มรรคญาณนิทเทส
โดย บ้านธัมมะ  24 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40910

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 752

มรรคญาณนิทเทส

อรรถกถามรรคญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 752

มรรคญาณนิทเทส

[๑๔๓] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร?

ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน และวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่า เป็นสมุฏฐานย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่นย่อมออกจากมิจฉาสติ... เป็นมรรคญาณ

ญาณ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 753

ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[๑๔๔] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[๑๔๕] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 754

[๑๔๖] ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตรฌานว่าเป็นฌาน บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว เพราะทิฏฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น สมถะแลวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 755

ความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกัน แห่งวิโมกข์เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

อรรถกถามรรคญาณนิทเทส

๑๔๓] พึงทราบวินิจฉัยในมรรคญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาทิฏฐิ คือ ออกจากมิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ด้วยสมุจเฉทโดยการละทิฏฐานุสัย คือ ทิฏฐิที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน.

บทว่า ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ - จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น ได้แก่ จากกิเลสหลายๆ อย่างที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิอันเกิดขึ้น ด้วยสามารถการประกอบกับมิจฉาทิฏฐิ และด้วยอุปนิสัยคือการนอนเนื่องในมิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ การตั้งอยู่ในที่เดียวกันมี ๒


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 756

อย่าง. คือ ตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และตั้งอยู่ที่เดียวกันด้วยการละ, ชื่อว่า ตเทกฏฺา เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวพร้อมกับทิฏฐินั้น, หรือบุคคลคนเดียวตลอดจนละได้. เพราะว่าเมื่อละทิฏฐิได้กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตอันเป็นอสังขาริกะ ๒ ดวง สัมปยุตด้วยทิฏฐิ, กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตที่เป็นสสังขาริกะ ๒ ดวง ย่อมละได้ด้วยการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน.

เมื่อละกิเลสคือทิฏฐิได้ เมื่อบุคคลคนหนึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐินั้น กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันจะเป็นเหตุไปสู่อบาย ย่อมละได้ ด้วยสามารถการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน.

บทว่า ขนฺเธหิ ได้แก่ ด้วยขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปตามทิฏฐินั้น, ด้วยอรูปขันธ์ ๔ อันตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และด้วยการอยู่ในที่เดียวกันด้วยการละอันเป็นไปตามทิฏฐินั้น, หรือด้วยขันธ์ ๕ พร้อมกับรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน, ด้วยวิบากขันธ์ อันเกิดขึ้นในอนาคต เพราะกิเลสมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเป็นปัจจัย.

บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ - จากสรรพนิมิตภายนอก ได้แก่ จากสังขารนิมิตทั้งปวง อันเป็นภายนอกจากกองกิเลสตามที่กล่าว


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 757

แล้ว.

บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาสังกัปปะ คือ ออกจากมิจฉาสังกัปปะในจิต ๕ ดวง คือ ในจิต ๔ ดวง อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และในจิตสหรคตด้วยวิจิกิจฉาอันจะพึงละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค และในอกุศลจิตที่เหลืออันเป็นเหตุไปสู่อบาย.

บทว่า มิจฺฉาวาจาย วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาวาจา ได้แก่ ออกจากมุสาวาทและจากปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อันเป็นเหตุไปสู่อบาย.

บทว่า มิจฺฉากมฺมนฺตา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉากัมมันตะ ได้ แก่ ออกจากปาณาติบาต อทินนาทาน และมิจฉาจาร.

บทว่า มิจฺฉาอาชีวา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาอาชีวะ ได้แก่ โกหก หลอกลวง ทายลักษณะ เล่นกล ปรารถนาลาภโดยลาภ, อีกอย่างหนึ่ง ออกจากกายกรรม วจีกรรม แม้ ๗ อย่าง มีอาชีวะเป็นเหตุ. พึงทราบการออกจากมิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ โดยนัยกล่าวแล้วในการออกจากมิจฉาสังกัปปะ.

อนึ่ง บทว่า มิจฺฉาสติ ได้แก่ เพียงอกุศลจิตตุปบาทเท่านั้น อันเกิดด้วยอาการตรงกันข้ามกับสติ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 758

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งมรรคเบื้องสูง ดังต่อไปนี้. องค์ของมรรค ๘ มีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเน สมฺมาทิฏฺิ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมได้เหมือนอย่างได้ในปฐมมรรคอันเกิดในปฐมฌาน.

ในบทเหล่านั้นมีอธิบายดังนี้ สัมมาทิฏฐิในปฐมมรรค ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. แม้สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ก็พึงทราบโดยอรรถ คือ การละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น. เมื่อเป็นอย่างนั้นเพราะละทิฏฐิ ๖๒ ได้ในปฐมมรรคนั่นเอง จึงไม่มีทิฏฐิที่ควรละด้วยมรรค ๓ เบื้องสูง

ในทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร? เหมือนยาพิษมีอยู่ หรือจงอย่ามี ยาวิเศษท่านก็คงเรียกว่า อคโท อยู่นั่นเอง ฉันใด, มิจฉาทิฏฐิมิอยู่ หรือจงอย่ามี นี้ก็ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิฉันนั้นนั่น แล. นี้เป็นเพียงชื่อต่างกันเท่านั้น, แต่ความไม่มีกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมถึงได้ใน ๓ มรรคเบื้องสูง, องค์มรรคก็ไม่บริบูรณ์.

เพราะฉะนั้น พึงทำสัมมาทิฏฐิพร้อมด้วยกิจ. องค์มรรคจึงจะบริบูรณ์. พึงแสดงสัมมาทิฏฐิในที่นี้พร้อมด้วยกิจ โดยกำหนดตามมีตามได้. มานะอย่างหนึ่ง อันฆ่าด้วยมรรคที่ ๓ เบื้องสูงยังมีอยู่, มานะนั้นตั้งอยู่ในฐานะของทิฏฐิ, ทิฏฐินี้ย่อมละมานะนั้นได้ เพราะเหตุ นั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 759

จริงอยู่ สัมมาทิฏฐิย่อมละมิจฉาทิฏฐิได้ในโสดาปัตติมรรค. แต่มานะฆ่าด้วยสกทาคามิมรรคมีอยู่แก่พระโสดาบัน. ทิฏฐินั้นย่อมละมานะนั้นได้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ความดำริเกิดพร้อมกับอกุศลจิต ๗ ดวง มีอยู่แก่จิตดวงนั้น. ความวุ่นวายทางองค์ของวาจา ย่อมมีอยู่ด้วยจิตเหล่านั้น, ความวุ่นวายทางองค์ของกายมีอยู่. การบริโภคปัจจัยมีอยู่, ความพยายามเกิดร่วมกันมีอยู่, ความเป็นผู้ไม่มีสติมีอยู่. ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเกิดร่วมกันมีอยู่, เหล่านี้ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะ เป็นต้น.

พึงทราบว่า สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ใน สกทามิมรรค ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะละ มิจฉาสังกัปปะ เหล่านั้นเสียได้. องค์ ๘ พร้อมด้วยกิจย่อมมีได้ในสกทาคามิมรรคด้วยอาการอย่างนี้. มานะที่ฆ่าได้ด้วยอนาคามิมรรคย่อมมีแก่พระสกทาคามี, มานะนั้นย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งทิฏฐิ. สังกัปปะเป็นต้นเกิดร่วมกันกับจิต ๗ ดวง มีอยู่แก่พระสกทาคามีนั้น.

พึงทราบความที่องค์ ๘ พร้อมด้วยกิจมีอยู่ในอนาคามิมรรค ด้วยการละจิตเหล่านั้น. มานะที่ฆ่าด้วยอรหัตตมรรค ย่อมมีอยู่แก่พระอนาคามี, มานะนั้นตั้งอยู่ในฐานะแห่งทิฏฐิ. สังกัปปะเป็นต้น เกิดร่วมกันกับอกุศลจิต ๕ ดวงเหล่านั้นย่อมมีแก่มานะนั้น. พึงทราบ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 760

ความที่องค์ ๘ พร้อมด้วยกิจในอรหัตตมรรค ด้วยการละอกุศลจิตเหล่านั้น.

๑๔๔] บทว่า โอฬาริกา คือ เป็นส่วนหยาบ เพราะความเป็นปัจจัยแห่งการก้าวล่วงกายทวาร และวจีทวาร.

บทว่า กามราคสญฺโชนา คือ สังโยชน์กล่าวคือความยินดีในเมถุน. เพราะกามราคะนั้นย่อมประกอบสัตว์ไว้ในกามภพ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว สัญโญชนะ.

บทว่า ปฏิฆสญฺโชนา ได้แก่ สังโยชน์ คือ พยาบาท เพราะพยาบาทนั้นย่อมเบียดเบียนอารมณ์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฏิฆะ. สังโยชน์เหล่านั้นย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดาน ด้วยอรรถว่า รุนแรง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนุสยา.

๑๔๕] บทว่า อณุสหคตา ได้แก่ ส่วนละเอียดๆ. สหคต ศัพท์ ในบทนี้ลงในความเป็นอย่างนั้น. จริงอยู่ กามราคะและพยาบาทของพระสกทาคามี มีเป็นส่วนน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะเกิดน้อย และเพราะครอบงำไว้ในที่นี้น้อย. กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ เหมือนกิเลสของพาลปุถุชน, ย่อมเกิดเป็นบางครั้งบางคราว. เมื่อเกิดย่อมไม่เกิดย่ำยี ซ่านไปปกปิดทำให้มืดมิดเหมือนของคนพาล. แต่เกิดขึ้นอ่อนๆ มีอาการเบาบางเพราะละได้ด้วยมรรค ๒, ไม่สามารถให้ถึงการก้าวล่วงไปได้. ละกิเลสเบาบาง ได้ด้วยอนาคามิมรรค.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 761

๑๔๖] บทว่า รูปราคา ได้แก่ ความพอใจยินดีในรูปภพ, บทว่า อรูปราคา ความพอใจยินดีใจในอรูปภพ. บทว่า มานา ได้แก่ มีลักษณะยกตน. บทว่า อุทฺธจฺจา - มีลักษณะไม่สงบ.

บทว่า อวิชฺชาย - มีลักษณะบอด. บทว่า ภวราคานุสยา ได้แก่ นอนเนื่องอยู่ในภวราคะอันเป็นไปด้วยรูปราคะและอรูปราคะ.

๑๔๗] บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะพรรณนาถึงมรรคญาณ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อชาตํ ฌาเปติ ดังนี้.

ในบทนั้น หลายบทว่า อชาตํ ฌาเปติ ชาเตน, ฌานํ เตน ปวุจฺจติ - ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเป็นฌาน ความว่า สมังคีบุคคลย่อมเผา คือ ทำลาย ตัดกิเลสนั้นๆ ที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานนั้นๆ อันปรากฏในสันดานของตน, ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวโลกุตระนั้นว่าเป็นฌาน.

บทว่า ฌานวิโมกเข กุสลตา - เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ความว่า สมังคีบุคคลย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่างๆ ที่ละได้แล้วด้วยปฐมมรรค เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานมีวิตกเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยอริยมรรคนั้น และในอริยมรรคอันได้แก่วิโมกข์ ด้วยความไม่ลุ่มหลง. ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน ๑ ลักขณูปนิชฌาน ๑. ฌานมีโลกิยปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนาสังขาร ชื่อว่า ฌาน


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 762

เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งลักษณะอันเป็นสภาวสามัญ. โลกุตระ ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งลักษณะที่จริงแท้ในนิพพาน. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงฌานทั่วไป แม้ด้วยโคตรภูว่า ฌาน เพราะอรรถว่าไม่แตะต้องสภาพอันเป็นลักขณูปนิชฌาน แล้วเผากิเลสโดยไม่ทั่วไป. อนึ่ง ในที่นี้สภาพแห่งวิโมกข์ เป็นสภาพน้อมไปด้วยดีในอารมณ์ คือ นิพพาน และสภาพอันพ้นด้วยดีจากกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า สมาหิตฺวา ยถา เจ ปสฺสติ - ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด ความว่า พระโยคาวจรทำความตั้งจิตมั่นก่อนด้วยสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอัปปนาสมาธิ อุปจารสมาธิ และขณิกสมาธิ แล้วเห็นแจ้งในภายหลัง. เจ ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ - มีอรรถว่ารวบรวม ย่อมรวบรวมวิปัสสนา.

บทว่า วิปสฺสมาโน ตถา เจ สมาทเย - ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงฉันนั้น ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนานี้ เป็นวิปัสสนาเศร้าหมอง ไม่มีความพอใจ, อนึ่ง ชื่อว่าสมถะเป็นสมถะที่ละเอียด มีความพอใจ, เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเมื่อเห็นแจ้ง พึงตั้งจิตอันเศร้าหมองด้วยวิปัสสนานั้น เพื่อความเยื่อใย. อธิบายว่า พระโยคาวจร เมื่อเห็นแจ้งเข้าสมาธิอีก แล้วพึงทำการตั้งใจเหมือนอย่างกระทำวิปัสสนา. เจ ศัพท์ในที่นี้ย่อมรวบรวมการตั้งมั่นไว้. เจ อักษรท่านทำด้วยการเป็นไปตามคาถาประพันธ์, แต่ความก็คือ อักษรนั่นเอง.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 763

บทว่า วิปสฺสนาจ สมโถ ตทา อหุ - สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ความว่า เพราะเมื่อสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กัน ความปรากฏแห่งอริยมรรคย่อมมี, ฉะนั้น การประกอบธรรมทั้ง ๒ นั้น ในกาลใดย่อมมีเพราะสามารถยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น, ในกาลนั้นวิปัสสนาและสมถะได้มีแล้ว, สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเกิดแล้ว. อนึ่ง สมถะและวิปัสสนานั้นย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ชื่อว่า สมานภาคา เพราะอรรถว่าสมถะและวิปัสสนามีส่วนเสมอกัน ชื่อว่า ยุคนัทธา เพราะดุจเทียมคู่กัน, อธิบายว่า มีธุระเสมอกัน มีกำลังเสมอกัน ด้วยอรรถว่าไม่ก้าวล่วงกันและกัน. ส่วนความพิสดารของบทนั้นจักมีแจ้งใน ยุคนัทธกถา.

หลายบทว่า ทุกฺขา สงฺขารา, สุโข นิโรโธติ ทสฺสนํ, ทุภโต วุฏฺิตา ปญฺา ผสฺเสติ อมตํ ปทํ - ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง ย่อมถูกต้องอมตบท ความว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ คือ นิพพานเป็นสุข เพราะเหตุนั้นการเห็นนิพพาน อริยมรรคญาณของผู้ปฏิบัติ ชื่อว่าปัญญาออกจากธรรมทั้ง ๒ นั้น. ปัญญานั้นนั่นแลย่อมถูกต้อง คือ ย่อมได้อมตบท คือ นิพพาน ด้วยถูกต้องอารมณ์. นิพพาน ชื่อว่า อมตํ เพราะเป็นเช่นกับอมตะด้วยอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า อมตํ เพราะนิพพานนั้นไม่มีความตาย ความเสื่อม, ท่านกล่าวว่า ปทํ


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 764

เพราะอรรถว่าย่อมปฏิบัติด้วยปฏิปทาใหญ่ ด้วยความอุตสาหะใหญ่ตั้งแต่ส่วนเบื้องต้น.

บทว่า วิโมกฺขจริยํ ชานาติ - ย่อมรู้วิโมกขจริยา คือรู้ความเป็นไปแห่งวิโมกข์ ด้วยความไม่ลุ่มหลง, ย่อมรู้ด้วยการพิจารณา. พึงทราบวิโมกขจริยาอันมาแล้วในวิโมกขกถาข้างหน้าว่า อริยมรรค ๔ เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์, วิโมกข์ ๔ ออกแต่ทุภโต คือธรรม ๒ วิโมกข์ ๔ อนุโลม แต่ทุภโตวิโมกข์, วิโมกข์ ๔ สงบจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ความพิสดารของวิโมกข์เหล่านั้นมาแล้วในวิโมกขกถา (๑) นั่นเอง.

บทว่า นานตฺเตกตฺถ โกวิโท - พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความเป็นต่างกันและความเป็นอันเดียวกัน คือ เป็นผู้ฉลาดในความต่างและความเป็นอันเดียวกันของวิโมกข์เหล่านั้น. พึงทราบความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งวิโมกข์ คือ การออกจากธรรมทั้ง ๒ อย่าง, ความต่างกัน ด้วยสามารถอริยมรรค ๔, หรือความต่างกันด้วยปรารถนาแห่งอนุปัสนาของอริยมรรค แม้อย่างหนึ่งๆ , ความเป็นอันเดียวกัน ด้วยความเป็นอริยมรรค.


๑. ขุ. ป. ๓๑/๔๗๐ - ๔๗๓.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 765

บทว่า ทวินฺนํ าณานํ กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ ทัสนะและภาวนา.

บทว่า ทสฺสนํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. เพราะว่า โสดาปัตติมรรคนั้นท่านกล่าวว่า ทสฺสนํ - ทัสนะ เพราะเห็นนิพพานก่อน. ส่วนโคตรภูญาณ ย่อมเห็นนิพพานก่อนกว่าก็จริง, ถึงดังนั้นท่านไม่เรียกว่าทัสนะ - เห็น เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรทำ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มาสู่สำนักของพระราชาด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระราชาผู้ประทับบนคอช้างเสด็จมาตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้าพระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า เพราะความที่กิจอันบุคคลพึงกระทำ ตนยังมิได้กระทำฉะนั้น. จริงอยู่ โคตรภูญาณนั้นตั้งอยู่ในที่อาวัชชนะ คือการนึกถึงมรรค.

บทว่า ภาวนา ได้แก่ มรรค ๓ ที่เหลือ. เพราะมรรค ๓ ที่เหลือนั้นย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถภาวนาในธรรมที่เห็นแล้วด้วยปฐมมรรคนั่นเอง, ไม่เห็นอะไรๆ ที่ไม่เคยเห็น, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทสฺสนํ. แต่ภายหลังท่านไม่กล่าวว่า ทวินฺนํ าณานํ - แห่งญาณ ๒ อย่าง เพราะภาวนามรรคยังไม่เสร็จ แล้วกล่าวว่า ฌานวิโมกฺเข กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ หมายถึงผู้ได้โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค, แต่พึงทราบว่า ท่าน


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 766

กล่าวว่า ทวินฺนํ าณานํ กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ๒ อย่าง เพราะภาวนามรรคของผู้ได้อรหัตตมรรคเสร็จแล้ว.

จบ อรรถกถามรรคญาณนิทเทส