ขันธ์ ๕ คือ สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วดับ จึงจำแนกเป็น อดีต ปัจจุบัน และอนาคต สภาพธรรมใดเกิดแล้วแต่ยังไม่ดับ ขณะที่ยังไม่ดับก็เป็นปัจจุบัน เมื่อดับแล้วก็เป็นอดีต สภาพธรรมใดที่ยังไม่เกิดแต่จะเกิดขึ้น ก็เป็นอนาคต ในขณะที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นขันธ์ ๕ ทั้งนั้น จิตเห็น จิตได้ยิน ก็เป็นขันธ์ เสียงที่เกิดขึ้นแล้วดับไปก็เป็นขันธ์
ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ นามขันธ์ ๔
สภาพธรรมที่มีจริงนั้น ภาษาบาลีใช้ คำว่า “ปรมัตถธรรม” เป็นสภาพธรรมที่แม้จะไม่เรียกชื่อใดๆ เลย สภาพธรรมนั้น ก็เป็นอย่างนั้น เช่น เสียง ภาษาไทยเรียกอย่างหนึ่ง ภาษาอังกฤษเรียกอย่างหนึ่ง ภาษาจีนเรียกอย่างหนึ่ง เสียงเป็นสิ่งที่มีจริง เสียงเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง จึงเป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ขันธ์ ๕ ได้แก่ สภาพปรมัตถธรรมที่เกิดดับ
ฉะนั้น ขันธ์ ๕ จึงได้แก่ จิต เจตสิก รูป สภาพธรรมใดซึ่งมีจริงและเกิดดับ แต่ไม่ใช่สภาพรู้ สภาพธรรมนั้นๆ เป็น รูป ทั้งหมด รูปทุกรูปเป็นรูปขันธ์เพราะไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป จิต และเจตสิก เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป จึงเป็นนามขันธ์ รวมปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก และ รูป จึงเป็นขันธ์ ๕ เมื่อสภาพธรรมใดเกิดขึ้นปรากฏ ก็รู้ได้ว่าเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ เช่น กลิ่น ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก กลิ่นเป็นรูป กลิ่นจึงเป็นรูปขันธ์ รสไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก รสจึงเป็นรูปขันธ์
ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑
- รูปขันธ์ ได้แก่ รูปทุกรูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท
- เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก (ความรู้สึก สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ ) ๑ ดวง
- สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก (ความจำหมายรู้อารมณ์) ๑ ดวง
- สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก)
- วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทุกดวง
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
วันนี้ได้ทำความเข้าใจกับเวทนาเจตสิกค่ะ ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าใจขึ้น