[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 84
๕. ทันตภูมิสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 84
๕. ทันตภูมิสูตร
[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะอยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงพระดําเนินทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลําดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะ ครั้นแล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับสมณุทเทสอจิรวตะ. ครั้นผ่านคําทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๓๘๙] พระราชกุมารชยเสนะ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่งกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วพึงสําเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้.
สมณุทเทสอจิรวตะถวายพระพรว่า ดูก่อนพระราชกุมาร ข้อนั้นถูกต้องแล้วๆ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว พึงสําเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้.
ร. ดีแล้ว ขอท่าอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๓๙๐] อ. ดูก่อนพระราชกุมาร อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ได้ เพราะถ้าอาตมาภาพพึงแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ และพระองค์ไม่ทรงทราบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 85
อรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยาก จะเป็นความลําบากของอาตมภาพ.
ร. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้.
อ. ดูก่อนพระราชกุมาร อาตมภาพจะพึงแสดงธรรมตามที่ได้สดับตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้นั้นเป็นความดี ถ้าไม้ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดํารงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่ควรเถิดอย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย.
ร. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั้นเป็นความดี ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจักดํารงอยู่ในภาวะของตนตามที่ควรข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่านอัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป.
ว่าด้วยการเข้าไปเฝ้าพระผู้มีประภาคเจ้า
[๓๙๑] ลําดับนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับตามที่ได้ศึกษามาแก่พระราชกุมารชยเสนะ เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกล่าวแล้วอย่างนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วพึงสําเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสแต่สมณุทเทสอจิรวตะแล้วทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 86
ครั้งนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะ เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเรื่องราวเท่าที่ได้สนทนากับพระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๙๒] เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทําให้แจ้งกัน ได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทําให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.
[๓๙๓] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึกหรือโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่เขาฝึกดี หัดดีแล้ว อีกคู่หนึ่งเขาไม่ได้ฝึกไม่ได้หัดเลย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาฝึกดี หัดดีแล้วนั้น อันเขาฝึกแล้ว จึงเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สําเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้ ใช่ไหม.
อ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ส่วนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึกไม่ได้หัดแล้วนั้น อันเขาไม่ได้ฝึกเลย จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้วสําเร็จภูมิที่ฝึกแล้ว เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดี หัดดีแล้วนั้น ได้ไหม.
อ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 87
พ. ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทําให้แจ้งกัน ได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทําให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มิได้.
ว่าด้วยอุปมาภูเขาใหญ่
[๓๙๔] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือกันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้น แล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้น อย่างนี้ว่าแน่ะเพื่อนเท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอย เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาคและสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย สหายที่ยืนบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ในรูปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว เอ่ยถามสหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอย เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาคและสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อนเราเพิ่งรู้คําที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา แล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ. ไม่ใช่โอกาสเลย เดี๋ยวนี้เอง และสหายคนขึ้นไปที่หลังก็พูดว่า เราก็เพิ่งรู้คําที่ท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 88
กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาคและสระโบกขรณีที่น่ารื่นรนย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า สหายเอย ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่ยีงกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแลยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามจักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทําให้แจ้งซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทําให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนอัคคิ-เวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้ จะพึงทําเธอให้แจ่มแจ้งเพื่อพระราชกุมารชยเสนะได้พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใสแล้วจะพึงทําอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา ๒ ข้อนี้ จักแจ่มแจ้ง กะข้าพระองค์ต่อพระกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันไม่น่าอัศจรรย์ ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเลย.
ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าง
[๓๙๕] พ. ดูก่อนอัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานนาควนิก (ควาญคล้องช้างป่า) มารับสั่งว่า มานี่แน่ะพ่อพรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้องมันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด พรานนาควนิกรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอช้างหลวง ช้างหลวงจึงนําช้างป่านั้น ออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ดูก่อนอัคคิเวสสนะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 89
เพียงเท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือป่าช้างอยู่ พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชามหากษัตริย์จึงตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดําริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลําบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการเถิด ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดําริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลําบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสําเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับอาหารคือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดําริอย่างนี้ว่า คราวนี้ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้นทําการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคําว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทําตามคํา รับทําตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทําการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคําว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทําตามคํา รับทําตามโอวาทของควาญช้างในการรุกและการถอยควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทําการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคําว่า ยืนพ่อ เทาพ่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 90
ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทําตามคํา รับทําตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการเทา ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทําการณ์ชื่ออาเนญชะ (ฝึกกลลวง ทำเป็นไม่เคลื่อนไหว) ยิ่งขึ้น คือผูกโล่ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้นถูกควาญช้างให้ทําการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อนไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู. ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศรและเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์สังข์ และกลองเล็ก กําจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความนับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติของพระราชา ฉันใด.
ว่าด้วยพระพุทธคุณ
[๓๙๖] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหมทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นพึงแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 91
ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนําเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สํารวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ. ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สํารวมด้วย ปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนําเธอให้ยิ่งขี้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ (๑) เธอครั้นละนิวรณ์๕ ประการ อันเป็นเครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ทําปัญญาให้ถอยกําลังนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
๑. เหมือนข้อ ๙๕ ถึงข้อ ๙๙
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 92
[๓๙๗] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดําริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลําบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความดําริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลําบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง.
ว่าด้วยจตุสติปัฏฐานเป็นต้น
[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนําเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกายจงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิตจงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรมเธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้า ตติยฌาน... ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.
[๓๙๙] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 93
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ (๑) เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.
[๔๐๐] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย มองเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ๒ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้.
[๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ. เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๔๐๒] ภิกษุนั้น เป็นผู้อดทน คือ มีปกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อถ้อยคํา คําพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจํา
๑. เหมือนข้อ ๒๔ ฯ ๒. เหมือนข้อ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 94
สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสําราญ ไม่เป็นที่ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ เธอเป็นผู้กําจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้หมดกิเลส เพียงดังน้ำฝาดแล้ว เป็นผู้ควรแก่ของคํานับ ควรแก่ของต้อนรับควรแก่ทักขิณาทาน ควรแก่การกระทําอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาแห่งอื่นเปรียบมิได้.
ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าไม่ได้ฝึก
[๔๐๓] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทํากาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทํากาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทํากาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทํากาละตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทํากาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ ทํากาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก.
[๔๐๔] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลงก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทํากาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 95
เถระทํากาละตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุมัชฌิมะสิ้นอาสวะแล้ว ทํากาละลง ก็ถึงความนับว่าภิกษุมัชฌิมะทํากาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้วทํากาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทํากาละ ตายอย่างฝึกแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบทันตภูมิสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 96
อรรถกถาทันตภูมิสูตร
ทันตภูมิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรฺกุฏิกายํ (กระท่อมในป่า) ได้แก่ในเสนาสนะที่เขาสร้างไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้บําเพ็ญเพียร ในที่ซึ่งเงียบสงัดแห่งหนึ่งของพระวิหารเวฬุวันนั้นแล. บทว่า ราชกุมาโร (ราชกุมาร) หมายถึงพระราชกุมารชยเสนะผู้เป็นราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร.
บทว่า ผุเสยฺย (พึงสัมผัส) แปลว่า พึงได้. บทว่า เอกคฺคตํ (เอกัคคตา) ความว่า พระราชกุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมได้สมาบัติ ชื่อว่าย่อมได้ฌาน. บทว่า กิลมโถ (ความยาก) ได้แก่ ความลําบากกาย. ความลําบากนั่นแหละเรียกว่า วิเหสา (ความลำบาก) บ้าง. บทว่า ยถาสเก ติฏฺเยฺยาสิ (ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่ควรเถิด) ความว่า ขอพระองค์พึงดํารงอยู่ในส่วนที่ไม่รู้ของพระองค์เถิด.
บทว่า เทเสสิ (ได้แสดง) ความว่า ย่อมได้อย่างนี้ คือ ได้จิตเตกัคคตาได้แก่ย่อมยังสมาบัติให้เกิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอัปปนาสมาธิแต่อุปจารสมาธิแล้ว จึงกล่าวกสิณบริกรรมอย่างนี้. บทว่า ปเวทตฺวา แปลว่า ประกาศแล้ว.
บทว่า เนกฺขมฺเมน าตพฺพํ (เขารู้... ด้วยเนกขัมมะ) ความว่า พึงรู้ด้วยคุณคือบรรพชาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม. ข้อนั้นท่านกล่าวไว้โดยอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า เอกคฺคตา อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณคือบรรพชาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากกามพึงรู้. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของ บทว่า าตพฺพํ นั้นแหละ. บทว่า กาเมปริภฺุชนฺโต (ยังบริโภคกาม) ได้แก่บริโภคกามแม้ทั้งสองอย่าง.
บทว่า หตฺถิทมฺมา วา อสฺสทมฺมา วา โคทมฺมา วา (ช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก) นี้ มีอธิบายว่า บุคคลผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 97
ช้างที่ยังไม่เคยไค้รับการฝึกเป็นต้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึกช้างที่เคยฝึกแล้วเป็นต้น. เปรียบเหมือนสัตว์พาหนะมีช้างเป็นต้น ที่ยังไม่ได้รับการฝึก ย่อมไม่สมควรจะไปสู่สนามฝึกหรือถึงภูมิภาคอันสัตว์ผู้ฝึกแล้วพึงถึง โดยไม่ต้องทําเรือนยอด ไม้ต้องทอดทิ้งธุระฉันใด บุคคลที่ปราศจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ก็ฉันนั้น ย่อมไม่สามารถที่จะยังคุณอันบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยเอกัคคตาจิตให้เกิดแล้ว ให้เกิดขึ้น
บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน แปลว่า จูงมือกันไป. บทว่า ทิฏเยฺยํ แปลว่า ควรดู. บทว่า อาวุโฏ แปลว่า ปิดกั้นไว้. บทว่า นิวุโฏ แปลว่าบังไว้. บทว่า โอผุโฏ แปลว่า คลุมไว้แล้ว.
บทว่า นาควนิกํ (พรานนาควนิก) ความว่า ในหัตถิปโทปมสูตร ท่านเรียกบุรุษผู้เที่ยวไปในนาควันว่า นาควิโก. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า บุรุษผู้ฉลาดในการฝึกช้าง ย่อมสามารถจะคล้องช้างได้. บทว่า อติปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแล้ว.บทว่า เอตฺถ เคธา (ห่วงถิ่น) ได้แก่ ความห่วงที่เป็นไปในนาควันนั้น. บทว่า สรสงฺกปฺปานํ แปลว่า ความดําริพล่าน. ในบทว่า มนุสฺสกนฺเตสุ สีเลสุสมาทปนาย (ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ) มีอธิบายว่า ในเวลาใด สตรีและบุตร กุมารกุมารี จับที่งวงเป็นต้น เล่นหัวอยู่ด้วย ช้างไม่แสดงอาการผิดปกติ คืออยู่อย่างสบาย ในเวลานั้น ช้างนั้น ชื่อว่า ย่อมบรรเทิงใจ ตามปกติที่มนุษย์ต้องการ.
บทว่า เปมนียา (ชวนให้รักใคร่) ได้แก่ พูดว่า พ่อคุณ พระราชาโปรดพ่อแล้ว จักแต่งตั้งพ่อไว้ในตําแหน่งมงคลหัตถีทีเดียว พ่อจักได้ของกินดีๆ มีโภชนะเป็นต้นที่คู่ควรแก่พระราชา คําพูดเห็นปานนี้ เป็นคําพูดที่ช้างรัก. บทว่า สุสฺสุสติ (จึงสำเหนียกด้วยดี) ความว่า ช้างย่อมประสงค์จะฟังถ้อยคําที่น่ารักเห็นปานนั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 98
ติณฆาโสทกํ (อาหารคือหญ้าและน้ำ) ได้แก่ เพิ่มอาหารคือหญ้าและน้ำ. บทว่า ติณฆานํ แปลว่าหญ้าที่พึงเคียว อธิบายว่า หญ้าที่พึงกิน.
บทว่า ปณฺฑโว แปลว่า มโหระทึก. บทว่า สพฺพวงฺกโทสนิหิ-ตนินฺนิตกสาโว (กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ) ได้แก่ ทั้งกําจัดโทษคือความคดโกงทุกอย่างได้ด้วย ทั้งหมดพยศด้วย. บทว่าองฺคนฺเตว สํ ขฺยํ คจฺฉติ (ย่อมถึงความนับว่า... เป็นองค์สมบัติ) ความว่าย่อมจัดเป็นองคสมบัติ.บทว่า เคหสิตสีลานํ (ปกติอันอาศัยบ้าน) ได้แก่ศีลที่อาศัยกามคุณ ๕. บทว่า ายสฺส (ญายธรรม) ได้แก่อัฏฐังคิกมรรค.
ในบทว่า อทนฺตมรณํ มหลฺลโก รฺโ นาโค มโต กาลกโต (ช้างหลวงแก่ล้มตายยังไม่ได้ฝึก) นี้ ได้ความดังนี้ว่า ช้างแก่ของพระราชาล้ม ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ฝึก. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาทันตภูมิสูตรที่ ๕