๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
โดย บ้านธัมมะ  28 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42316

[เล่มที่ 89] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๕

อนุโลมทุกปัฏฐาน (ต่อ)

๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย 514

๑. เหตุปัจจัย 460/514

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย 517

๑. เหตุปัจจัย 461/517

๒. อารัมมณปัจจัย 462/517

๓. อธิปติปัจจัย 463/519


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 89]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 514

๗๒. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ

ปฏิจจวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๔๖๐] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานธรรม และอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน อาศัยกามุปาทาน. พึงกระทำจักรนัย.

๒. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยอุปาทานธรรม ทั้งหลาย.

๓. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น ทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน, สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย อาศัยทิฏฐุปาทาน.

พึงกระทำจักรนัย.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 515

๔. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ตลอดถึงอัชฌัตติกมหาภูตรูป.

๕. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ- ปัจจัย

คือ อุปาทานธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ ไม่ใช่อุปาทานธรรม.

๖. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อุปาทานธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

๗. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม อาศัย ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ กามุปาทาน อาศัยทิฏฐุปาทาน และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย. พึงกระทำจักรนัย.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 516

๘. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็น อุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอุปาทานิยะ แต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม และอุปาทานธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ ๒.

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอุปาทานธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย.

๙. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม อาศัยธรรมที่เป็น ทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ ไม่ใช่อุปาทานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓, กามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น อุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม และทิฏฐุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ

พึงกระทำจักรนัย.

โดยนัยนี้ อุปาทานทุกะฉันใด ปฏิจจวาระก็ดี สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี สัมปยุตตวาระก็ดี พึงกระทำฉันนั้น ไม่มีแตกต่างกัน, หลักจำแนกวาระต่างกัน.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 517

ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๔๖๑] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของ เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย แก่อุปาทานธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

๒. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วยอำนาจ ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. เหมือนกับ อุปาทานทุกะ ไม่มีแตกต่างกัน มี ๙ วาระ.

๒. อารัมมณปัจจัย

[๔๖๒] ๑. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม เป็น ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 518

คือ เพราะปรารภอุปาทานธรรมทั้งหลาย อุปาทานธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น. มี ๓ วาระ (วาระที่ ๑ - ๒ - ๓)

๔. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วย อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทานแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภทานเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู, พิจารณาโวทาน ฯลฯ กิเลสที่ละ แล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ

บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๕. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ ของอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

สองนัยนอกนี้ เหมือนกับอุปาทานทุกะ.

๗. ธรรมที่เป็นทั้งอุปาทานและอุปาทานิยธรรม และ ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม ที่เป็นอุปาทานและอุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 519

๓. อธิปติปัจจัย

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ เหมือนกับอุปาทานทุกะข้างต้น.

[๔๖๓] ๑. ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ด้วย อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

ให้ทานแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว พิจารณา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทาน เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ โวทาน ฯลฯ

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อธิปติธรรมที่เป็นอุปาทานิยะแต่ไม่ใช่อุปาทานธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 มี.ค. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๕ - หน้า 520

อารัมมณาธิปติก็ดี สหชาตาธิปติก็ดี ทั้งสองอย่างที่เหลือ เหมือนกับอุปาทานทุกะ.

ปัจจัยสงเคราะห์แม้ที่เป็นอธิปติปัจจัย ก็มี ๓ วาระ เหมือนกับ อุปาทานทุกะ.

ปัจจัยทั้งหมดเหมือนกับอุปาทานทุกะ ในอุปาทานิยะ โลกุตตรธรรม ไม่มี ปัจจนียะก็ดี การนับทั้งสองอย่างนอกนี้ก็ดี เหมือนกับอุปาทานทุกะ.

อุปาทานอุปาทานิยทุกะ จบ