เมื่อวานได้ฟังธรรมที่ load ไป ที่บอกว่าไม่มีเจ้ากรรมนายเวรที่ส่งผลหรือบันดาลให้กรรมใดๆ ให้ได้ เพราะวิบากนั้นเกิดจากกุศลและอกุศลที่เราได้ล่วงมาแล้วและสุกงอมแล้วจึงให้ผล และก็เป็นจิตกับเจตสิกเองที่กระทำกุศลและอกุศลกรรมนั้นมาก่อน (ถูกหรือเปล่าคะเนี๋ย???)
เลยอยากทราบว่าถ้าเป็นดังนั้นแล้ว การขออโหสิกรรมแก่ผู้ที่เราได้ล่วงเกินแล้ว อย่างก่อนที่จะบวชเป็นพระ ต้องให้ไปขออโหสิกรรมแบบนั้นละคะ ตรงตามพระพุทธศาสนาหรือเปล่า และจริงๆ แล้วในครั้งพุทธกาลมีการขออโหสิกรรมกันไหม อย่างไรและเพื่อประโยชน์อะไรคะ
ขอบคุณค่ะ
ควรทราบการขอขมา หรือขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้ แก่ผู้ที่เราได้ล่วงเกินแล้ว เพื่อการสำรวมระวังในกาลต่อไป เป็นความเจริญในอริยวินัย การกระทำดังกล่าวเพื่อมิให้เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมเบื้องสูงในชาตินี้ แต่มิใช่ให้กรรม การกระทำทั้งหมดเป็นอโหสิกรรม คือ กรรมที่กระทำสำเร็จไปแล้วเมื่อสบโอกาส ย่อมส่งผลดังนั้นการขอขมา การขอให้ผู้ใหญ่ที่เราเคยล่วงเกิน ด้วยกาย วาจา ที่ไม่สมควรให้ท่านยกโทษให้ เป็นการกระทำที่สมควร แม้แต่ท่านพระสารีบุตรตอนที่ทูลลาปรินิพพานท่านก็ขอให้พระพุทธองค์ และขอให้ภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านอดโทษให้ดังข้อความในอรรถกถาจุนทสูตรดังนี้
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... พระสารีบุตรลาปรินิพพาน [จุนทสูตร]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 571 ข้อความบางตอนจาก ปฐมโอวาทสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล พวกเธอมา เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นเราทั้งหลายขอรับโทษนั้นของเธอเหล่านั้น ก็การที่บุคคล เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม และถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า
ในครั้งพุทธกาล ถ้าเป็นภิกษุปุถุชน ด่าว่าภิกษุที่เป็นพระโสดาบัน มีโทษมาก ถ้าไม่ขมาหรือให้ท่านอดโทษให้ ก็เป็นเครื่องกั้น มรรค ผล นิพพานค่ะ แต่ถ้าคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบัน ด่าว่าภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ขอโทษ ก็จะเป็นเครื่องกั้นในชาตินั้น ที่จะไม่สามารถบรรลุ มรรค ผล เบื้องสูงขึ้นไปอีกค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