ผู้ที่บวชเป็นพระมาแล้ว ๓ ปี แต่ยังสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ และ คิดว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเหมือนวรรณคดีต่างๆ ที่เราเคยเรียนมา แสดงว่า บุคคลนั้นเป็นอย่างไร
แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่พระอริยะ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีศรัทธา แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีหิริ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีโอตตัปปะ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีสุตตะ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีปัญญา แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้า แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่ สมณะ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ควรแก่ของคำนับ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ควรแก่ของต้อนรับ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ควรแก่อัญชลีกรรม แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีอริยทรัพย์ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีไตรสิกขา แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีสติปัฏฐาน ๔ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีสัมมัปปธาน ๔ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีอินทรีย์ ๕ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีพละ ๕ แสดง ว่าบุคคลนั้นไม่มีโพชฌงค์ ๗ แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ แสดงว่า บุคคลนั้นไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ประพฤติปฏิบัติตามคำสอน แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีมงคล แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนถ่อย แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ทุศีล แสดงว่าบุคคลนั้นมีอาจารวิบัติ แสดงว่าบุคคลนั้นมีอาชีววิบัติ แสดงว่าบุคคลนั้น มีทิฏฐิวิบัติ
..... ฯลฯ ....
ปัจจุบันนี้ ท่านผู้นี้ลาสึกจากเพศบรรชิตแล้ว และได้พูดคุยกัน ถามถึงเหตุผลของการ สึก ก็ได้ รับคำตอบว่ายังปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ไม่ได้ เพราะมีข้อห้ามมากมาย จึงบอกว่า อยู่ในเพศฆารวาส หรือ เพศบรรชิตก็ปฏิบัติได้ ไม่มีความแตกต่างกันเลย ขอให้มีสติ อยู่กับปัจจุบัน จึงสงสัยว่าถ้าไม่แตกต่างกัน ทำไมจึงมีบางคนไปบวชและถือเพศบรรชิตตลอดชีวิต
มีเหตุสองอย่างครับ คือ บวชเพราะอกุศลเหตุ ๑ หรือบวชเพราะกุศลเหตุ ๑ บวชอย่างแรก เป็นโทษ ถ้าหากไม่บวชเพื่อจะขัดเกลาอกุศลนั้นๆ บวชอย่างหลัง หากไม่บรรลุในชาตินี้ กุศลเหตุที่สั่งสมไว้ย่อมให้ผลในภายหน้า
ข้อความบางตอนจาก...
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน [ธรรมิกสูตรที่ ๑๔]
วัตรของบรรพชิต คือ การไม่เที่ยวในยามวิกาล ไม่พึงยินดีในเบญจกามคุณ เจริญปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ ภายใน (ด้วยการเจริญสติ) ไม่ขวนขวายในการคลุกคลี กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พูดส่อเสียด ไม่กล่าวติเตียนผู้อื่น ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า และไม่พึงเข้าไปติดในบิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้า
วัตรของคฤหัสถ์ ทรงตรัสไปในการรักษาศีล ๕ และถ้าเป็นไปได้สำหรับผู้มีอัธยาศัยก็รักษาอุโบสถศีลตามโอกาสอันควรครับ ส่วนศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ไม่อยู่ในวัตรที่คฤหัสถ์จะพึงกระทำได้ ก็ไม่พึงจะฝืนไปปฏิบัติ ไม่พึงห่วง หวงว่าข้อนั้น ข้อนี้ก็อยากจะปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่อัธยาศัยโดยแท้ของตนครับ ส่วนการฟังธรรมเจริญสติพิจารณาขันธ์ ๕ ภายใน พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงห้ามไว้ครับ
กรณีนี้ แสดงว่าท่านที่บวชแล้ว รู้ว่าตนเองไม่สามารถประพฤติตามข้อวัตรของนักบวชได้ ก็สึกออกมาเป็นฆารวาสใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิม เพราะรู้ว่าอยู่ต่อไปก็ปฏิบัติไม่ได้ จึงถือว่าท่านผู้นี้มีความเห็นถูกหรือไม่ เพราะรู้ว่าการอยู่ในเพศบรรชิตไม่เหมาะกับตนเอง
การที่พระภิกษุลาสิกขาหรือสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์แต่ละท่านอาจมีเหตุผลที่แตกต่างกัน บางท่านสึกเพราะกิเลสอกุศลครอบงำจึงไม่สามารถอยู่ในเพศบรรพชิตได้ บางท่านอาจจะรู้ว่าอุปนิสัยของตนไม่เหมาะกับเพศบรรพชิตอยู่ไปมีโทษมากกว่าจึงสึกก็มี บางท่านอาจสึกเพราะความเห็นผิดว่า คำสอนของพระพุทธศาสนาไม่ดีจริงก็ได้ ไม่ใช่ว่าผู้ลาสิกขาจะ เป็นผู้ที่เห็นถูกทุกคน
เป็นอย่างไร เป็นไปตามการสะสมมา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิต