๕. ทุติยขมสูตร ว่าด้วยปฏิปทา ๔
โดย บ้านธัมมะ  24 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38958

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 395

จตุตถปัณณาสก์

ปฏิปทาวรรคที่ ๒

๕. ทุติยขมสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 395

๕. ทุติยขมสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ

อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน

ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน

ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ

สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ

ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่ทนทานต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรง ไม่อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในร่างกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่ชื่นใจ พอที่จะปล้นชีวิตเสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.

ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้ทนทานต่อหนาว ร้อน ฯลฯ ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรง อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในร่างกาย ฯลฯ พอที่จะปล้นชีวิตเสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน

ปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ฯลฯ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า ปฏิบัติข่มใจ

ปฏิบัติรำงับเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิดๆ ขึ้นไว้ ฯลฯ ทำให้ไม่มีในภายหลังอีก นี้เรียกว่า ปฏิบัติรำงับ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 396

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔.

จบทุติยขมสูตรที่ ๕

ทุติยขมสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.