๒. สหชาตวาระ (๑. กุสลติกะ) - อนุโลมติกปัฏฐาน
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42188

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑. กุสลติกะ

๒. สหชาตวาระ

ปัจจยานุโลมนัย 236/274

การนับจํานวนวาระในอนุโลมแห่งสหชาตวาระ 240/276

ปัจจยปัจจนียนัย 241/277

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ 243/278

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย 278

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ 244/278

ปัจจยปัจนียานุโลมนัย 279

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งสหชาตวาระ 245/279

อรรถกถาสหชาตวาระ 280


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 85]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 274

๒. สหชาตวาระ

ปัจจยานุโลมนัย

[๒๓๖] ๑. กุศลธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล, ขันธ์ ๑ เกิดร่วมกับ ขันธ์ ๓. ขันธ์ ๒ เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

๒. อัพยากตธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

[๒๓๗] ๔. อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล, ขันธ์ ๑ เกิดร่วม กับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

๕. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 275

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล.

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น อกุศล, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

[๒๓๘] ๗. อัพยากตธรรมเกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒, หทยวัตถุเกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับ มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒, จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๒๓๙] ๘. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 276

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและ มหาภูตรูปทั้งหลาย.

๙. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศลและ มหาภูตรูปทั้งหลาย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาระ.

การนับวาระในอนุโลมแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๐] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัยมี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

ปัจจยานุโลมนัย จบ

พึงนับวาระ เหมือนกับนับวาระในปฏิจจวาระ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 277

ปัจจยปัจจนียนัย

[๒๔๑] อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ นเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

[๒๔๒] อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะ นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒, หทยวัตถุ เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาระ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 278

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๓] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิตตปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจยปัจจนียนัย จบ

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๔] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตต-


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 279

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๕] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัยมี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย จบ

สหชาตวาระ จบ

ข้อความในสหชาตวาระ เหมือนข้อความในปฏิจจวาระ.

ข้อความในปฏิจจวาระ เหมือนข้อความในสหชาตวาระ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 เม.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 280

อรรถกถาสหชาตวาระ

พึงทราบวินิจฉัย ใน สหชาตวาระ ต่อไป:-

คำว่า กุสลํ ธมฺมํ สหชาโต เกิดร่วมกับกุศลธรรม

คือ เพราะ อาศัยกุศลธรรม จึงเกิดร่วมกันกับกุศลธรรมนั้น คำที่เหลือในสหชาตวาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิจจวาระ. ก็ในอวสานแห่งปฏิจจวาระท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า อรรถแห่ง สหชาต ศัพท์ ชื่อว่าเป็น อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ ชื่อว่าเป็นอรรถแห่ง สหชาต ศัพท์ ดังนี้ เพื่อแสดงว่าวาระทั้งสองนี้ ว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มีข้อแตกต่างกัน. จริงอยู่ โดยใจความแล้ว วาระทั้งสองนี้ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย ถึงอย่างนั้นท่านก็กล่าวไว้เพื่อกำหนดความหมายของกันและกัน จริงอยู่ ในคำว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อาศัยจักขุและรูป เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจยุบบันธรรมย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป (จักขุปสาท กับรูปารมณ์) แม้ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกัน. ก็อุปาทายรูป แม้ที่เกิดพร้อมกันก็หาเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปได้ไม่ วาระทั้งสองนี้ ท่าน กล่าวไว้เพื่อกำหนดความเป็นสหชาตะโดยปฏิจจวาระ และภาวะที่ปัจจัยซึ่งท่านกล่าวว่า ปฏิจฺจ เป็นสหชาตะ โดยสหชาตวาระ.

อีกอย่างหนึ่ง วาระทั้งสองนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเทศนาวิลาสะ ตามอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะหยั่งรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจความ รู้แตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.

จบอรรถกถาสหชาตวาระ