เขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางของจักรวาล อันมีทวีปทั้ง ๔ ล้อมรอบ (ชมพูทวีป - อมรโคยานทวีป - บุพวิเทหทวีป - อุตรกุรุทวีป) เบื้องบนเขาพระสุเมรุเป็นเทวภูมิ เหนือเทวภูมิขึ้นไปเป็นพรหมภูมิ เบื้องล่างเขาพระสุเมรุเป็นเขาตรีกูฏและมหาสมุทรสีทันดร ใต้มหาสมุทรสีทันดรมีมหานรก ๘ ขุม และขุมบริวารโลกัณตนรกอยู่ตรงกลางระหว่าง ๓ ภพโลก (โลกนรก - โลกมนุษย์ - โลกสวรรค์) เปรียบเสมือนเอาดอกประทุมมารวบเป็นช่อ จะเกิดช่องว่างตรงกลาง นั่นคือที่ตั้งของโลกัณตนรก
คำถาม ก็ในเมื่อโลกนรก-โลกมนุษย์ - โลกสวรรค์ เรียงรายตั้งตรงเป็นแนวเดียวกัน โดยมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง แล้วคำกล่าวที่ว่าเปรียบเสมือนเอาดอกประทุมมารวบเป็นช่อจะเกิดช่องว่างตรงกลางระหว่าง ๓ ภพโลก นั่นคือที่ตั้งของโลกัณตนรก มันก็ขัดๆ งงๆ สิครับ เลยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วโลกัณตนรกมันตั้งอยู่ตรงไหนแน่
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
โลกนฺตริกา ความว่า โลกันตริกนรกขุมหนึ่งย่อมมีในระหว่างจักรวาลทั้งสาม ก็โลกันตริกนรกนั้น. มีประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์. เหมือนช่องว่างย่อมมีในท่ามกลางของล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือบาตร ๓ ลูก ที่ตั้งจดกันและกัน.
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า ช่องว่างอันหนึ่งๆ ในระหว่างจักรวาลทั้ง ๓ ย่อมมีในที่สุดโลก ดุจช่องว่างในท่ามกลางล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือแผ่น ๓ แผ่นที่วางทับกันฉะนั้น. ก็โลกันตรนรกนั้นโดยส่วนกว้างถึง ๘,๐๐๐ โยชน์.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น