[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 420
ทุติยปัณณาสก์
อานันทวรรคที่ ๓
๕. สมาทปกสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 420
๕. สมาทปกสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ อย่าง
[๕๑๕] ครั้งนั้น ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านอานนท์ว่า อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึงเอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึงเชื่อฟัง เป็นมิตร อมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่านทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน ๓ เถิด ในสถาน ๓ คืออะไร คือ ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิ โส ภควา ฯลฯ ภควา ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ... ฯลฯ วิญฺญูหิ ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระสงฆ์ว่า สุปฏิปนฺโน ฯลฯ โลกสฺส.
อานนท์ ความแปรแห่งมหาภูต ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ พึงมีได้ แต่ความแปรแห่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่พึงมีเลย นี้ความแปรในข้อนั้น คือ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์นั้นน่ะ จักไปนรก หรือกำเนิดดิรัจฉาน หรือเปตติวิสัย ดังนี้ นี่มิใช่ฐานะจะมีได้เลย
อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึงเอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึงเชื่อฟัง เป็นมิตร อมาตย์ ญาติ หรือสายโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่านทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน ๓ นี้เถิด.
จบสมาทปกสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 421
อรรถกถาสมาทปกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมาทปกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อมจฺจา ได้แก่ อำมาตย์ผู้มีใจดี. บทว่า าติ ได้แก่ ญาติฝ่ายปู่ ย่า ตา ยาย. บทว่า สาโลหิตา ได้แก่ ญาติผู้ร่วมสายโลหิต มีพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเท ความว่า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ที่เกิดขึ้นโดยหยั่งรู้ถึงคุณทั้งหลาย.
บทว่า อญฺถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นอย่างอื่นจากความเป็นจริง. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ปฐวีธาตุยา เป็นต้นดังต่อไปนี้ ปฐวีธาตุที่เป็นธาตุมีอาการเข้มแข็ง ในโกฏฐาส ๒๐ อย่าง (พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้) อาโปธาตุที่เป็นน้ำ เป็นธาตุเกาะกุม ในโกฏฐาส ๑๒ อย่าง (พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้) เตโชธาตุที่เป็นธาตุแผดเผา ในโกฏฐาส ๔ อย่าง (พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้) วาโยธาตุที่เป็นธาตุพัดผัน ในโกฏฐาส ๖ อย่าง (พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้).
ด้วยบทว่า สิยา อญฺถตฺตํ น เตฺวว พระอานนท์เถระเจ้าแสดงว่า จริงอยู่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ เหล่านี้ พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะเข้าถึงความเป็นอัญญมัญญปัจจัย แต่สำหรับพระอริยสาวก ไม่มีความเป็นอย่างอื่นไปได้เลย.
ก็ในพระสูตรนี้ บทว่า อญฺถตฺตํ ได้แก่ ความเป็นอย่างอื่นโดยความเลื่อมใส และความเป็นอย่างอื่นโดยคติ เพราะว่าทั้ง ๒ อย่างนั้นไม่มีแก่พระอริยสาวก มีแต่ความเป็นอย่างอื่นโดยสภาพ อธิบายว่า พระอริยสาวกที่เป็นมนุษย์ ไปเป็นเทวดาก็มี ไปเป็นพรหมก็มี แต่ความเลื่อมใสของพระ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 422
อริยสาวกนั้นจะไม่ขาดตอน (เปลี่ยนแปลง) ในระหว่างภพ ทั้งจะไม่ถึงความเป็นอย่างอื่นโดยคติ กล่าวคือ อบายคติ แม้พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงแสดงความข้อนั้นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺธิทํ อญฺถตฺตํ ดังนี้. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสมาทปกสูตรที่ ๕