าบุคคลผู้ทุศีล ไม่สำรวม ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร เป็นผู้ลวงโลกด้วยกิริยาหลอกลวงนี้ พึงบริโภค คือ พึง กลืนกินก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ, การที่ผู้ทุศีลพึงฉันก้อนข้าวของชาว แว่นแคว้นนี้ ๑ การที่บุคคลพึงกินก้อนเหล็กแดงนี้ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ก้อน เหล็กเทียว อันภิกษุนั้นบริโภคแล้ว พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือ ดีกว่า และประณีตกว่า ; เพราะว่า ภิกษุนั้นจะไม่เสวยทุกข์ซึ่งมีการกำหนดรู้ได้ยาก แม้ด้วยสัพพัญญุตญาณ ในสัมปรายภพ เพราะบริโภคก้อนเหล็กแดง, แต่จะ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 617

ได้เสวยทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วในสัมปรายภพ เพราะเธอบริโภคก้อนข้าว ของชาวแว่นแคว้น ซึ่งตนได้มาแล้วด้วยอาการอย่างนั้น. จริงอยู่ อาชีพนี้ จัดเป็นมิจฉาชีพขั้นสุดยอด.

[ปฐมบัญญัติจตุตถปาราชิก]

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษแก่พวกภิกษุผู้ไม่ เห็นโทษในการกระทำความชั่วอย่างนั้นแล้ว จึงทรงติเตียนพวกภิกษุผู้อยู่ริมฝั่ง แน่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยาย แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความ เป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วทรงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็แล พวกเธอ พึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ ... ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก จึงตรัสว่า โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ เป็นอาทิ แปลว่า อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ ดังนี้ เป็นต้น.

[อนุบัญญัติจตุตถปาราชิก]

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก ทำให้หนักแน่นขึ้นด้วยอำนาจความขาดมูลอย่างนั้นแล้ว เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุแม้อื่นอีก ก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องสำคัญ ว่าได้บรรลุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ก็ สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อทิฏฺเ ทิฏฺสญฺิโน ความว่า (ภิกษุทั้งหลาย) เป็นผู้มีความสำคัญในพระอรหัตตผล อันตนมิได้เห็นด้วย ญาณจักษุเลยว่าได้เห็น ด้วยคำว่า พระอรหัตตผล อันเราทั้งหลายเห็นแล้ว. ในพระอรหัตตผลที่ตน ยังมิได้ถึงเป็นต้น ก็นัยนี้. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้:-


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 618

บทว่า อปฺปตฺเต ความว่า ที่ตนยังมิได้ถึง ด้วยอำนาจความเกิดขึ้น ในสันดานของตน.

บทว่า อนธิคเต ได้แก่ ที่ตนยังมิได้บรรลุ ด้วยมรรคภาวนา. ความว่า อันตนยังไม่ได้ บ้าง.

บทว่า อสจฺฉิกเต ได้แก่ ที่ตนยังมิได้แทงตลอด หรือยังมิได้ทำ ให้ประจักษ์ ด้วยอำนาจการพิจารณา.

บทว่า อธิมาเนน ได้แก่ ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ. อธิบายว่า ด้วยความสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราได้บรรลุแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ด้วยความถือตัวยิ่ง คือ ด้วยมานะที่แข็งกระด้าง.

สองบทว่า อฺํ พฺยากรึสุ ความว่า ได้พยากรณ์พระอรหัตตผล คือ ได้บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส! พวกเราได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว กิจที่ควรทำ พวกเราได้ทำเสร็จแล้ว. เพราะยังละกิเลสไม่ได้ด้วยมรรค จิต ของเธอเหล่านั้น ผู้ข่มกิเลสไว้ได้ ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนาอย่างเดียว โดยสมัยต่อมา คือ ในเวลาประกอบพร้อมด้วยปัจจัยเห็นปานนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความกำหนัดบ้าง อธิบายว่า ย่อมน้อมไปเพื่อต้องการความกำหนัด. ใน บททั้งหลายนอกนี้ ก็นัยนี้.

ข้อว่า ตญฺจ โข เอตํ อพฺโพหาริกํ มีความว่า ก็แล การ พยากรณ์ พระอรหัตนี้นั้น ของเธอเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริกยังไม่ถึงโวหาร ในการเป็นเหตุให้บัญญัติอาบัติ, อธิบายว่า ยังไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ.

ถามว่า ก็ ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร? ไม่เกิด ขึ้นแก่ใคร?


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 619

แก้ว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกก่อน. จริงอยู่ พระอริยสาวก นั้น มีโสมนัสเกิดขึ้นแล้วด้วยญาณเป็นเครื่องพิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่ยังเหลือ เป็นผู้ไม่มีความสงสัยในการแทงตลอด อริยคุณ ; เพราะเหตุนั้น มานะ (ความถือตัว) จึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก ทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจความถือว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น. และไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้ทุศีล. เพราะว่า บุคคลผู้ทุศีลนั้น เป็น ผู้หมดความหวังในการบรรลุ อริยคุณทีเดียว. ทั้งไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้มีศีล ซึ่งสละ กรรมฐานเสีย แล้วตามประกอบเหตุแห่งความเกียจคร้าน มีความเป็นผู้ยินดี ในความหลับนอนเป็นต้น. แต่จะเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เริ่มเจริญวิปัสสนา มีศีล บริสุทธิ์ดี ไม่ประมาทในกรรมฐาน ข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เพราะกำหนดนาม รูป จับปัจจัยได้ ยกไตรลักษณ์ขึ้นพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่. และความ สำคัญว่าได้บรรลุเกิดขึ้นแล้ว ย่อมพักบุคคล ผู้ได้สมถะล้วนๆ หรือผู้ได้วิปัสสนา ล้วนๆ เสียในกลางคัน. จริงอยู่ บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลส ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ย่อมเข้าใจว่า เราเป็นพระโสดาบัน หรือว่า เราเป็นพระสาทกคามี หรือว่า เราเป็นพระอนาคามี. แต่ความสำคัญ ว่าได้บรรลุนั้น ย่อมตั้งบุคคลผู้ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนาไว้ ในพระอรหัตตผล ทีเดียว. จริงอยู่ บุคคลนั้นข่มกิเลสทั้งหลายได้ด้วยกำลังสมาธิ กำหนดสังขาร ทั้งหลายได้ดีด้วยกำลังวิปัสสนา; เพราะฉะนั้น กิเลสทั้งหลายจึงไม่ฟุ้งขึ้นตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง, ความเที่ยวไปแห่งจิต เป็นเหมือนของ พระขีณาสพฉะนั้น. บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็น ความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสตลอดราตรี นานด้วยอาการอย่างนั้น ไม่หยุดในกลางคันเลย จึงสำคัญว่า เราเป็นพระอรหันต์ ฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 620

บทว่า อนภิชานํ ได้แก่ ไม่รู้เฉพาะ. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ ไม่รู้ จริง กล่าวอวดอยู่, อุตริมนุสธรรมนั้น ไม่เกิดขึ้นในสันดานของเธอ ทั้งเธอ ก็มิได้ทำให้แจ้งด้วยญาณ จึงชื่อว่าไม่มีจริง; เพราะฉะนั้น ในวาระแจกบท ว่า อนภิชานํ นั้น ท่านพระอุบาลีกล่าวว่า (อุตริมนุสธรรม) ไม่มีจริง ไม่ เป็นจริงหาไม่ได้แล้ว จึงกล่าวว่า (ภิกษุ) ไม่รู้อยู่ ดังนี้.

บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ แปลว่า ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่งคือ ท่านผู้ได้ฌาน และพระอริยเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า อตฺตูปนายิกํ มีอรรถวิเคราะห์ว่า ภิกษุย่อมน้อมอุตริมนุสธรรมนั้นเข้ามาในตน หรือว่า ย่อมน้อมตนเข้าไปในอุตริมนุสธรรมนั้น ; เพราะเหตุนั้น อุตริมนุสธรรมนั้นจึงชื่อว่า อัตตูปนายิกะ. (ภิกษุกล่าวอวด) อุตริมนุสธรรมนั้น เป็นที่น้อมเข้ามาในตน หรือว่าเป็นที่น้อมตนเข้าไปหา. เชื่อมความว่า ภิกษุทำอย่างนี้กล่าวอวด แต่ในวาระแจกบท เพราะเหตุที่ท่าน พระอุบาลีกล่าวธรรมหลายประการ มีฌานเป็นต้นไว้ อย่างนี้ว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ (การยังมรรคให้เจริญ การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความที่จิตปราศจากนิวรณ์) ความยินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ชื่อ ว่าอุตริมนุสธรรม. ดังนี้ ; เพราะฉะนั้น เมื่อท่านจะแสดงความที่ อุตริมนุสธรรมนั้น เป็นธรรมที่น้อมเข้ามาในตน ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านั้นทั้งหมด จึงได้กระทำนิเทศเป็นพหุวจนะว่า ภิกษุย่อมน้อมกุศลธรรมเหล่านั้นมาใน ตน, ก็ดี. ในบรรดาการน้อม ๒ อย่างนั้น เมื่อภิกษุอวดว่า ธรรมเหล่านี้ ย่อมปรากฏในข้าพเจ้า พึงทราบว่า ชื่อว่า น้อม (ธรรมเหล่านั้น) เข้ามาใน ตน. เมื่ออวดว่า ข้าพเจ้า ย่อมปรากฏในธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า น้อมตนเข้าไปในธรรมเหล่านั้น.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 621

พึงทราบความเชื่อมอรรถแห่งบทในคำว่า อลมริยาณทสฺสนํ นี้ อย่างนี้ คือ ปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถ ว่ารู้, ชื่อว่า ทัสสนะ เพราะอรรถว่า เห็น เพราะกระทำซึ่งธรรมให้เป็นประดุจ เห็นด้วยจักษุ ; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะ อย่างประเสริฐ คือ อย่างบริสุทธิ์อย่างสูงสุด; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อริยญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ คือ แกล้วกล้า สามารถกำจัดกิเลส มีอยู่ในอุตริมนุสธรรมต่างประเภท มีฌานเป็นต้นนี้ หรือว่าญาณทัสสนะอย่าง ประเสริฐ อย่างสามารถ เป็นของแห่งอุตริมนุสธรรมนั้น; เพราะเหตุนั้น อุตริมนุสธรรมนั้น จึงชื่อว่า มีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ. ภิกษุ ไม่รู้จริง กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันมีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่าง สามารถนั้น.

ในบทภาชนะนั้น อุตริมนุสธรรมนั้น ท่านเรียกว่า อลมริยญาณทัสสนา ด้วยญาณทัสสนะใด, เพื่อแสดงญาณทัสสนะนั้นนั่นแล ท่านพระ อุบาลีจึงกล่าวบทภาชนะ ด้วยวิชชาเป็นใหญ่ว่า ญาณ นั้น ได้แก่ วิชชา ๓. ทัสสนะ นั้น คือ ญาณอันใด ทัสสนะก็อันนั้น ทัสสนะอันใด ญาณก็อัน นั้น. แต่ในบทว่า าณํ นี้ ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นมหัคคตและโลกุตระ พึง ทราบว่า ญาณ.

บทว่า สมุทาจเรยฺย ความว่า พึงอวดอุตริมนุสธรรม มีประการ ดังกล่าวแล้ว ทำให้น้อมเข้ามาในตน. ส่วนบทว่า อิตฺถิยา วา เป็นต้น ชี้ ถึงบุคคลที่ภิกษุจะพึงอวด. จริงอยู่ เมื่ออวดอุตริมนุสธรรมแก่บุคคลเหล่านี้ ย่อม เป็นอันอวด. เมื่ออวดแก่เทวดา มาร พรหมหรือแม้แก่เปรต ยักษ์ และ สัตว์ดิรัจฉาน หาเป็นอันอวดไม่ แล.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 622

คำว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นี้ แสดงอาการอวด. แต่ใน บทภาชนะแห่งบทว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นั้น คำว่าข้าพเจ้ารู้ ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านี้ นี้ แสดงถึงความเป็นไปแห่งความรู้ และความเห็น ในธรรมมีฌานเป็นต้นเหล่านั้น. คำว่า และธรรมเหล่านี้ มี แก่ข้าพเจ้า เป็นต้น แสดงความน้อมเข้ามาในตน.

คำว่า โดยสมัยอื่นแต่สมัยนั้น นี้ แสดงถึงสมัยที่ปฏิญญาว่าเป็นอาบัติ. แต่ภิกษุนี้ต้องปาราชิกในขณะที่อวดทีเดียว. และเธอต้องอาบัติแล้ว ถูกภิกษุ อื่นโจทก็ตาม ไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมปฏิญญา; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เธออันผู้ใดผู้หนึ่ง เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม.

[เหตุที่ให้เชื่อถือมีฐานะ ๖ อย่าง]

บรรดาความเชื่อ และไม่เชื่อ นั้น ในความเชื่อ พึงทราบวินิจฉัยก่อน คือ :-

๑. ข้อว่า ท่านได้บรรลุอะไร.? คือ เป็นคำถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ. มีคำอธิบายว่า บรรดาคุณธรรมมีฌานและวิโมกข์เป็นต้น หรือบรรดามรรค มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ท่านได้บรรลุอะไร?

๒. ข้อว่า ท่านได้บรรลุด้วยวิธีอะไร? คือ เป็นคำถามถึงอุบาย. ความจริงในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ คือ ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ แล้วจึงได้บรรลุ? หรือท่านทำบรรดาทุกขลักษณะแลอนัตตลักษณะ อย่างใด อย่างหนึ่งให้เป็นธุระแล้ว จึงได้บรรลุ? ท่านตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจสมาธิ หรือ ตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจวิปัสสนาจึงได้บรรลุ? อนึ่ง ท่านตั้งมั่นแล้วในรูปธรรม หรือตั้งมั่นแล้วในอรูปธรรม จึงได้บรรลุ? ท่านตั้งมั่นแล้วในกายเป็นภายใน หรือตั้งมั่นแล้วในกายเป็นภายนอก จึงได้บรรลุ.?


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 623

๓. ข้อว่า ท่านได้บรรลุเมื่อไร? คือ เป็นคำถามถึงกาล. มีคำ อธิบายว่า ในบรรดากาลเช้าและเที่ยงเป็นต้น กาลใดกาลหนึ่ง?.

๔. ข้อว่า ท่านได้บรรลุที่ไหน? คือ เป็นคำถามถึงโอกาส. มี คำอธิบายว่า ในโอกาสไหน? คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคน ต้นไม้ ที่มณฑป หรือในวิหารหลังไหน?

๕. ข้อว่า ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้? คือ เป็นคำถามถึงกิเลส ที่ละได้แล้ว. มีคำอธิบายว่า กิเลสทั้งหลายที่มรรคจำพวกไหนฆ่าท่านละได้แล้ว.

๖. ข้อว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน? คือ เป็นคำถามถึงธรรมที่ ได้แล้ว มีคำอธิบายว่า บรรดามรรคมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่า ไหน?.

[อรรถาธิบายฐานะ ๖ อย่าง]

เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ ถ้าแม้ภิกษุรูปไรๆ พึงพยากรณ์การบรรลุ อุตริมนุสธรรม, เธออันใครๆ ไม่ควรสักการะ ด้วยคำพยากรณ์มีประมาณ เพียงเท่านี้ก่อน. แต่เธอควรถูกทักท้วง เพื่อสอบสวนให้ขาวสะอาด ในฐานะ ทั้ง ๖ เหล่านี้ว่า ท่านได้บรรลุอะไร? คือ ว่าท่านได้บรรลุฌาน หรือได้บรรลุ บรรดาวิโมกข์ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ? จริงอยู่ ธรรมที่บุคคลใด ได้ บรรลุแล้ว ย่อมเป็นของปรากฏแก่บุคคลนั้น. ถ้าเธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ บรรลุธรรมชื่อนี้ ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอว่า ท่านได้บรรลุด้วยวิธีไร?. คือ ควรซักถามว่า ท่านทำอะไร ในบรรดาไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ให้เป็นธุระ หรือตั้งมั่นอยู่ด้วยหัวข้ออะไร ในบรรดาอารมณ์ ๓๘ อย่าง หรือ ในบรรดาธรรมอันต่างด้วยรูปธรรม อรูปธรรม กายเป็นภายใน และกายเป็น ภายนอกเป็นต้น จึงได้บรรลุ? แท้จริงความตั้งมั่นใดของบุคคลใดมี ความตั้ง


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 624

มั่นนั่นย่อมปรากฏก็บุคคลนั้น. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ความตั้งมั่นชื่อนี้ของข้าพเจ้า มีอยู่, ข้าพเจ้าได้บรรลุด้วยวิธีอย่างนี้ ดังนี้, ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านได้บรรลุเมื่อไร? คือ ควรซักถามเธอว่า ท่านได้บรรลุในเวลาเช้าหรือใน บรรดาเวลาเที่ยงเป็นต้น เวลาใดเวลาหนึ่งหรือ? ความจริง กาลที่ตนได้บรรลุ ย่อมเป็นของปรากฏแก่ชนทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุในกาล ชื่อโน้น, ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านได้บรรลุที่ไหน? คือ ควร ซักถามเธอว่า ท่านได้บรรลุในที่พักกลางวัน หรือในบรรดาที่พักกลางคืนเป็น ต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่งหรือ? ความจริง โอกาสที่ตนได้บรรลุ ย่อมปรากฏ แก่ชนทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุในโอกาสชื่อโน้น, ลำดับ นั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ คือควรซักถามเธอว่า กิเลสทั้งหลาย ที่ปฐมมรรคพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นพึงฆ่า ท่านละได้ แล้ว? ความจริง กิเลสอันมรรคที่ตนได้บรรลุละได้แล้ว ย่อมปรากฏแก่ชน ทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า กิเลสชื่อเหล่านี้ ข้าพเจ้าละได้แล้ว, ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน? คือ ควรซักถามเธอดูว่า ท่าน ได้โสดาปัตติมรรค หรือได้บรรดามรรคมีสกทาคามิมรรคเป็นต้น อย่างใด อย่างหนึ่งหรือ? ความจริง ธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ย่อมปรากฏแก่ชนทุกจำ พวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ธรรมชื่อเหล่านี้, ไม่ควรเชื่อถือคำพูดของ เธอ แม้ด้วยคำพยากรณ์ มีประมาณเพียงเท่านี้. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ผู้พหูสูต เป็นผู้ฉลาดในการเรียนและการสอบถามย่อมสามารถสอบสวนฐานะทั้ง ๖ เหล่า นี้ ให้ขาวสะอาดได้.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 625

[เรื่องสอบสวนดูปฏิปทาของภิกษุผู้อ้างตนว่าได้บรรลุธรรม]

ส่วนอาคมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นเหตุมาแห่งมรรค) ของภิกษุนี้ ควรสอบสวนให้ขาวสะอาด. ถ้าอาคมนปฏิปทา ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ควรกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า โลกุตรธรรม ท่านจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้ แล้วนำเธอ ออกไปเสีย. แต่อาคมนปฏิปทาของภิกษุนั้นบริสุทธิ์ ถ้าภิกษุ * นั้นปรากฏใน ปฏิปทานั้นว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในไตรสิกขา ทั้งหมั่นประกอบธรรมเป็นเครื่อง ตื่นอยู่ ตลอดราตรีนาน ไม่ข้องอยู่ในปัจจัยทั้ง ๔ อยู่ ด้วยใจเสมอด้วยฝ่ายมือ ในอากาศคำพยากรณ์ของภิกษุนั้น ย่อมเทียบเคียงกับข้อปฏิบัติได้ คือ เป็นเช่น กับพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า น้ำแม่น้ำคงคากับน้ำแม่น้ำยมุนา เทียบเคียงกัน ได้ เข้ากันได้ ชื่อแม้ฉันใด , ปฏิปทาที่ให้ถึงพระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงบัญญัติดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, ทั้งพระนิพพานและปฏิปทาเทียบเคียงกันได้. อีกอย่างหนึ่งแล สักการะอันใครๆ ไม่ ควรทำ แม้ด้วยคำพยากรณ์มีประมาณเพียงเท่านี้. เพราะเหตุไร? เพราะว่า แม้ภิกษุผู้เป็นปุถุชนบางรูป ก็มีปฏิปทาเป็นเหมือนข้อปฏิบัติของพระขีณาสพ. เพราะฉะนั้น ภิกษุรูปนั้น อันใครๆ พึงทำให้หวาดสะดุ้งได้ด้วยอุบายนั้นๆ. ธรรมดาพระขีณาสพ แม้เมื่ออสนีบาต ผ่าลงมาบนกระหม่อม ก็หามีความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือขนพองสยองเกล้าไม่. ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้ง ก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, เธออันภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าว เตือนว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ แล้วพึงนำออกเสีย. แต่ถ้าภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาดเสียว เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ย่อมนั่งนิ่ง เหมือนราชสีห์ ฉะนั้น, ภิกษุนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีการพยากรณ์อย่างสมบูรณ์ ย่อมควรรับสักการะ ที่พระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ส่งไปถวายโดยรอบ ฉะนี้แล.


(๑) แปลตามสารัตถทีปนี ๒/๔๔๑.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 626

บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ปรารถนา ลามก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้ทุศีลแล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล๑ ดังนี้.

บทว่า อิจฺฉาปกโต ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นปาราชิก ถูกความปรารถนา ลามกนั้นครอบงำ คือย่ำยี.

บทว่า วิสุทธฺาเปกฺโข ได้แก่ ผู้มุ่ง คือต้องการ ปรารถนาความ บริสุทธิ์เพื่อตน. จริงอยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ ต้องปาราชิกแล้ว ; ฉะนั้นเธอ ยังดำรงอยู่ในความเป็นภิกษุ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อบรรลุคุณธรรมมีฌานเป็นต้น. แท้จริง ความเป็นภิกษุของเธอ ย่อมเป็นอันตรายต่อสวรรค์ด้วย เป็นอันตราย ต่อมรรคด้วย. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า คุณเครื่อง เป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี ย่อมฉุดคร่าเขาไปในนรก.๒ แม้พระดำรัส อื่นอีกก็ตรัสว่า เพราะว่า สมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ยธุลีลง๓ ดังนี้ ความเป็นภิกษุของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉะนี้แล.

อนึ่ง ภิกษุผู้ต้องปาราชิกนั้น (ละภิกษุภาวะ) เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็น อุบาสก เป็นอารามิกะ หรือเป็นสามเณร ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อยังทางสวรรค์ ให้สำเร็จ ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย มี ทาน สรณะ ศีล และสังวรเป็นต้น หรือ ยังทางพระนิพพานให้สำเร็จ ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย มีฌานและวิโมกข์เป็นต้น; เพราะเหตุนั้น ความเป็นคฤหัสถ์เป็นต้นของเธอ จึงชื่อว่าเป็นความบริสุทธิ์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเธอว่า ผู้มุ่งความบริสุทธิ์ เพราะเพ่งถึงความบริสุทธิ์นั้น. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า วิสุทฺธาเปกฺโข นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ประสงค์จะ เป็นคฤหัสถ์.


(๑) อภิ. วิ. ๓๕/ ๔๗๓.

(๒) - (๓). ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 627

สองบทว่า เอวํ วเทยฺย แปลว่า พึงกล่าวอย่างนี้. ถามว่า พึงกล่าว อย่างไร? แก้ว่า พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น. ส่วนในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีเถระมิได้ ยกบทว่า เอวํ วเทยฺย นี้ขึ้นเลย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม เหล่านั้น ดังนี้ เพื่อแสดงอาการที่ภิกษุผู้กล่าวเป็นเหตุให้ท่านเรียกชื่อว่า ย่อม กล่าวว่า แนะท่าน! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น

ข้อว่า ตุจฺฉํ มุสา วิลปึ มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้าได้พูด คือได้ กล่าวพล่อยๆ โดยเว้นจากประโยชน์แห่งคำพูด เป็นเท็จเปล่าๆ โดยความ ประสงค์จะลวง. ส่วนในบทภาชนะ แห่งบทนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าว คำเป็นต้น ไว้ว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อยๆ ดังใน ก็เพื่อแสดงเพียงเนื้อความ ด้วย บทและพยัญชนะอย่างอื่น.

สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า เทียบบุคคลผู้ต้องปาราชิก ทั้ง ๓ ก่อนๆ. คำที่เหลือ ชื่อว่าปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว ในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความชัดเจน ฉะนี้แล.

[อธิบายบทภาชนีย์]

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศไว้ตามลำดับ บทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ มีพระประสงค์จะทรงตั้งบทภาชนะนั้นแลในฐานเป็น มาติกาอีก แล้วแสดงอุตริมนุสธรรมโดยพิสดาร แสดงประเภทอาบัติ เพื่อถือ เอาใจความโดยอาการทั้งปวง จึงตรัสคำว่า ฌานนั้น ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นอาทิ เพราะเหตุว่า ในบทภาชนีย์ในหนหลัง ได้ทรงแสดงอุตริมนุสธรรม ไว้แต่โดยย่ออย่างนี้ว่า ฌานวิโมกข์ สมาธิสมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ ความ


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 628

ยินดีเฉพาะในสุญญาคาร ไม่ได้ทรงยกอาบัติเป็นแบบไว้โดยพิสดาร. และ เมื่อแสดงเนื้อความไว้แต่โดยย่อแล้ว ผู้ศึกษาทั้งหลายไม่อาจถือเอาใจความได้ โดยถี่ถ้วน.

ในคำว่า ปมชฺฌานํ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- อัปปมัญญาฌาน มีเมตตาฌานเป็นต้นก็ดี อสุภฌานเป็นต้นก็ดี อานาปานัสสติสมาธิฌาน ก็ดี โลกิยฌานก็ดี โลกุตรฌานก็ดี สงเคราะห์เข้าด้วยปฐมฌานเป็นต้น นั่นแล : เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุอวดว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วก็ดี ... ข้าพเจ้าเข้า จตุตถฌานแล้วก็ดี อวดว่าข้าพเจ้าเข้าเมตตาฌานก็ดี ... ข้าพเจ้าเข้าอุเบกขา ฌานก็ดี ข้าพเจ้าเข้าอสุภฌานแล้วก็ดี ข้าพเจ้าเข้าอานาปานัสสติสมาธิฌาน แล้วก็ดี ข้าพเจ้าเข้าโลกิยฌานแล้ว ก็ดี ข้าพเจ้าเข้าโลกุตรฌานแล้วก็ดี พึง ทราบว่า เป็นปาราชิกทั้งนั้น.

อริยมรรค ที่พ้นด้วยดี หรือที่พ้นจากกิเลสมีอย่างต่างๆ เพราะฉะนั้น อริยมรรคนั้น จึงชื่อว่าวิโมกข์. ก็แล วิโมกข์นี้นั้น ท่านเรียกว่า สุญญต วิโมกข์ เพราะเปล่าจากราคะ โทสะ และโมหะ, ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีนิมิตด้วยนิมิต คือ ราคะ โทสะ และโมหะ, ท่านเรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะไม่มีที่ตั้ง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ. ธรรมชาติที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่า ตั้งจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์. ที่ชื่อว่า สมาบัติ เพราะเป็นธรรมชาติ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายพึงเข้า. บทที่เหลือใน คำเหล่านี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็อริยมรรคเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในติกะเหล่านั้น ด้วยหมวด ๓ แห่งวิโมกข์ และด้วยหมวด ๓ แห่งสมาธิ- ผลสมาบัติ ตรัสไว้ด้วยหมวด ๓ แห่งสมาบัติ. ในบทเหล่านั้น ภิกษุถือเอา บทอันใดอันหนึ่งเพียงบทเดียว กล่าวว่า ข้าพเจ้า มีปกติได้ธรรมนี้ ย่อมเป็น ปาราชิกแท้.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 629

ที่ชื่อว่า วิชชา ๓ ได้แก่ บุพเพนิวาสานุสติ ทิพยจักษุ อาสวักขยญาณแล. ในวิชชา ๓ นั้น เมื่อภิกษุถือเอาชื่อแม้แห่งวิชชาอันหนึ่งอวดว่าข้าพเจ้า มีปกติได้วิชชานี้ ย่อมเป็นปาราชิกแท้. แต่ในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีปกติได้วิชชาทั้งหลาย ดังนี้ก็ดี กล่าวว่า ข้าพเจ้า มีปกติได้วิชชา ๓ ดังนี้ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิกเหมือนกัน. มรรคภาวนา ได้กล่าวแล้วในบทภาชนะ. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่ สัมปยุตด้วยมรรค เป็นโลกุตระแท้ ท่านประสงค์เอาในบทว่า มรรคภาวนา นี้ เพราะเหตุนั้น ในมหาอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุ ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้ามีปกติได้สติปัฏฐานที่เป็นโลกุตระ ข้าพเจ้า มีปกติได้ สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ... อริยมรรค มีองค์ ๘ ทีเป็นโลกุตระ.

ส่วนในมหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวด้วยอำนาจ ส่วนอันหนึ่งๆ อย่างนั้นว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้สติปัฏฐาน ดังนี้ก็ดี ด้วย อำนาจธรรมอย่างหนึ่งๆ ในส่วนเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติ ได้กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ดังนี้ก็ดี เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้คำที่ท่าน กล่าวไว้ในมหาปัจจรี เป็นต้นนั้น ย่อมสมกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุ ที่ท่านกล่าวหมายเอาสติปัฏฐาน ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งมรรคเหมือนกัน. แม้ใน การทำให้แจ้งซึ่งผล ก็พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ด้วยอำนาจแห่งผลอันหนึ่งๆ. เฉพาะความละกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในหมวด ๓ มีคำว่า ราคสฺส ปหานํ เป็นต้น. ก็การละกิเลสนั้น เว้นมรรคเสียแล้ว ย่อมไม่มี, จริงอยู่ การละ ราคะ และโทสะ ย่อมมีด้วยมรรคที่ ๓, การละโมหะ ย่อมมีด้วยมรรคที่ ๔ ; เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาราชิก แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า ราคะ ข้าพเจ้า


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 630

ละได้แล้ว. เฉพาะโลกุตตรจิต กับสมาบัติ พระผู้มีพระภาคตรัสในหมวด ๓ มีคำว่า ราคา จิตตํ วินีวรณตา เป็นอาทิ. เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อภิกษุ กล่าวคำเป็นต้นว่า จิตของข้าพเจ้า พรากออกจากราคะ. ก็เป็นปาราชิกเหมือน กัน. ส่วนในบทภาชนะแห่งบทสุญญาคาร ท่านไม่ประสงค์ปาราชิก ด้วยเพียง คำที่ไม่เนื่องด้วยฌานว่า ข้าพเจ้ายินดีเฉพาะในสุญญาคาร ; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า ข้าพเจ้า ยินดีเฉพาะในสุญญาคาร ด้วยปฐมฌาน. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใด กล่าวเนื่องด้วยฌานว่า ข้าพเจ้า ยินดีเฉพาะใน สุญญาคารด้วยฌานชื่อนี้ ภิกษุนี้แหละ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก.

ก็ บรรดาวิชชา ๘ ที่ตรัสไว้ในพระสูตรทั้งหลาย มีอัมพัฏฐสูตร เป็นต้น วิชชา ๕ เหล่าใด ต่างโดยวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี ทิพโสต และเจโตปริยญาณ ไม่ได้มาแล้วในบทภาชนะ แห่งบทว่า าณํ นี้. บรรดาวิชชา ๕ เหล่านั้น เฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่ง ปาราชิก วิชชาที่เหลือ พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้วิปัสสนา ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มี ปกติได้วิปัสสนาญาณ ก็ดี ยังไม่เป็นปาราชิก. แต่พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า วิชชา ๔ แม้นอกจากนี้ ไม่สืบเนื่องด้วยญาณ ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นปาราชิกแม้แก่ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติ ได้มโนมัย, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้อิทธิวิธี, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้ทิพโสด ธาตุ, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้เจโตปริยาย. คำนั้น ถูกพวกอันเตวาสิกของ ท่านนั้นนั่นเอง ค้านแล้วว่า ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ผู้ชำนาญในอภิธรรม ย่อม ไม่ทราบธรรมเป็นภูมิอื่น, ขึ้นชื่อว่าอภิญญามีจตุตถฌานเป็นบาท ทั้งเป็น มหัคคตธรรมด้วย ย่อมสำเร็จได้ด้วยฌานเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะ


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 631

กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้มโนมัย, หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้ มโนมยญาณ หรือจะกล่าวโดยประการตามที่ตนมุ่งจะกล่าวก็ตามที, เธอย่อม ต้องปาราชิกเหมือนกัน. จริงอยู่ ในจตุตถปาราชิกนี้พระนิพานไม่ได้มาใน พระบาลี แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อภิกษุ กล่าวว่า พระนิพพาน ข้าพเจ้า บรรลุแล้ว หรือว่า พระนิพพาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ย่อมเป็นปาราชิก เหมือนกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า พระนิพพานเป็นโลกุตรธรรม ซึ่งมีวัฏฏะอันปล้อนออกแล้ว.

อนึ่ง แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าแทงตลอดสัจจะ ๔ (หรือว่า) สัจจะ ๔ อันข้าพเจ้าแทงตลอดแล้ว คงเป็นปาราชิกเหมือนกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าคำว่า แทงตลอดสัจจะ เป็นคำยักเรียกมรรค. อนึ่ง ท่านกล่าว ไว้ในวิภังค์ว่า ปฏิสัมภิทา ๓ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ฝ่าย กามาวจรกุศล ๔ ดวง ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา ๔ ดวง, อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดขึ้น ในมรรค ๔ ผล ๔ ด้วย * เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าเป็น ผู้มีปกติได้ธัมมปฏิสัมภิทา หรือว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้นิรุตติปฏิสัมภิทา หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มี ปกติได้โลกิยอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้ ยังไม่เป็นปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย อาบัติยังไม่ถึงที่สุดก่อน แต่เมื่อ เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้โลกุตรอัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเป็นปาราชิก. ส่วนในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวแม้ด้วยความ ไม่แปลกกันว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ก็เป็นปาราชิก. แม้ ในกุรุนที ท่านก็กล่าวว่า ย่อมไม่พ้น. แค่ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า


(๑) อภิ. วิ. ๓๕/๔๑๔ -๔๑๕.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 632

ปาราชิก ย่อมไม่มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อาบัติยังไม่ถึงที่สุดด้วยเหตุเพียงเท่านี้, ใครๆ ไม่อาจทำอรรถกถาอื่นให้เป็นประมาณได้ เพราะท่านได้วิจารณ์ไว้แล้ว ว่า ภิกษุยังไม่ต้องปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้า เข้านิโรธสมาบัติ หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้นิโรธสมาบัตินั้น ก็ไม่เป็น ปาราชิก. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า นิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกิยะ ทั้งไม่ใช่ โลกุตระ ฉะนั้นแล.

ในมหาปัจจรีและสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ถ้าบุคคลนั้นมี ความรำพึงอย่างนี้ว่า พระอนาคามี หรือพระขีณาสพ ย่อมเข้านิโรธได้, จึง พยากรณ์ด้วยทำไว้ในใจว่า ชนจักรู้เราว่าเป็นผู้ใดผู้หนึ่ง แห่งบรรดาพระ อนาคามี และพระขีณาสพเหล่านั้น. และเขาก็เข้าใจเธออย่างนั้น, เป็นปาราชิก. คำนั้น ควรพิจารณาเสียก่อน จึงถือเอา. แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ในภพที่ล่วง ไปแล้ว คือ ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นพระโสดาบัน, ไม่เป็นปาราชิก, จริงอยู่ อาบัติยังไม่ถึงที่สุด เพราะเธออ้างถึงขันธ์ที่ล่วงไป แล้วแล

ส่วนในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า บางอาจารย์กล่าวว่า เมื่อ ภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้สมาบัติ ๘ ในอดีต ; ไม่เป็นปาราชิก เพราะสมาบัติ ๘ ในอดีตเป็นกุปธรรม, แต่เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติ ได้สมาบัติ ๘ ในภพนี้ ดังนี้. ย่อมเป็นปาราชิก เพราะสมาบัติ ๘ ในภพนี้ เป็นอกุปธรรม. แม้คำที่กล่าวไว้ในสังเขปอรรถกถานั้น ท่านก็ค้านไว้ในสังเขป อรรถกถานั้นนั่นเอง เมื่อภิกษุกล่าวหมายเอาอัตภาพในอดีต ไม่เป็นปาราชิก ต่อเมื่อกล่าวหมายเอาอัตภาพในปัจจุบันนั่นแหละ จึงเป็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังบทมาติกา ๑๐ มีฌานเป็นต้นให้ พิสดาร อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ภิกษุผู้อวดอุตริมนุสธรรม ย่อมกล่าวสัมปชาน


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 633

มุสาวาทใด, เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนั้นแล้ว ผูกจักรเปยยาล ด้วยอำนาจแห่งความพิสดารนั้นนั่นเอง และเพื่อแสดงอาการแห่งการอวด และ ประเภทแห่งอาบัติ จึงตรัสว่า ตีหากาเรหิ ดังนี้ เป็นอาทิ.

[กถาว่าด้วยสุทธิกมหาวาร]

ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- มหาวาร ๓ คือ สุทธิกวาร (วารกำหนด้วยการอวดล้วน) ๑ วัตตุกามวาร (วารกำหนดด้วยภิกษุผู้ ประสงค์จะอวด) ๑ ปัจจัยปฏิสังยุตตวาร (วารกำหนดด้วยการอวดอันเกี่ยว ด้วยปัจจัย) ๑ บรรดามหาวาร ๓ เหล่านั้น ในสุทธิกวาร ๖ บทเหล่านี้ คือ สมาปชฺชึ สมาปชฺชามิ สมาปนฺโน ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ สจฺฉิกตํ มยา ทรงประกอบบทอันหนึ่งๆ ๕ ครั้ง อย่างนี้ว่า ด้วยอาการ ๓ ด้วยอาการ ๔ ด้วยอาการ ๕ ด้วยอาการ ๖ ด้วยอาการ ๗ ในบทอันหนึ่งๆ ตั้งต้นแต่ ปฐมฌาน จนถึงบทว่า เปลื้องจิตจากโมหะ ตรัสชื่อว่า สุทธิกนัย. ลำดับนั้น เมื่อทรงต่อบทอันหนึ่งๆ กับด้วยปฐมฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งปฐมฌาน ซึ่ง ทุติยฌาน ดังนี้ ทรงต่อทุกๆ บท ตรัสชื่อว่า ขัณฑจักร โดยอรรถอันพิสดาร นั้นเทียว. อธิบายว่า ขัณฑจักรนั้น ตรัสว่าขัณฑจักร เพราะไม่ทรงนำมา ประกอบกับฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอีก. ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่งๆ กับ ด้วยทุติยฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งทุติยฌาน ซึ่งตติยฌาน ดังนี้ แล้วทรงนำมา เชื่อมกับปฐมฌานอีก ตรัสชื่อว่าพัทธจักร โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว. ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่งๆ กับด้วยฌาน มีตติยฌานเป็นต้น อย่างเดียว กับต่อบทหนึ่งๆ กับทุติฌาน แล้วทรงนำมาเชื่อมกับฌานมีทุติยฌานเป็นต้น อีก ตรัสพัทธจักร ๒๙ แม้อื่น โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว ให้สำเร็จเป็น เอกมูลกนัยแล้ว


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 634

อนึ่ง ปาฐะ พระองค์ก็ทรงแสดงไว้โดยสังเขป. ปาฐะนั้น อันนักศึกษา ผู้ไม่หลงงมงาย ควรทราบโดยพิสดาร. แม้ทุมูลกนัยเป็นต้น พระองค์ก็ตรัส เหมือนเอกมูลกนัย แล้วได้ตรัสนัย ๔๓๕ นัย ซึ่งมีมลทุกอย่างเป็นที่สุด. คือ อย่างไร? คือ ตรัสทวิมูลกนัยไว้ ๒๙ ตรัสติมูลกนัยไว้ ๒๘ ตรัสจตุมูลกนัย ไว้ ๒๗. แม้ปัญจมูลกนัย เป็นต้น ผู้ศึกษาก็ก็ควรลดลงอย่างละหนึ่งนัย แล้ว ทราบจนกระทั่งถึงติงสมูลกนัยอย่างนี้ แต่ในปาฐะ ท่านย่อแม้ชื่อของนัย เหล่านั้น เข้าแล้ว แสดงเฉพาะติงสมูลกนัยอันเดียวว่า นี้เป็นมูลกนัยทั้งหมด ก็เพราะภิกษุไม่ต่อบทสุญญาคารเข้ากับฌาน, (อาบัติ) จึงไม่ถึงที่สุด. เหตุนั้น การประกอบความในบททั้งปวง มีบทว่าเปลื้องจิตจากโมหะเป็นที่สุด นั่นแล พึงทราบว่า ท่านแสดงแล้ว เพราะไม่แตะต้องบทสุญญาคารนั้น. ก็แล ใน สุทธิกมหาวารตอนหนึ่งที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ ด้วยอำนาจการแสดงเนื้อความ นี้ว่า เมื่อภิกษุต่อก็ดี ไม่ต่อก็ดี ซึ่งปฐมฌานเป็นต้น กับทุติยฌาน เป็นต้น ตามลำดับก็ดี ผิดลำดับก็ดี อวดอยู่ โดยนัยว่า เราเข้าแล้ว เป็นต้น อย่างนี้ ความพ้น ย่อมไม่มี ย่อมต้องปาราชิกแท้ทีเดียว นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความ โดยสังเขป.

บทว่า ตีหากาเรหิ คือ ด้วยเหตุ ๓ อย่าง อันเป็นองค์แห่ง สัมปชานมุสาวาท

คำว่า ปุพฺเพวสฺส โหติ ความว่า ในส่วนเบื้องต้นทีเดียว บุคคลนั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักกล่าวเท็จ.

คำว่า ภณนฺตสฺส โหติ ความว่า บุคคลนั้น กำลังกล่าว ย่อมมี ความรู้อย่างนี้ว่า เรากำลังกล่าวเท็จ.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 635

คำว่า กณิตสฺส โหติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเท็จแล้ว บุคคลนั้น ย่อมมีความรู้อย่างนี้ว่า เรากล่าวคำเท็จแล้ว. อธิบายว่า เมื่อเธอกล่าวคำที่พึง กล่าวนั้นแล้ว ย่อมมีความรู้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภณิตสฺส ความว่า ความรู้อย่างนั้น ย่อมมี แก่บุคคลนั้น ผู้มีคำพูดอันพูดแล้ว คือ มีคำพูดสำเร็จแล้ว. ในองค์แห่ง สัมปชานมุสาวาทนี้ ท่านแสดงอรรถไว้ดังนี้ว่า ภิกษุใด แม้ในเบื้องต้นก็รู้ อย่างนี้ แม้กำลังกล่าว ก็รู้อยู่, แม้ในภายหลัง ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ภิกษุนั้น เมื่อกล่าวว่า เราเข้าปฐมฌาน ดังนี้ ย่อมต้องปาราชิก. แม้ท่าน แสดงอรรถไว้แล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ในองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนี้ ยังมี ความแปลกกัน ดังนี้ :-

มีคำถามก่อนว่า เบื้องต้นว่า เราจักพูดมุสา มีอยู่, ส่วนภายหลังว่า เราจะพูดมุสาแล้ว ไม่มี, จริงอยู่ คนบางคนย่อมลืมคำพูดที่พอพูคออกไปทีเดียว ภิกษุนั้น จะเป็นปาราชิกหรือไม่เป็น?

คำถามนั้น ท่านแก้ไว้แล้วในอรรถกถาทั้งหลาย อย่างนี้ ว่า ภิกษุคิดว่า เราจักพูดเท็จ ในชั้นต้น, และเมื่อพูดอย่างก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ การไม่รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ในชั้นหลัง ไม่อาจจะไม่มี ถึงหากจะไม่มี ก็เป็นปาราชิก เหมือนกัน. เพราะ ๒ องค์เบื้องต้นนั่นแลเป็นสำคัญ แม้ภิกษุใด ในชั้นต้น ไม่มีความผูกใจว่า เราจักกล่าวเท็จ แต่เมื่อกล่าว ย่อมรู้ว่า เรากล่าวเท็จ, แม้เมื่อกล่าวแล้ว ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ภิกษุนั้น พระวินัยธรไม่พึง ปรับอาบัติ. เพราะส่วนเบื้องต้นสำคัญกว่า, เมื่อเบื้องต้นนั้นไม่มี ย่อมเป็นอัน พูดเล่นหรือพูดพลั้งไปก็ได้ ดังนี้แล.

ก็แล ในคำว่า มุสา ภาณิสฺสํ เป็นต้นนี้ ควรละความมีความรู้ อันนั้นและความประชุมพร้อมแห่งความรู้เสีย.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 636

ข้อว่า ควรละความมีความรู้อันนั้นเสีย ได้แก่ พึงละความมีความรู้ อันนั้นนี้ว่า ย่อมรู้ได้ใน ๓ ขณะ ด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุรู้ อยู่ว่า เราจักกล่าวเท็จ ดังนี้ ด้วยจิตดวงใด ย่อมรู้ว่า เรากำลังกล่าวเท็จ และว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ดังนี้ ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแล. จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจจะรู้ จิตด้วยจิตดวงนั้นนั่นเองได้ เหมือนบุคคลไม่อาจเอาดาบเล่มนั้นตัดดาบเล่มนั้น นั่นเองได้ ฉะนั้นแล. ก็จิตรดวงที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแห่งความเกิดขึ้น อย่างนั้น ของจิตดวงหลังๆ แล้วย่อมดับไป. ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าว คำนี้ไว้ว่า

ส่วนเบื้องต้นเท่านั้น เป็นประมาณ เมื่อส่วนเบื้องต้นนั้นมีอยู่ คำว่า สองบท ที่เหลือ จักไม่มี ดังนี้นั้น ย่อมไม่มี; เพราะ ฉะนั้น วาจา จงชื่อว่ามีองค์ ๓.

ข้อว่า ควรละความประชุมพร้อมแห่งความรู้ ความว่า จิต ๓ ดวง เหล่านี้ ไม่ควรถือเอาว่า เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน. จริงอยู่ ธรรมดาจิตนี้

ย่อมปรากฏเหมือนเป็นดวงเดียว เพราะเกิดขึ้นติดต่อกัน เมื่อดวงแรกยังไม่ดับ ดวงหลังก็ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้แล.

ก็แล ข้าพเจ้าจักกล่าวคำ ที่ถัดจากนี้ต่อไป :- บุคคลนี้ใดย่อมกล่าว สัมปชานมุสาวาทว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีความเห็น อย่างนี้ว่า ปฐมฌานของเรา ย่อมไม่มี, จริงอยู่ ลัทธินี้ ของบุคคลนั้น มีอยู่แท้. อนึ่ง ลัทธิอย่างนี้ว่า ปฐมฌานของเรา ย่อมไม่มี ดังนี้ ย่อมพอใจ และ ชอบใจแก่บุคคลนั้น, และบุคคลนั้น มีจิตมีสภาพอย่างนี้นั่นเทียวว่า ปฐมฌาน


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 637

ของเรา ย่อมไม่มี, ก็แล ในกาลใด ตนเป็นผู้ใคร่จะกล่าวเท็จ, ในกาลนั้น บุคคลนั้นละ คือ ทิ้ง ปิดบังความเห็นนั้น หรือความพอใจกับความเห็น ความ พอใจกับความเห็นและความพอใจ หรือความเป็นกับความเห็นความพอใจ และความชอบใจ แล้วกล่าวทำให้เป็นคำเท็จ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า จตูหิ อากาเรหิ เป็นอาทิ เพื่อแสดงความต่างแห่งองค์ ด้วยอำนาจความเห็นเป็นต้นแม้เหล่านั้น. ก็เพราะในคัมภีร์ปริวาร ท่านกล่าวว่า มุสาวาทมีองค์ ๘ ในอธิการนี้ จึงควรประกอบนัยอันหนึ่งว่า อฏฺหากาเรหิ เป็นอีกนัยหนึ่งผสมกับสัญญาที่ท่านประสงค์ ในคัมภีร์ปริวารนั้น.

ก็แล บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า วินิธาย ทิฏฺึ ตรัสด้วยอำนาจ การละธรรมอันมีกำลังเสีย.

บทว่า วินิธาย ขนฺตึ เป็นอาทิ ตรัสด้วยอำนาจการละธรรมทั้งหลาย ที่ทรามกำลัง และที่หย่อนกำลังกว่าธรรมที่มีกำลังนั้น.

ส่วนบทว่า วินิธาย สญฺํ นี้ ชื่อว่าแม้เป็นเพียงสัญญาที่เป็นไป ด้วยอำนาจการละธรรมที่ทรามกำลังกว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้.

ฐานะว่า ไม่ละ จักกล่าวสัมปชานมุสาวาท นี้จะไม่มี. ก็เพราะไม่เป็น ปาราชิก ด้วยคำที่บ่งอนาคต เป็นต้นว่า ข้าพเจ้าจักเข้า เหตุฉะนั้น บทที่บ่ง อดีต และปัจจุบันว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เป็นต้นเท่านั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้ ในพระบาลี.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำแม้ทั้งหมดในสุทธิกมหาวารนี้ มีเนื้อความตื้น ทั้งนั้น. จริงอยู่ ในสุทธิกมหาวารนี้ ไม่มีคำที่ไม่อาจรู้ได้ด้วยวินิจฉัยนี้ เว้น แต่เนื้อความแห่งบทว่า ราโค เม จตฺโต วนฺโต เป็นต้น ในบทภาชนะ แห่งบทว่า การละกิเลส. เนื้อความนี้นั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป :-


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 638

ก็บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จตฺโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วย อำนาจการสละภาวะแห่งตน

บทว่า วนฺโต นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงภาวะที่ราคะยึดถือไม่ได้อีก.

บทว่า มุตฺโต นี้ ตรัสด้วยอำนาจความพ้นจากสันตติ.

บทว่า ปหีโน นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงความตั้งลงไม่ได้ ในที่ไหนๆ แม้แห่งราคะที่หลุดไปแล้ว.

บทว่า ปฏินิสฺสฏฺโ นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงความสละคืนราคะที่ เคยยึดถือไว้ในหนหลังเสีย.

บทว่า อุกฺเขฏิโต นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแสดงภาวะที่กลับแอบแนบ ไม่ได้อีก เพราะถูกอริยมรรคถอนขึ้นเสียแล้ว. เนื้อความนี้นั้น ผู้ศึกษาทั้งหลาย พึงค้น ดูจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.

บทว่า สมุกฺเขฏิโต นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแสดงภาวะที่กลับแอบ แนบไม่ได้อีก แม้แห่งราคะที่สหรคตเพียงเล็กน้อย เพราะถอนขึ้นเด็ดขาด ด้วยประการฉะนี้.

สุทธิกวารกถา จบ


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 639

กถาว่าด้วยผู้มีความประสงค์จะกล่าว

เนื้อความแห่งบทว่า ตีหากาเรหิ เป็นอาทิ และประเทศแห่งวาร เปยยาลทั้งปวง แม้ในวัตถุกามวาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสุทธิกวารนี้ แล. ก็วัตตุกามวารนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกันโอกาสของบาปบุคคลทั้ง หลายอย่างเดียว ผู้แสวงหาช่องอย่างนี้ว่า คำนี้ใดเล่า เราประสงค์จะกล่าวคำ อื่น กล่าวผิดเป็นคำอื่น ; เพราะฉะนั้นอาบัติจึงไม่มีแก่เรา. เหมือนอย่างว่า ภิกษุปรารถนาจะกล่าวว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่ง บรรดา บทสำหรับบอกลาสิกขามีว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้บอก ลาสิกขาแล้วแท้ เพราะบทเหล่านั้นหยั่งลงในเขต ฉันใดแล, ข้อนี้ก็ฉันนั้น ภิกษุผู้ใคร่จะกล่าวบทใดบทหนึ่งบทเดียว บรรดาบทอุตริมนุสธรรมมีปฐมฌานเป็นต้น แม้เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่งอย่างอื่นจากบทนั้น ย่อมเป็นปาราชิกที เดียว เพราะบทนั้นหยั่งลงในเขต. แม้ถ้าเธอกล่าวแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ย่อมรู้ความ นั้นในขณะนั้นทันที. ก็แล ลักษณะแห่งการรู้ในการอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่ มีจริงนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในการบอกลาสิกขานั่นแล. แต่ความแปลก กัน มีดังต่อไปนี้ :- การบอกลาสิกขา ย่อมไม่ถึงความสำเร็จด้วยหัตถมุทธา (ไม่สำเร็จได้ด้วยการกระดิกหัวแม่มือ) การอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงนี้ ย่อมหยั่งลง (สู่ความสำเร็จ) แม้ด้วยหัตถมุทธา. จริงอยู่ ภิกษุใดอวดดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงด้วยความเคลื่อนไหวแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มีหัตถวิการ (แกว่งมือ) เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยืนอยู่ในคลองแห่งวิญญัติ. และบุคคลนั้น รู้ใจความนั้นได้, ภิกษุนั้น เป็นปาราชิกแท้. แต่ถ้าเธอบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ไม่เข้าใจ หรือถึงความสงสัยว่า ภิกษุนี้ พูดอะไร? หรือพิจารณานานจึงรู้ใน


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 640

ภายหลัง ย่อมถึงความนับว่า ผู้ไม่เข้าใจทันทีเหมือนกัน. เมื่อภิกษุบอกแก่ บุคคลผู้ไม่เข้าใจทันทีอย่างนั้น เป็นถุลลัจจัย. ส่วนบุคคลใดไม่รู้จักอุตริมนุสธรรมมีฌานเป็นต้นด้วยตนเองด้วยอำนาจการได้บรรลุ หรือด้วยอำนาจการเรียน และการสอบถามเป็นต้น ได้ยินแต่เพียงคำว่า ฌาน หรือว่า วิโมกข์ อย่าง เดียวเท่านั้น. ถึงบุคคลนั้น เมื่อภิกษุนั้นบอกแล้ว ถ้ารู้ได้แม้เพียงเท่านี้ว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้กล่าวว่า เราเข้าฌานแล้ว ดังนี้ ย่อมถึงความนับว่า รู้ เหมือน กัน, เมื่อภิกษุบอกแก่บุคคลนั้น เป็นปาราชิกแท้. ความแปลกกัน ด้วยอำนาจ บุคคลผู้เดียว สองคน หรือมากคน ที่ภิกษุกำหนดไว้หรือมิได้กำหนดไว้แม้ ทั้งหมดนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ในกถาว่าด้วยการบอกลาสิกขานั้นแล ด้วยประการฉะนี้.

วัตตุกามวารกถา จบ


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 641

กถาว่าด้วยปัจจัยปฏิสังยุตตวาร

แม้ในวาระการอวดเกี่ยวด้วยปัจจัย พึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล ทั้งหมด และอรรถแห่งบทที่มาในเบื้องต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แล้ว ทราบลำดับพระบาลี อย่างนี้ก่อน. ก็ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ ท่านกล่าววาร กำหนดด้วยปฐมาวิภัตติ ๕ เหล่านั้นว่า

๑. ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน

๒. ภิกษุใด บริโภคจีวรของท่าน

๓. ภิกษุใด ฉันบิณฑบาตของท่าน

๔. ภิกษุใด ใช้สอยเสนาสนะของท่าน

๕. ภิกษุได บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน

ดังนี้, กล่าววารกำหนดด้วยตติยาวิภัตติ ๕ มีว่า วิหารของท่าน อันภิกษุใดใช้ สอยแล้ว เป็นต้น, กล่าววารกำหนดด้วยทุติยาวิภัตติ ๕ มีว่า ท่านอาศัยภิกษุใด จึงได้ถวายวิหาร ดังนี้ เป็นต้นพึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล ในทุกๆ บท มีปฐมฌานเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ในเบื้องต้นพร้อมกับบทสุญญาคาร ที่ กล่าวแล้วในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ด้วยอำนาจแห่งวารเหล่านั้น.

ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็เพราะภิกษุกล่าว โดยอ้อมอย่างนี้ว่า ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน, วิหารของท่าน อันภิกษุ ใดอยู่แล้ว, ท่านอาศัยภิกษุใด จึงได้ถวายวิหาร, และเพราะเธอไม่ได้กล่าวว่า เรา ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ แม้เมื่อกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แก่บุคคลผู้ เข้าใจทันที จึงเป็นถุลลัจจัย กล่าวอวด แก่บุคคลผู้ไม่เข้าใจทันที จึงเป็น ทุกกฏ.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 642

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความ พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงแสดงอนาบัติ จึงตรัสคำว่า อนาปตฺติ อธิมาเนน เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิมาเนน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้อวด ด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ.

บทว่า อนุลฺลปนาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ มิได้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร ด้วยความเป็นผู้หลอกลวง ไม่ประสงค์จะอวด พยากรณ์ พระอรหัตตผล ในสำนักของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัย ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นนั่นแล. อนึ่ง พวกภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ฝั่งแม่น้ำ วัคคุมุทา ผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่เธอเหล่านั้น ฉะนี้ แล.

ปทภาชนียวรรณนา จบ

(จตุตถปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓)

ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดแต่กายกับจิตของภิกษุผู้อวดอยู่ ด้วยหัวแม่มือ ๑ เกิดแต่วาจากับจิตของ ภิกษุผู้อวดด้วยการเปล่งวาจา ๑ เกิดแต่กายวาจากับจิต ของภิกษุผู้ทำอยู่ทั้ง ๒ อย่าง ๑ เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะเป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุศลจิต มีเวทนา ๓. จริงอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวอวดทั้งที่มีโสมนัส รื่นเริงใจก็มี กลัวอวดก็มี มีตนเป็นกลางอวดก็มี.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 643

วินีตวัตถุในจตุตถปาราชิก

[เรื่องสำคัญ ว่าได้บรรลุ]

เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ ในวินีตวัตถุทั้งหลาย มีนัยดังกล่าวแล้ว ใน อนุบัญญัตินั่นแล.

ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า ปณิธาย ได้แก่ ทำความ ปรารถนาไว้.

ข้อว่า เอวํ มํ ชโน สมฺภาเวสฺสติ มีความว่า (ภิกษุรูปใดรูป หนึ่ง อยู่ในป่าด้วยตั้งใจว่า) , ชนจักยกย่องเราผู้อยู่ในป่า ในความเป็นพระ อรหันต์ หรือในภูมิแห่งพระเสขะ ด้วยวิธีอย่างนี้. แต่กาลนั้นไป เราจักเป็น ผู้อันชาวโลกสักการะ เคารพนับถือ บูชา.

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อเธอ เดินไปด้วย ตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักอยู่ในป่า เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า. ในกิจทั้งปวง มี การสร้างกุฎี เดินจงกรม นั่ง และนุ่งห่มเป็นต้นในป่า เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค เหมือนอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้นภิกษุไม่ควรอยู่ในป่า ด้วยความตั้ง ใจอย่างนั้น. จริงอยู่ เมื่ออยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น จะได้รับความยกย่อง หรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องทุกกฏ. ส่วนภิกษุใด สมาทานธุดงค์แล้ว คิดว่า เรา จักรักษาธุดงค์ หรือว่า เมื่อเราพักอยู่ในแดนบ้าน จิตย่อมฟุ้งซ่าน, ป่าเป็น ที่สบาย ดังนี้ จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะอยู่ป่าอันหาโทษมิได้ด้วยทำความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบรรลุบรรดาวิเวกทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งในป่าแน่ แท้ ดังนี้ ก็ดี ว่า เราเข้าไปสู่ป่ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จักไม่ ออกมา ดังนี้ ก็ดี ว่า ชื่อว่าการอยู่ป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 644

และเมื่อเราพักอยู่ในป่า เพื่อนพรหมจารีมากหลาย จักละทิ้งแดนบ้านแล้ว อยู่ป่า เป็นวัตร ดังนี้ก็ดี ; ภิกษุนั้น ควรอยู่ในป่า.

ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค ตั้งต้นแต่ กิจ คือการนุ่งห่ม ด้วยตั้งใจว่า เราจักวางอิริยาบถ มีการก้าวไปเป็นต้น เที่ยวบิณฑบาต จนกระทั่งถึงการขบฉันเป็นที่สุด, เธอจะได้รับความยกย่อง หรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฎทั้งนั้น แต่ภิกษุผู้เข้าไปบิณฑบาต ด้วยอิริยาบถที่น่า เลื่อมใส มีการก้าวไปและถอยกลับเป็นต้น เพื่อบำเพ็ญขันธกวัตรและเสขิยวัตร ให้บริบูรณ์ หรือเพื่อถึงความเป็นทิฏฐานุคติ แก่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายไม่พึงติเตียนแล.

ในเรื่องที่ ๔ และที่ ๕ เพราะภิกษุมิได้กล่าวว่าเรา โดยนัยดังกล่าวไว้ แล้วในคำนี้ว่า ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน จึงไม่เป็นปาราชิก. จริงอยู่ เมื่อภิกษุอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่น้อมเข้ามาในตนเท่านั้น ท่านจึงปรับเป็น ปาราชิก. คำเป็นต้นว่า (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า ... ดังนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

ในเรื่องละสังโยชน์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุกล่าวว่า สังโยชน์ ทั้งหลาย เราละได้แล้ว ก็ดี ว่า สังโยชน์ทั้ง ๑๐ เราละได้แล้วก็ดี ว่า สังโยชน์ ข้อหนึ่ง เราละได้แล้ว ก็ดี การละกิเลสนั่นแหละเป็นอันเธอบอกแล้ว ; เพราะ เหตุนั้น จึงเป็นปาราชิก.

ในเรื่องธรรมในที่ลับ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า รโห อุลฺลปติ (๑) ความว่า ภิกษุอยู่ในที่ลับ พูดว่า เราเป็นพระอรหันต์ ดังนี้, แต่ไม่ได้ทำ การคิดด้วยใจเลย ; เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏ เรื่อง วิหาร และเรื่องบำรุง มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.


(๑) บาลี. มหา. วิ. ๑/๒๐๔ เป็น รโหคโต ... อุลฺลปติ.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 645

ในเรื่องทำได้ไม่ยาก มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลัทธิ ของภิกษุนั้นมีดังนี้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายแล ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (พึงพูดอย่าง นั้น). เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าวว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าเท่านั้น พึงพูดอย่างนั้น. ก็แลความประสงค์ของเธอ มีดังนี้ว่า การที่ภิกษุผู้มีศีล เจริญวิปัสสนาพยากรณ์พระอรหัตตผลทำได้ไม่ยากเลย, เธอ สามารถบรรลุพระอรหัตได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะพูดอวด.

ในเรื่องความเพียร มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อาราธนีโย ความ ว่า สามารถเพื่อยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ คือยังตนให้บรรลุได้. ความว่า เพื่อให้เกิดได้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในเรื่องความตาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ (๑) นั้น อาศัยอำนาจแห่ง ประโยชน์นี้ว่า ท่านผู้มีความเดือดร้อนใจเกิดขึ้น ต้องกลัวแน่, แต่ศีลของ เราบริสุทธิ์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนใจเลย. เรานั้นจักต้องกลัวต่อ ความตายทำไม ดังนี้ จึงตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย! ผมย่อมไม่กลัวต่อ ความตาย. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีอาบัติแก่ภิกษุนั้น. แม้ในเรื่องความเดือด ร้อนใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ๓ เรื่องถัดจากเรื่องความเดือดร้อนใจนั้นไปเป็น เหมือนเรื่องความเพียรนั่นเอง.

บรรดาเรื่องเวทนา (๒) ทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องทีแรกก่อน :- ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ ด้วยกำลังแห่งความพิจารณา จึงตอบว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย! อันคนพอดีพอร้าย ไม่สามารถจะอดกลั้นได้. เพราะเหตุนั้น


๑. ไม่ใช่เป็นบทตั้ง เพราะในบาลีไม่มี ควรแก้ไม่ไห้มี อิติ สัพท์ จึงจะถูก.

๒. เทสนาวตฺถูสุ ว่าจะผิด เพราะพูดถึงเรื่อง อดกลั้นเวทนา ฉะนั้น จึงควรแก้เป็น เวทนาวตฺถูสุ ดังที่แปลไว้แล้วนั่น.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 646

จึงไม่มีอาบัติแก่เธอ. ส่วนในเรื่องที่ ๒ เป็นถุลลัจจัย เพราะภิกษุนั้นไม่ได้ทำ การอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่นี้อมเข้ามาในตน กล่าวโดยอ้อมว่า ดูก่อนอาวุโส ทั้งหลาย! อันปุถุชนไม่สามารถ (จะอดกลั้นได้).

