สังโยชนสูตร - สังโยชน์มีอรรถต่างกัน - ๐๙ ธ.ค. ๒๕๔๙
โดย บ้านธัมมะ  7 ธ.ค. 2549
หัวข้อหมายเลข 2436

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

ทุกวันเสาร์ ...

ขอเชิญร่วมรายการ

สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๙ ธค ๒๕๔๙

เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์มีอรรถต่างกันเป็นต้น

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒

นำการสนทนาโดย..

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

ขอเชิญท่านอ่านพระสูตรนี้ได้ในกรอบต่อไป ครับ...



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 ธ.ค. 2549

[เล่มที่ 29] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

จิตตคหปติปุจฉาสังยุต

๑. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์มีอรรถต่างกันเป็นต้น

[๕๓๗] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตนั่งประชุมสนทนากันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูก่อนท่านผู้มี อายุทั้งหลาย กรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถ ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้น ต่างกัน. บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน

[๕๓๘] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจาก บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะ เท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน

[๕๓๙] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระ ทั้งหลาย ถึงที่อยู่ไหว้แล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ กระผมได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระ มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกรม ได้สนทนา กันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถ เหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนีย- ธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้หรือ ภิกษุ เหล่านั้นตอบว่า อย่างนั้นคฤหบดี จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถ ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน ถ้ากระนั้นกระผมจักอุปมาให้ฟัง เพราะ วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตแม้ด้วยข้ออุปมา.

[๕๔๐] ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคดำตัวหนึ่ง โคขาวตัวหนึ่ง เขาผูกด้วยทามหรือเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดแลพึงกล่าว อย่างนี้ว่า โคดำติดกับโคขาว โคขาวติดกับโคดำ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูก ละหรือ

ภิ. ไม่ถูก คฤหบดี เพราะโคดำไม่ติดกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่ติด กับโคดำ ทามหรือเชือกที่ผูกโคทั้งสองนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติด กับรูป รูปไม่ติดกับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด หูไม่ติดกับเสียง เสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติด กับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูก ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติด กับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย และโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติดกับธรรม ธรรมไม่ติดกับใจ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรม ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด.

ภิ. ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระ พุทธพจน์ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.

จบ สังโยชนสูตรที่ ๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 7 ธ.ค. 2549

อรรถกถาจิตตคหปติปุจฉาสังยุต

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๑ แห่งจิตตคหปติปุจฉาสังยุต

บทว่า มจฺฉิภาสญฺเฑ คือ ในราวป่าอันมีชื่ออย่างนี้

บทว่า อยมนฺตรากถา อุทปาทิ ความว่า พระเถระเก่าย่อมไม่สนทนากันถึง เดียรัจฉานกถา เมื่อตั้งปัญหาขึ้นในที่นั่งแล้ว พวกไม่รู้ ก็ย่อมถาม พวกที่รู้ ก็ย่อมตอบด้วยเหตุนั้น การสนทนานี้ จึงเกิดขึ้นแล้วแก่พระเถระเหล่านั้น

บทว่า มิคปถกํ คือบ้านส่วยของตนอันมีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่า บ้านส่วยนั้น อยู่หลังอัมพาฏการาม.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า จิตตคฤหบดีคิดว่า เราแก้ปัญหาของพระเถระทั้งหลายแล้ว จักทำความ อยู่ผาสุกให้ดังนี้ จึงเข้าไปหา คมฺภีเร พุทฺธวจเน ความว่า ใน พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งด้วยอรรถและลึกซึ่งด้วยธรรม

บทว่า ปญฺญาจกฺขุกมติ ความว่าจักขุคือญาณย่อมหยั่งทราบ คือ ย่อมเป็นไป

จบ อรรถกถาสังโยชนสูตร


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 17 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น