[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 226
๒๓. นาควรรควรรณนา
๑. เรื่องของพระองค์ [๒๓๒]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 43]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 226
๒๓. นาควรรควรรณนา
๑. เรื่องของพระองค์ [๒๓๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี (๑) ทรงปรารภพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อหํ นาโคว" เป็นต้น.
พระศาสดาถูกพวกมิจฉาทิฏฐิด่า
เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในวรรณนาแห่งพระคาถาแรกแห่งอัปปมาทวรรคนั่นแล. จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ฉะนี้ว่า "พระนางมาคันทิยา ไม่อาจทำอะไรๆ แก่หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขเหล่านั้นได้" จึงทรงดำริว่า "เราจักทำกิจที่ควรทำแก่พระสมณโคดมให้ได้" ดังนี้แล้ว ให้สินจ้างแก่ชาวนครทั้งหลายแล้ว กล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย พร้อมกับพวกผู้ชายที่เป็นทาสและกรรมกร จงด่าจงบริภาษพระสมณโคดม ผู้เสด็จเที่ยวเข้ามาภายในพระนคร ให้หนีไป".
พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระศาสดา ผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนคร ด่าอยู่ บริภาษอยู่ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า "เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นโค เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน, สุคติไม่มีสำหรับเจ้า ทุคติเท่านั้นอันเจ้าพึงหวัง."
(๑) นครหลวงแห่งแคว้นวังสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 227
พระอานนท์ทูลให้เสด็จไปนครอื่นก็ไม่เสด็จไป
ท่านพระอานนท์สดับคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวนครเหล่านี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษเราทั้งหลาย, เราทั้งหลายไปในที่อื่นจากพระนครนี้เถิด."
พระศาสดา. ไปไหน อานนท์
พระอานนท์. สู่นครอื่น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่, เราจัก ไปในที่ไหนอีก อานนท์
พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่ เราทั้งหลาย จักไปในที่ไหน (อีก) เล่า อานนท์
พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น (อีก) พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ การทำอย่างนั้นไม่ควร, อธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด, เมื่อมันสงบแล้วในนั้นนั่นแหละ, การไปสู่ที่อื่นจึงควร อานนท์ ก็เขาพวกไหนเล่า ย่อมด่า
พระอานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหมดจนกระทั่งทาสและกรรมกร ย่อมด่า.
พระศาสดาทรงอดกลั้นคำล่วงเกินได้
พระศาสดาตรัสว่า "อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม, การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก ๔ ทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงครามฉันใด, ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว เป็นภาระของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 228
เราฉันนั้นเหมือนกัน" เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิต พระคาถาเหล่านี้ ในนาควรรคว่า:-
๑. อหํ นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติตํ สรํ อติวยากฺยนฺติติกฺขิสฺสํ ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน. ทนฺตํ นยนฺติ สมิติํ ทนฺตํ ราชาภิรูหติ ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ โยติวากฺยนฺติติกฺขติ.
วรมสฺสตรา ทนฺตา อาชานียา จ สินธวา. กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วรํ.
"เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็นอันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ม้าอัสดร ๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย ๑ ช้างใหญ่ชนิดกุญชร ๑ ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษนั้น)."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.
สองบทว่า จาปาโต ปติตํ ความว่า หลุดออกไปจากธนู.
บทว่า อติวากฺยํ ความว่า ซึ่งคำล่วงเกิน ที่เป็นไปแล้วด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 229
สามารถแห่งอนริย (๑) โวหาร ๘.
บทว่า ติติกฺขิสฺสํ ความว่า ช้างใหญ่ที่เขาฝึกหัดดีแล้ว เข้าสู่สงคราม เป็นสัตว์อดทน ไม่พรั่นพรึงซึ่งลูกศรที่หลุดจากแล่งตกลงที่ตน ชื่อว่า ย่อมทนทานต่อการประหารทั้งหลาย มีประหารด้วยหอกเป็นต้นได้ ฉันใด, เราก็จักอดกลั้น คือจักทนทานคำล่วงเกิน มีรูปอย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ทุสฺสีโล หิ ความว่า เพราะโลกิยมหาชนนี้เป็นอันมาก เป็นผู้ทุศีล เที่ยวเปล่งถ้อยคำเสียดสีด้วยอำนาจแห่งความชอบใจของตน, การอดกลั้น คือการวางเฉย ในถ้อยคำนั้น เป็นภาระของเรา.
บทว่า สมิติํ ความว่า ก็ชนทั้งหลาย เมื่อจะไปสู่ท่ามกลางมหาชนในสมาคมสถาน มีอุทยานและสนามกรีฑาเป็นต้น เทียมโคหรือม้าที่ฝึกแล้วเท่านั้นเข้าที่ยานแล้ว ย่อมนำไป.
บทว่า ราชา ความว่า แม้พระราชา เมื่อเสด็จไปสู่ที่เห็นปานนั้นนั่นแหละ ย่อมทรงสัตว์พาหนะเฉพาะที่ฝึกแล้ว.
บทว่า มนุสฺเสสุ ความว่า แม้ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ฝึกแล้ว คือผู้สิ้นพยศแล้วแล (๒) ด้วยอริยมรรค ๔ เป็นผู้ประเสริฐ.
(๑) อนริยโวหาร ๘ คือ:- ๑) อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเห็น. ๒) อสฺสุเต สุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน. ๓) อมุเต มุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้. ๔) อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ทราบชัดว่าทราบชัด. ๕) ทิฏฺเ อทิฏฺวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นว่าไม่เห็น. ๖) สุเต อสฺสุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน. ๗) มุเต อมุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้. ๘) วิญฺาเต อวิญฺาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ทราบชัดว่าไม่ทราบชัด.
(๒) นิพฺพิเสว=มีความเสพผิดออกแล้วเทียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 230
บทว่า โยติวากฺยํ ความว่า บุคคลใดย่อมอดกลั้น คือย่อมไม่โต้ตอบ ไม่พรั่นพรึงถึงคำล่วงเกินมีรูปเช่นนั้น แม้อันเขากล่าวซ้ำซากอยู่. บุคคลผู้ฝึกแล้วเห็นปานนั้น เป็นผู้ประเสริฐ.
ม้าที่เกิดจากแม่ม้าโดยพ่อลา ชื่อว่า ม้าอัสดร. บทว่า อาชานียา ความว่า ม้าตัวสามารถเพื่อจะพลันรู้เหตุที่นายสารถีผู้ฝึกม้าให้กระทำ.
ม้าที่เกิดในแคว้นสินธพ ชื่อว่า ม้าสินธพ. ช้างใหญ่ที่เรียกว่ากุญชร ชื่อว่า มหานาค.
บทว่า อตฺตทนฺโต เป็นต้น ความว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี ช้างกุญชรก็ดี เหล่านั้นที่ฝึกแล้วเทียว เป็นสัตว์ประเสริฐ, ที่ยังไม่ได้ฝึก หาประเสริฐไม่, แต่บุคคลใด ชื่อว่ามีตนฝึกแล้ว คือหมดพยศแล้ว เพราะความที่ตนเป็นผู้ฝึกด้วยอริยมรรค ๔. บุคคลนี้ย่อมประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นแม้นั้น คือย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าสัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น.
ในกาลจบเทศนา มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่าอยู่ในที่ทั้งหลาย มีถนนและทางสามแยกเป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องของพระองค์ จบ.