ในเรื่องพราหมณ์ทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ได้ยินว่า พราหมณ์ คนนั้น ได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงมาเถิดเจ้าข้า! ดังนี้ อย่างเดียวก็หามิได้, (โดยที่แท้) คำพูดทั้งหมดที่เปล่งออกจากปากของพราหมณ์ นั้น ประกอบด้วยวาทะว่าอรหันต์ทั้งนั้น ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงปูลาดอาสนะ จงถวายน้ำล้างเท้าแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย, ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย จงล้าง เท้าเถิด. ก็คำพูดนั้นของพราหมณ์นั้น เป็นการกล่าวด้วยความเลื่อมใส คือ เป็นคำกล่าวของพราหมณ์ ผู้ถูกกำลังศรัทธาของตนให้ขะมักเขม้นแล้ว เพราะ ความเป็นผู้มีศรัทธาจิต. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ไม่เป็นอาบัติ เพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส. อัน ภิกษุผู้ถูกเขากล่าวอย่างนั้น ไม่ควรเป็นผู้ร่าเริงยินดีเลยบริโภคปัจจัยทั้งหลาย. ควรทำความเพียร ด้วยคิดอย่างนี้ว่า ก็เราจักบำเพ็ญข้อปฏิบัติ อันจะยังตน ให้ถึงพระอรหัต ดังนี้แล. เรื่องพยากรณ์อรหัตตผลเป็นเหมือนเรื่องละสังโยชน์ นั่นแล.

ในเรื่องครองเรือน มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ดูก่อน ผู้มีอายุ! คนอย่างฉัน ไม่ควรแล ดังนี้ เพราะเธอไม่มีความต้องการ ไม่มี ความเยื่อใยในเป็นคฤหัสถ์, หาได้กล่าวด้วยความประสงค์จะอวดไม่. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.

ในเรื่องห้ามกาม มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น เป็นผู้หมดความเยื่อใย ในวัตถุกามและกิเลสกาม เพราะเล็งเห็นโทษ ที่เป็นโลกีย์นั่นเอง ; เพราะ


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 647

ฉะนั้น เธอจึงกล่าวว่า ดูก่อนคุณ! กามทั้งหลาย ฉันห้ามได้แล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.

ก็คำว่า อาวฏา ในคำว่า อาวฏา เม นี้ มีใจความว่า ฉันป้องกัน ได้แล้ว คือ ห้ามเสียแล้ว ปฏิเสธแล้ว

ในเรื่องความอภิรมย์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดูก่อน คุณ ; ฉันยังยินดียิ่ง ด้วยความยินดีอย่างเยี่ยม ดังนี้ เพราะเธอเป็นผู้ไม่กระสัน และเพราะยังมีความยินดี ในอุเทศและปุจฉาเป็นต้น ในศาสนา หาได้กล่าว ด้วยความประสงค์จะอวดไม่ ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.

[เรื่องตั้งกติกาหลีกไป]

ในเรื่องหลีกไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า ภิกษุใด จักหลีกไปจาก อาวาสนี้ก่อน มีอธิบายว่า เมื่อสงฆ์กำหนดอาวาส มณฑลสีมา หรือสถานที่ใด ที่หนึ่ง แล้วตั้งกติกาไว้ ภิกษุใดหลีกไปจากสถานที่นั้นก่อน ด้วยคิด ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย จงเข้าใจเราว่า เป็นพระอรหันต์, ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก. ส่วนภิกษุใด เดินเลยสถานที่นั้นไป ด้วยกิจธุระของอาจารย์และอุปัชฌายะก็ดี ด้วยกรณียะ เช่นนั้นอย่างอื่น เพื่อภิกขาจาร หรือเพื่อประโยชน์แก่อุเทศและปริปุจฉาก็ดี, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้น เดินไปด้วยกิจอย่างนั้น ภาย หลังอิจฉาจารเกิดขึ้นว่า บัดนี้ เราจักไม่ไปในสถานที่นั้น. เพราะว่า ชน ทั้งหลายจักยกย่องเราว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนกัน. ฝ่ายภิกษุใด ลุถึงสถานที่นั้น ด้วยกรณียะบางอย่างแล้ว เป็นผู้ ส่งใจไปในที่อื่น ด้วยอำนาจการใฝ่ใจในการสาธยายเป็นต้น หรือถูกโจร เป็นต้นไล่ติดตาม. หรือเห็นเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว มีประสงค์จะเข้าไปหลบฝน จึงล่วงเลยสถานที่นั้นไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. แม้ภิกษุผู้ไปด้วยยาน


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 648

หรือด้วยฤทธิ์ก็ไม่ต้องปาราชิก. แต่ย่อมต้องอาบัติด้วยการเดินไปด้วยเท้านั้น. ภิกษุผู้เดินไปถึงสถานที่แม้นั้น ไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมด้วยพวกภิกษุผู้ร่วมกัน ตั้งข้อกติกาไว้ไม่ต้องอาบัติ. เพราะว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินไปอย่างนั้น ยังรักษากันและกันได้แม้ทั้งหมด. แม้ถ้าภิกษุทั้งหลาย กำหนดสถานที่บางแห่ง บรรดามณฑปและโคนต้นไม้เป็นต้น แล้วตั้งข้อกติกาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พวกเราจักรู้ภิกษุผู้นั่งหรือเดินจงกรมอยู่ในที่นี้ว่า เป็นพระอรหันต์ หรือเอา ดอกไม้วางไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พวกเราจักทราบภิกษุผู้ถือเอาดอกไม้เหล่านี้ แล้วทำการบูชาว่า เป็นพระอรหันต์. แม้ในข้อกติกวัตรนั้น เมื่อภิกษุทำอยู่ เหมือนอย่างนั้น ด้วยอำนาจอิจฉาจาร เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้ถ้าอุบาสก สร้างวิหารไว้ในระหว่างทางก็ดี ตั้งปัจจัยมีจีวรเป็นต้นไว้ก็ดี ด้วยกล่าวว่า ขอภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย จงพักอยู่ในวิหารหลังนี้ และจงถือเอาปัจจัย มีจีวรเป็นต้น. แม้ในข้อกติกวัตรที่อุบาสกดั้งไว้นั้น เมื่อภิกษุพักอยู่ หรือถือ เอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจอิจฉาจาร เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่ว่านั่น เป็นกติกวัตรที่ไม่ชอบธรรม ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำ.

อีกอย่างหนึ่ง วัตรอื่นเห็นปานนี้ มีอาทิอย่างนี้ว่า ในภายในไตรมาสนี้ ภิกษุทั้งหมดจงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร หรือว่าทรงไว้ซึ่งธุดงค์ที่เหลือ มี องค์แห่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น. หรือว่า จงเป็นผู้สิ้นอาสวะ หมดทุกรูปด้วยกัน, ดังนี้. (ชื่อว่าวัตรที่ไม่ชอบธรรม) แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในชนบทต่างๆ ย่อมประชุมกัน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก ทุพพลภาพมีกำลังน้อย ย่อมไม่สามารถจะตามรักษาข้อวัตรเห็นปานนั้นได้. เพราะเหตุนั้น ข้อวัตรแม้เห็นปานนั้น จึงไม่ควรทำ. และข้อวัตรมีอาทิอย่างนี้ ว่า ตลอดไตรมาสนี้ ภิกษุหมดทุกรูปด้วยกัน ไม่พึงแสดงธรรม ไม่พึงเรียน


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 649

ธรรม ไม่พึงให้บรรพชา. แต่ควรเรียนเอามูควัตร ควรให้ลาภสงฆ์แม้แก่ ภิกษุผู้อยู่ภายนอกสีมาด้วย ดังนี้ ก็ไม่ควรทำเหมือนกัน.

[เรื่องพระมหาโมคคัลลานะเห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต]

พระลักขณเถระ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ในลักขณสังยุตว่า อายสฺมา จ ลกฺขโณ, (๑) เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีอยู่ภายในแห่งภิกษุ ชฎิลพันองค์ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด แห่งอาทิตตปริยายสูตร เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง. ก็เพราะท่านองค์นี้ ประกอบด้วยอัตภาพเสมือนพรหม สมบูรณ์ด้วยลักษณะเต็มเปี่ยมด้วยอาการ ทุกอย่าง ; ฉะนั้น ท่านจึงถึงความนับว่า ลักขณะ ส่วนพระมหาโมคคัลลาน เถระเป็นพระอัครสาวกที่ ๒ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันที่ ๗ แต่วันที่ ท่านบวชแล้ว.

สองบทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ทำการยิ้มน้อยๆ ให้ปรากฏ. มีคำอธิบายว่า ประกาศ คือแสดง.

ถามว่า ก็ พระเถระ เห็นอะไร จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ?

แก้ว่า พระเถระ เห็นสัตว์ผู้เกิดอยู่ในเปตโลกตนหนึ่ง มีแต่ร่างกระดูก ซึ่งมาแล้วในบาลีข้างหน้า, ก็แล การเห็นสัตว์คนนั้น เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ ไม่ใช่เห็นด้วยจักษุประสาท. จริงอยู่ อัตภาพเหล่านั้น หาได้มาสู่คลองแห่ง จักษุประสาทไม่.

ถามว่า ก็พระเถระ เห็นอัตภาพมีรูปอย่างนั้นแล้ว เพราะเหตุไร จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ ในเมื่อควรทำความกรุณาเล่า?


(๑) สํ. นิทาน. ๑๖/๒๖๘


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 650

แก้ว่า เพราะท่านอนุสรณ์ถึงสมบัติของตน และพระญาณของพระ พุทธเจ้าด้วย. แท้จริง พระเถระ เห็นเปรตตนนั้นแล้ว ได้อนุสรณ์ถึงสมบัติ ของตนว่า อัตภาพเห็นปานนี้ อันบุคคลผู้ชื่อว่ายังไม่เห็นสัจจะพึงได้ , เราพ้น แล้ว จากอัตภาพเช่นนั้น, เป็นลาภของเราหนอ! เราได้ดีแล้วหนอ! และ ได้ระลึกถึงสมบัติแห่งพระพุทธฌานอย่างนี้ว่า ญาณสมบัติของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมวิบาก เป็นอจินไตย อันบุคคลไม่พึงคิด (๑) น่าอัศจรรย์ , พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงแสดงทำให้ ประจักษ์หนอ! ธรรมธาตุ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงแทงตลอดดีแล้ว ดังนี้ จึงได้ทำการแย้มพรายให้ปรากฏ.

ก็ธรรมดาว่า พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่ทำการแย้มพรายให้ปรากฏ เพราะไม่มีเหตุ ; เพราะฉะนั้น พระลักขณเถระจึงถามพระมหาโมคคัลลานเถระ นั้นว่า ดูก่อนอาวุโส โมคคัลลานะ! อะไรหนอเป็นเหตุ? อะไรหนอเป็น ปัจจัยแห่งการทำแย้มพรายให้ปรากฏ? แต่พระเถระกล่าวตอบว่า อาวุโส ลักขณะ! ยังไม่เป็นกาลสมควรแล เป็นต้น โดยสาเหตุที่ท่านมีความประสงค์ จะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพยานเสียก่อน จึงพยากรณ์ เพราะเหตุว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ที่ยังมิได้เห็นความอุบัติขึ้นนี้ด้วยตนเองแล้ว จะบังคับให้เชื่อได้ โดยยาก. ภายหลังแต่นั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ ถูกพระลักขณเถระถาม ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้พยากรณ์ โดยนัยมีอาทว่า อิธาหํ อาวุโส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิกสงฺขลิกํ ได้แก่ ผู้มีแต่ร่างกระดูก ซึ่งมีสีขาว ไม่มีเนื้อและโลหิต.


(๑) องฺ จตุกฺก. ๒๑/๑๐๔.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 651

แร้งยักษ์ เหยี่ยวยักษ์ และนกตะกรุมยักษ์ แม้เหล่านี้ พึงทราบว่า แร้งบ้าง เหยี่ยวบ้าง นกตะกรุมบ้าง. ก็รูปนั้น ไม่มาแม้สู่คลอง (แห่ง จักษุ) ของฝูงแร้งเป็นต้นตามปกติ.

สองบทว่า อนุปติตฺวา อนุปติตฺวา ได้แก่ พากันติดตามไปแล้วๆ.

บทว่า วิตุเทนฺติ ได้แก่ จิกแล้วบินไป. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า วิตุทนฺติ ก็มี. อธิบายว่า ย่อมสับจิก ด้วยจะงอยปากซี่โลหะที่คมกริบ เปรียบด้วยคมดาบ. ศัพท์ว่า สุทํ ในคำว่า สา สุทํ อฏฺฏสฺสรํ นี้ เป็นนิบาต. อธิบายว่า อัฏฐิกสังขลิกเปรตตนนั้น ย่อมทำเสียงร้องครวญคราง คือ เสียง โอดครวญ. ได้ยินว่า อัตภาพเช่นนั้น แม้มีประมาณตั้งโยชน์หนึ่ง ย่อมเกิด ขึ้น และมีประสาทที่พองขึ้น เป็นเช่นกับหัวฝีที่พองแล้ว เพื่อตามเสวยผล แห่งอกุศล เพราะฉะนั้น อัฏฐิกสังขลิกเปรตตนนั้น เดือดร้อนเพราะเวทนา ที่มีกำลัง จึงได้ทำเสียงเช่นนั้นแล.

