บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ทส (สิบ) + ปุญฺญ (ความดี เครื่องชำระสันดานให้สะอาด) + กิริยา (การกระทำ) + วตฺถุ (ที่ตั้ง)
ที่ตั้งแห่งการกระทำความดี ๑๐ อย่าง หมายถึง กุศลจิตที่มีกำลังจนทำให้มีการกระทำออกมาทางกาย วาจาหรือทางใจ ได้แก่
๑. ทานมัย บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริตทางกาย วาจา
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส (สมถภาวนา) และการอบรมปัญญา เพื่อละกิเลสทั้งปวง (วิปัสสนาภาวนา)
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จจากการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ย่อสงเคราะห์ลงเหลือบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทานมัย ศีลมัย และ ภาวนามัย เท่านั้นก็ได้
- ปัตติทาน และ ปัตตานุโมนา เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการให้ จึงสงเคราะห์เป็น ทานมัย
- อปจายนะ และ เวยยาวัจจะ เกี่ยวข้องกับการประพฤติทางกาย วาจา จึงสงเคราะห์เป็น ศีลมัย
- ธัมมัสสวนะ และธัมมเทสนา ก็เป็นเหตุให้เกิดปัญญา จึงสงเคราะห์เป็นภาวนามัย
- ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ได้ทั้ง ทาน ศีล และ ภาวนา เพราะเมื่อมีความเห็นตรง ย่อมเป็นปัจจัยให้กุศลขั้นอื่นเจริญไพบูลย์ และมีผล มีอานิสงส์มาก
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
สาธุ ขออนุโมทนาฯ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณครับ ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนา และขอบพระคุณค่ะ
ขอสาธุกาลครับ