ก็แล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดง ย้ำธรรมสังเวชซึ่งเกิดขึ้น เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ไปในวัฏฏะ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพเห็นปานนี้ไปได้ จึงกล่าวคำ เป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส! เรานั้นได้มีความคิดเช่นนี้ว่า ท่านผู้เจริญ! น่า อัศจรรย์จริงหนอ ดังนี้.

สองบทว่า ภิกฺขุ อุชฺฌายนฺติ ความว่า ความอุบติขึ้นแห่งเปรตนั้น ไม่เห็นประจักษ์แก่ภิกษุเหล่าใด, ภิกษุเหล่านั้นพากันโพนทะนา. ส่วนพระผู้มี พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระเถระ จึงตรัสพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ เป็นต้น.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 652

ในบทเหล่านั้น สาวกทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุ เพราะอรรถว่า สาวกเหล่านั้นมีจักษุเป็นแล้ว เกิดแล้ว อุบัติแล้ว. ความว่า เป็นผู้มีจักษุ เป็นแล้ว คือ มีจักษุเกิดแล้ว ยังจักษุให้เกิดขึ้นแล้วอยู่. แม้ในบทที่ ๒ ก็ นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า ยตฺร ซึ่งมีอยู่ในคำว่า ยตฺร หิ นาม นี้ เป็นคำ ระบุถึงเหตุ. ในคำว่า จกฺขุภูตา เป็นต้นนั้น มีการประกอบเนื้อความดัง ต่อไปนี้ :- เพราะเหตุว่า แม้สาวกจักรู้ หรือจักเห็นหรือจักทำอัตภาพเห็น ปานนี้ ให้เป็นพยานได้ ฉะนั้น เราจึงไค้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สาวกทั้งหลาย เป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สาวกทั้งหลาย เป็นผู้มีญาณอยู่หนอ ดังนี้.

ข้อว่า ปุพุเพว เม โส ภิกฺขเว สตฺโต ทิฏฺโ มีความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ตรัสว่า เราได้แทงตลอดสัพพัญฌุตญาณ ณ โพธิมัณฑ์ ทำหมู่สัตว์ และภพ คติ ฐิติ และนิวาส หาประมาณมิได้ ไนจักรวาลทั้งหลาย หาประมาณมิได้ ให้ประจักษ์อยู่ ได้เห็นสัตว์นั้นแล้วในกาลก่อนแล.

บทว่า โคฆาตโก ความว่า เป็นสัตว์ผู้ฆ่าโคทั้งหลายแล้ว ปล้อน เนื้อออกจากกระดูกขายเลี้ยงชีวิต.

หลายบทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน ความว่า แห่ง อปราปรเวทนียกรรมอันเจตนาต่างๆ ประมวลมาแล้วนั้นนั่นแล. จริงอยู่ บรรดาเจตนาเหล่านั้น ปฏิสนธิในนรกอันเจตนาใดให้เกิดขึ้น แล้วเมื่อวิบาก แห่งเจตนาดวงนั้น สิ้นไปแล้ว , ปฏิสนธิในเปรตเป็นต้น ย่อมบังเกิดอีก ; เพราะทำกรรมที่เหลือ หรือกรรมนิมิตให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธิ นั้น ท่านจึงเรียกว่า วิบากที่เหลือแห่งกรรมนั้นนั่นเอง เพราะมีส่วนเสมอ ด้วยกรรม หรือเพราะมีส่วนเสมอด้วยอารมณ์. ก็สัตว์นี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 653

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ด้วยวิบากยังเหลืออยู่แห่งกรรม นั้นนั่นเอง. ได้ยินว่า ในเวลาเคลื่อนจากนรก สัตว์นั้นได้มีนิมิต คือ กองกระดูกแห่งโคทั้งหลาย อันถูกทำไม่ให้มีเนื้อ, สัตว์นั้น เมื่อจะทำกรรมนั้น แม้ที่ปกปิดให้เป็นดุจปรากฏแก่วิญญูชนทั้งหลาย จึงเกิดเป็นอัฏฐิสังขลิกเปรต.

[เรื่องมังสเปสีเปรต]

ในเรื่องมังสเปสีเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- มังสเปสีเปรตนั้นเป็นคน ฆ่าโค ทำชิ้นเนื้อตากให้แห้งแล้ว เลี้ยงชีวิตด้วยการขายเนื้อแห้งหลายปี. ด้วยเหตุนั้น เวลาเคลื่อนจากนรก เขาจึงได้มีนิมิต คือ ชิ้นเนื้อนั่นเอง เขาจึง เกิดเป็นมังสเปสีเปรต.

[เรื่องมังสปิณฑเปรต]

ในเรื่องมังสปิณฑเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- มังสปิณฑเปรตนั้นเป็น นายพรานนกจับนกได้แล้ว เวลาขาย ได้ทำการถอนขนปีกและหนังออกหมด ให้เป็นเพียงก้อนเนื้อแล้ว ขายเลี้ยงชีวิต. ด้วยเหตุนั้น เวลาเคลื่อนจากนรก เขาจึงได้มีนิมิต คือ ก้อนเนื้อเท่านั้น. เขาจึงเกิดเป็นมังสปิณฑเปรต.

[เรื่องนิจฉวีเปรต]

ในเรื่องนิจฉวีเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- นิจฉวีเปรตนั้น เป็นคนฆ่าแพะ ฆ่าแพะแล้วถลกหนัง เลี้ยงชีวิต จึงได้มีนิมิต คือ ร่างแพะปราศจากหนัง ตามนัยก่อนนั่นแล เขาจึงได้เกิดเป็นนิจฉวีเปรต.

[เรื่องอสิโลมเปรต]

ในเรื่องอสิโลมเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- อสิโลมเปรตนั้นเป็นคนฆ่า สุกร ใช้ดาบฆ่าสุกรทั้งหลายอันตนปรนปรือด้วยเหยื่อสิ้นกาลนาน แล้วเลี้ยง


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 654

ชีวิตมาตลอดราตรีนาน. เขาจึงได้มีนิมิต คือ ภาวะของคนที่เงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นอสิโลมเปรต.

[เรื่องสัตติโลมเปรต]

ในเรื่องสัตติโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :- สัตติโลมเปรตนั้น เป็นคนล่าเนื้อ พาเอาเนื้อตัวหนึ่งและถือหอกเล่มหนึ่ง ไปป่าแล้ว ใช้หอก แทงเนื้อที่พากันมาสู่ที่ใกล้เนื้อนั้นให้ตาย. เขาจึงได้มีนิมิต คือ ภาวะที่ใช้ หอกแทง, ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นสัตติโลมเปรต.

[เรื่องอุสุโลมเปรต]

ในเรื่องอุสุโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :- บทว่า การณิโก ความว่า เป็นบุรุษผู้เบียดเบียนพวกคนผู้ผิดต่อพระราชา ด้วยเหตุทั้งหลาย เป็นอันมาก ลงท้ายใช้ลูกศรยิงให้ตาย. ได้ยินว่า เขาทราบก่อนว่า คนถูกยิง ส่วนโน้นจึงจะคาย ดังนี้ แล้วจึงยิง. เขานั่นเองเลี้ยงชีวิตแล้วบังเกิดในนรก ในเวลาเกิดในเปรตวิสัยนี้ ได้มีนิมิตคือภาวะที่ใช้ศรยิง ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จากนรกนั้น. ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นอุสุโลมเปรต.

[เรื่องสูจิโลมเปรต]

ในเรื่องสูจิโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :- บทว่า สารถิ คือ เป็นคนฝึกม้า ในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า เป็นคนฝึกโค ดังนี้บ้าง เขาได้มีนิมิต คือ ภาวะที่แทงด้วยเข็มปฏัก. เขาจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.

[เรื่องสูจิโลมเปรตที่ ๒]

ในเรื่องสูจิโลมเปรตเรื่องที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :- บทว่า สูจีโก คือ เป็นคนทำการส่อเสียด ได้ยินว่า เขาทำลายมนุษย์ทั้งหลายและ พวกเดียวกัน และยุยงในราชตระกูลว่า คนนี้มีความผิดชื่อ คนนี้ทำผิดชื่อนี้


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 655

ดังนี้ , ครั้นยุยงแล้ว ทำให้ถึงความพินาศวอดวาย. ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็น สูจิโลมเปรต เพราะทำนิมิต คือ กรรม เพื่อการเสวยทุกข์จากการทำลายด้วย เข็มทั้งหลาย เหมือนอย่างที่เขาทิ่มแทงทำลายพวกมนุษย์ ฉะนั้น.

[เรื่องอัณฑภารเปรต]

ในเรื่องเปรตแบกลูกอัณฑะ พึงทราบต่อไป :- บทว่า คามกูโฏ คือ เป็นอำมาตย์ผู้ตัดสินความ. สัตว์นั้นได้มีอัณฑะเท่าหม้อ คือ มีขนาดเท่า หม้อใหญ่ เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม. ด้วยว่า สัตว์นั้น เพราะเหตุที่รับสินบน ในสถานที่ลับปกปิด เมื่อจะทำโทษให้ปรากฏ ด้วยการตัดสินความโกง ได้ กระทำพวกเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ ; เพราะฉะนั้น อวัยวะลับของสัตว์นั้น จึงบังเกิดปรากฏ. เพราะเหตุที่สัตว์นั้น เมื่อเริ่มตั้งอาญา ได้ยกของหนักอัน ไม่ควรจะทนได้ ให้แก่ชนเหล่าอื่น ; เพราะฉะนั้น อวัยวะลับของสัตว์นั้น จึงบังเกิดเป็นของหนักอันไม่ควรจะทน. เพราะเหตุที่สัตว์นั้นดำรงอยู่ใน ตำแหน่งใด ควรจะเป็นผู้สม่ำเสมอ, แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งนั้นแล้ว หาได้ เป็นผู้สม่ำเสมอไม่ ; ฉะนั้น สัตว์นั้น จึงได้มีการนั่งไม่สม่ำเสมอบนอวัยวะลับ.

[เรื่องปรทาริกเปรต]

ในเรื่องเปรตผิดเมียท่าน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- สัตว์นั้น เมื่อ สัมผัสผัสสะที่มีเจ้าของที่เขาคุ้มครองรักษาแล้วของคนอื่น ยังจิตให้รื่นรมย์ด้วย ความสุขในกามอันเป็นความสุขในอุจจาระ จึงบังเกิดในเปรตวิสัยนั้น เพื่อจะ สัมผัสผัสสะ เป็นคูถ เสวยทุกข์ เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 656

[เรื่องเปรตพราหมณ์ชั่ว]

ในเรื่องพราหมณ์ชั่ว พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ (๑) :-

เพราะชื่อว่า มาตุคาม ไม่เป็นอิสระในผัสสะของตน , แต่หญิงนั้น ขโมยผัสสะของสามีนั้น ยังความอภิรมย์ให้เกิดแก่คนเหล่าอื่น : ฉะนั้น จึงได้ บังเกิดเป็นหญิงเปรตปราศจากผิว เพื่อกำจัดสัมผัสเป็นสุขนั้นเสียแล้ว เสวย. สัมผัสเป็นทุกข์ เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม.

[เรื่องมังคุลีหญิงเปรต]

ในเรื่องมังคุลีหญิงเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า มงฺคุฬี ได้แก่ มีรูปผิดไป คือ มองดูน่าชัง น่าเกลียด. ได้ยินว่า หญิงนั้นทำหน้าที่ เป็นแม่มด คือ หน้าที่เป็นทาสีของยักษ์ กล่าวว่า เมื่อทำพลีกรรมอย่างนี้ ด้วยสิ่งนี้และสิ่งนี้ ความเจริญของพวกท่าน ชื่อนี้จักมี ดังนี้ แล้วถือเอาของหอม และดอกไม้เป็นต้น ของมหาชนด้วยการล่อลวงยังมหาชนให้ยึดถือมิจฉาทิฏฐิ อันเป็นทิฏฐิชั่ว. เพราะฉะนั้น หล่อนจึงเกิดเป็นนางเปรตมีกลิ่นเหม็น เพราะ ขโมยของหอมและดอกไม้เป็นต้น เป็นนางเปรตมองดูน่าชัง ผิดรูป น่าเกลียด เหตุให้มหาชนยึดถือความเห็นชั่ว เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรมนั้น.

[เรื่องโอกิลินีหญิงเปรต]

เรื่องโอกิลินีหญิงเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อุปกฺกํ โอกิลินึ โอกีรณึ มีความว่า ได้ยินว่า นางเปรตนั้น นอนอยู่บนเชิงตะกอน ถ่านเพลิง ดิ้นพลิกไปมาถูกไฟไหม้ ; เพราะฉะนั้น นางจึงเป็นผู้ถูกไฟครอก มีสรีระสุกด้วยไฟกรด มีน้ำเหงื่อหยด มีสรีระเปียก คือหยาดน้ำเหงื่อทั้งหลาย ย่อมหลั่งออกจากสรีระของนางเปรตนั้น และมีถ่านเพลิงเกลื่อนกล่น คือ


(๑) ในเรื่องนี้ ไม่มีอธิบาย อาจจะตกไปก็เป็นได้, เลยไปอธิบายเรื่องหญิงเปรตถัดไป.


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 657

เกลื่อนกล่นด้วยถ่านเพลิง. ด้วยว่าถ่านเพลิงทั้งหลาย มีสีดังดอกทองกวาว ย่อมตกแม้จากเบื้องล่างของนางเปรตนั้น ถ่านเพลิงทั้งหลาย ย่อมตกแม้ในช้าง ทั้ง ๒ แม้จากอากาศในเบื้องบนของนางเปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ถูกไฟครอก น้ำเหงื่อหยด มีถ่านเพลิงเกลื่อนกล่น. นางนั้นเป็นคนขี้หึง เอากระทะถ่านเพลิงราดหญิงร่วมผัว. ได้ยินว่า นางระบำคนหนึ่งของพระราชา พระองค์นั้น วางกระทะถ่านเพลิงไว้ในที่ใกล้ เช็ดน้ำจากตัวและอบด้วยฝ่ามือ. พระราชาทรงสนทนากับนางระบำนั้น และทรงแสดงอาการโปรดปรานมากไป. พระอัครมเหสีทรงทนดูเหตุการณ์นั้นไม่ไหว ทรงหึง เมื่อพระราชาเสด็จออก ไปไม่ทันนาน ก็ทรงหยิบกระทะถ่านเพลิงนั้น ราดถ่านเพลิงลงเบื้องบนนาง ระบำนั้น. พระนางทำกรรมนั้นแล้ว บังเกิดในเปตโลก เพื่อเสวยวิบาก เช่นนั้นนั่นแล.

[เรื่องโจรฆาตเปรต]

ในเรื่องโจรฆาตเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- เพชฌฆาตโจรนั้น ตัดศีรษะพวกโจรมาช้านาน ตามคำสั่งของพระราชา เมื่อบังเกิดในเปตโลก จึงได้บังเกิดเป็นตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ.

[เรื่องพระภิกษุเปรตเป็นต้น]

ในเรื่องภิกษุ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า ปาปภิกฺขุ คือ เป็น ภิกษุลามก. ได้ยินว่า ภิกษุนั้น บริโภคปัจจัย ๔ ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ ชาวโลก เป็นผู้ไม่สำรวมทางกายทวารและวจีทวาร มีอาชีพอันทำลายแล้ว เที่ยวเล่นสนุกสนานตามชอบใจ. ภายหลังถูกไฟไหม้อยู่ในนรก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง เมื่อเกิดในเปตโลก ก็บังเกิดด้วยอัตภาพเช่นกับภิกษุนั่นแหละ.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 658

แม้ในเรื่องภิกษุณี เรื่องสิกขมานา เรื่องสามเณร เรื่องสามเณรีเปรต ก็ วินิจฉัยนี้เหมือนกัน.

[เรื่องแม่น้ำตโปทา]

ในเรื่องแม่น้ำตโปทา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อจฺโฉทโก แปลว่า มีน้ำใส.

บทว่า สีโตทโก แปลว่า มีน้ำเย็น.

บทว่า สาโตทโก แปลว่า มีน้ำรสอร่อย

บทว่า เสโตทโก แปลว่า มีน้ำบริสุทธิ์ คือ ไม่มีสาหร่ายแหน และเปือกตม.

บทว่า สุติฏฺโ คือ เช้าถึงแล้วด้วยท่าทั้งหลายที่ดี.

บทว่า รมณีโย แปลว่า น่าให้เกิดความยินดี.

บทว่า จกฺกมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณเท่าล้อรถ.

ข้อว่า กุฏฺิตา สนฺทติ ความว่า เป็นแม่น้ำร้อนจัด เดือดพล่าน ไหลไปอยู่.

บทว่า ยตายํ ภิกฺขเว ตัดบทเป็น ยโต อยํ ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ใด ... ?

บทว่า โส ทโห แปลว่า ห้วงน้ำนั้น.

ถามว่า ก็แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ไหน?

แก้ว่า ได้ยินว่า ภายใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีภพนาคประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ของพวกนาคผู้อยู่บนภาคพื้น เช่นกับเทวโลกประกอบด้วยพื้นอันสำเร็จ ด้วยแก้วมณี และด้วยอาราม และอุทยาน. ห้วงน้ำนั้น อยู่ในที่เล่นของพวกนาค ในภพนาคนั้น. แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ห้วงน้ำนั้น.


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 659

ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง มหาโลหกุมภีนรก ๒ ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.

[เรื่องการรบ]

ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่ ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.

ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีผีมือชำนาญ ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้เห็นพระราซาทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.

คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.

[เรื่องช้างลงน้ำ]

ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.

บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.

บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.

ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 660

ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้าสอดงวง เข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.

คำว่า สทฺทํ อสฺโสสึ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.

ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์. ได้ยินว่า พระเถระ ในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตตผลในวันนั้น ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง ในสมาบัติ ๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นช้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่ว แน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออก และ การพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมาธินั่น มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล ไม่บริสุทธิ์.

[เรื่องพระโสภิตะ]

ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อหํ อาวุโส ปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ ความว่า พระเถระกล่าวว่า เรา ระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้นๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่างๆ กัน โดยลำดับ ของ พระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ. แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงยกโทษ.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 661

ข้อว่า อตฺเถสา ภิกฺขเว โสภิตสฺส สา จ โข เอกาเยว ชาติ ความว่า ชาติที่โสภิตะกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ดังนี้ ของโสภิตะ มีอยู่, ก็แล ชาตินั้นมีเพียงชาติเดียวเท่านั้น อธิบายว่า โสภิตะ มิได้ระลึกโดยผิดลำดับ ไม่ติดต่อกัน.

ถามว่า พระโสภิตะนี้ระลึกชาติได้อย่างไร?

แก้ว่า ได้ยินว่า พระโสภิตะนี้ บวชในลัทธิเดียรถีย์ ยังสัญญีสมาบัติ ให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมทำกาละแล้ว บังเกิดในอสัญญีภพกว่า ๕๐๐ กัป. ท่านอยู่โนอสัญญีภพนั้นตราบเท่าชนมายุในที่สุด อุบัติในมนุษยโลก แล้วบวชในพระศาสนาได้ทำวิชา ๓ ให้แจ้ง ท่านเมื่อระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อน เห็นปฏิสนธิในอัตภาพนี้ ต่อจากนั้น ได้เห็นเฉพาะจุติใน อัตภาพที่ ๓. ลำดับนั้นท่านไม่อาจระลึกถึงอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและ ปฏิสนธิทั้ง ๒ ได้ จึงได้กำหนดโดยนัยว่า เราบังเกิดในอสัญญีภพแน่นอน. พระโสภิตเถระนั้น กำหนดได้อยู่อย่างนี้ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก เหมือนกับ แยงปลายแห่งขนทรายที่ผ่าเป็น ๗ ส่วนเข้ากับปลาย เหมือนกับการแสดงรอย เท้าในอากาศ ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ไนตำแหน่ง เลตทัคคะ ในเพราะเรื่องนี้นั่นแหละว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บรรดา ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยในกาลก่อน โสภิตะนี้ เป็นเลิศ (๑) ดังนี้.

[บทสรุปปาราซิก]

คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม คือ ปาราชิก ๔ ข้าพเจ้ายกขึ้นสวดแล้วแล นี้ เป็นคำแสดงถึงปาราชิกที่ยกขึ้นแสดงใน


(๑) องฺ เอก. ๒๐/๓๒


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 662

ปาราชิกุทเทสนี้นั่นแล. แต่ประมวลกันเข้าแล้ว พึงทราบปาราชิกทั้งหมด ทีเดียว ว่ามี ๒๔ อย่าง. ๒๔ อย่าง คืออะไรบ้าง? คือ ที่มาในพระบาลี ๘ อย่างก่อน คือของพวกภิกษุ ๔ เฉพาะของพวกนางภิกษุณี ๔. อภัพบุคคล ๑๑ จำพวก. บรรดาอภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านั้น บัณเฑาะก์ สัตว์ ดิรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก เป็นพวกอเหตุกปฏิสนธิ จัดเป็น พวกวัตถุวิบัติ. พวกวัตถุวิบัติเหล่านั้น ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรค. จริงอยู่ บัณเฑาะก์เป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นอภัพบุคคลสำหรับการได้มรรค เพราะเป็นพวกวัตถุวิบัติ ถึงการบรรพชาสำหรับพวกเขา ก็ทรงห้ามไว้. เพราะฉะนั้น บัณเฑาะก์เป็นต้นแม้เหล่านั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ (เป็นปาราชิก). บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ คนฆ่ามารดา คน ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี คนทำโลหิตุปบาท ภิกษุผู้ทำสังฆเภท ชื่อว่าถึงฐานะเป็นอภัพบุคคล เพราะเป็นผู้วิบัติ ด้วยการ กระทำของคน เพราะฉะนั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ด้วย. บรรดาบุคคล ๘ จำพวกนั้น สำหรับบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สามเณร ผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรคแท้. อีก ๕ จำพวก ถูกห้ามแม้ทั้ง ๒ อย่าง. เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นจำพวกสัตว์ที่จะต้องเกิด ในนรก ไม่มีระหว่าง. อภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านี้ และบุคคลผู้เป็น ปาราชิก ๘ ข้างต้น จึงรวมเป็น ๑๙ ด้วยประการฉะนี้ แม้บุคคลเหล่านั้น รวมกับนางภิกษุณีผู้ยังความพอใจให้เกิดในเพศคฤหัสถ์ แล้วนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ จึงรวมเป็น ๒๐. จริงอยู่ นางภิกษุณีนั้น ถึงจะไม่ได้กระทำการล่วงละเมิด ด้วยอัชฌาจาร ก็จัดว่า ไม่เป็นสมณีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ; เพราะเหตุนั้น ปาราชิกเหล่านี้ จึงมี ๒๐ ก่อน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อนุโลมปาราชิก


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 663

แม้อย่างอื่น ยังมีอีก ๔ ด้วยอำนาจภิกษุ ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ภิกษุมีองค์ กำเนิดยาว (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม จึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางวัจจมรรค ของคน) ๑ ภิกษุมีหลังอ่อน (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม ก้มลงอมองค์ กำเนิดของตน) ๑ ภิกษุเอาปากอมองค์กำเนิดของผู้อื่น ๑ ภิกษุนั่งสวมองค์ กำเนิดของผู้อื่น ๑. ก็เพราะเหตุที่ธรรมของคน ๒ คน ผู้เข้าถึงความเป็น เช่นเดียวกัน ด้วยอำนาจราคะ ตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม ; ฉะนั้น ปาราชิก ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมอนุโลมแก่เมถุนธรรมปาราชิก โดยปริยายนี้ เพราะ ภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ถึงจะไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ก็พึงต้องอาบัติได้ ด้วย อำนาจการยังมรรคให้เข้าไปทางมรรคอย่างเดียว ; เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อนุโลมปาราชิก ฉะนี้แล. พึงประมวลอนุโลมปาราชิก ๔ เหล่านี้ และปาราชิก ๒๐ ประการข้างต้นเข้าด้วยกันแล้ว ทราบปาราชิกทั้งหมดทีเดียว ว่ามี ๒๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้

ข้อว่า น ลภติ ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวาสํ มีความว่า ย่อมไม่ได้สังวาส ต่างโดยประเภท มีอุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรมกับด้วย ภิกษุทั้งหลาย.

ข้อว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา มีความว่า ในกาลก่อน คือ ใน เวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาที่ยังมิได้อุปสมบท (ย่อมเป็นผู้ไม่มีสังวาส) ฉันใด, ภายหลังแม้ต้องปาราชิกแล้ว ก็เป็นผู้ไม่มีสังวาส ฉันนั้นเหมือนกัน. สังวาส ต่างโดยประเภทมี อุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทส และสังฆกรรม กับ ด้วยภิกษุทั้งหลาย ของภิกษุนั้น ไม่มี; เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า ย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลาย.


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 664

ข้อว่า ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ มีความว่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน ทั้งหลาย ในปาราชิก ๔ เหล่านั้นว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ?

บทว่า กจฺจิตฺถ ตัดบทว่า กจฺจิ เอตฺถ มีความว่า ในปาราชิก ๔ เหล่านี้ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ?

อีกประการหนึ่ง สองบทว่า กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา มีความว่า ท่าน ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ? บทที่เหลือทุกๆ แห่งมีเนื้อความตื้น ทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จตุตถปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

[อธิษฐานคาถาของท่านผู้รจนา]

ขอพระสัทธรรม จงดำรงอยู่สิ้นกาลนาน ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล ยังหมู่ สัตว์ให้เอิบอิ่ม สิ้นกาลนาน ขอพระราชา จงปกครองแผ่นดิน โดยธรรมเทอญ.