ปฎิรูปเทสวาส ปุพเพ จ กตปุญฺญตา อตฺตสมฺมาปณิธิ [คาถาที่ ๒]
โดย pirmsombat  1 พ.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 3606

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 156

คาถาที่ ๒ (มี ๓ มงคล)

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อันเทวดาทูลเชื้อเชิญเพื่อให้ตรัสมงคลเดียวว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ดังนี้ อย่างนี้ ก็ตรัสถึง ๓ มงคล

ด้วยคาถาเดียว เหมือนบุรุษที่มีจิตใจกว้างขวาง เขาขอน้อย ก็ให้มากฉะนั้น

เพราะเหตุที่พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เทวดาทั้งหลายได้สดับแม้ยิ่งขึ้นไปกว่า

นั้น และเพราะมงคลมีอยู่หลายอย่าง พระองค์จึงเริ่มตรัสถึงมงคลทั้งหลายเป็น

อเนก แม้อีก ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ปรารถนาจะชักนำสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไว้ในสิ่งที่

เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั้นๆ อันเป็นมงคล.

ในพระคาถาที่ ๒ นั้น ข้าพเจ้าจะได้พรรณาบทคาถาที่ ๑ ก่อน. คำว่า

ปฏิรูโป แปลว่า สมควร. บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชนบทก็ดี หรือ

โอกาสเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลายแห่งใดแห่งหนึ่ง

ชื่อว่า เทสะ. การอยู่ในประเทศนั้นชื่อว่า วาสะ.

บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ กาลก่อน คือ ในชาติทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว.

ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้วชื่อว่า กตปุญฺญตา.

จิตท่านเรียกว่า อัตตา อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพทั้งสิ้น ท่านก็เรียกว่าอัตตา.

การตั้งความปรารถนา อธิบายว่า การประกอบไว้ คือการวางไว้

ซึ่งตนนั้นโดยชอบ ชื่อว่า สัมมาปณิธิ.

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล. นี่คือการ

พรรณนาเฉพาะบทในคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.

ที่ชื่อว่า ปฏิรูปเทส ได้แก่ประเทศใดที่บริษัททั้ง ๔ เที่ยวไป ประ-

เทศที่บุญกิริยาวัตถุทั้งหลายมีทานเป็นต้นย่อมเป็นไป ประเทศที่นวังคสัตถุศาสน์

ย่อมรุ่งเรือง การอยู่ในปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล

เพราะเป็นปัจจัยแห่งการบำเพ็ญบุญของสัตว์ทั้งหลาย ก็ในข้อนี้มีเรื่องของชาว

ประมงผู้เข้าไปสู่เกาะสิงหลเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส ได้แก่ ประเทศ คือ (โพธิมณฑล)

ควงแห่งต้นโพธิเป็นที่ตรัสรู้แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประเทศที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแสดงพระธรรมจักร ประเทศ คือควงแห่งต้นคัณฑามพพฤกษ์ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเแสดงยมกปาฏิหาริย์ทรงทำลายความมัวเมาของเดียรถีย์ทั้งปวง

ในท่ามกลางบริษัท (ซึ่งมาประชุมกันในเนื้อที่) ถึง ๑๒ โยชน์ ประเทศที่เสด็จ

ลงจากเทวโลก (ที่สังกัสสนคร) ก็แม้หรือว่า ประเทศอื่นใด

อันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีเมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นต้น

การอยู่ในปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยให้

ได้อนุตตริยะ ๖ ประการ.

อีกนัยหนึ่ง (ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส) ได้แก่ประเทศ ในทิศตะวันออก

มีนิคมชื่อว่า กชังคละ ต่อจากนิคมนั้นไปเป็นบ้านมหาสาลา ต่อจากบ้านมหา

สาลานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

ในทิศอาคเณย์ (ปุรตฺถิมทกฺขิณาย อนุทิสาย) มีแม่น้ำชื่อว่า

สัสลวดี ต่อจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ

ในทิศใต้ (ทกฺขิณาย ทิสาย) มีนิคนชื่อว่าเสตะกัณณิกะ ถัดจาก

นิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ

ในทิศตะวัน (ปจฺฉิมาย ทิสาย) มีร้านพราหมณ์ชื่อ ถูนะ

ถัดจากบ้านพราหมณ์ชื่อถูนะไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

ในทิศอุดร (เหนือ) (อุตฺตราย ทิสาย) มีภูเขาชื่อว่า อุสีรัทธชะ

ต่อจากภูเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

มัชฌิมประเทศนี้ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัด โดยรอบได้

๙๐๐ โยชน์มัชฌิมประเทศน์ ชื่อว่า ปฏิรูปเทส.

พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นอิสริยาธิบดี แห่งทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีป

น้อย ๒,๐๐๐ ทวีป ก็ทรงอุบัติไหมัชฌิมประเทศนี้ พระมหาสาวกทั้งหลาย

มีพระสารีบุตรและพระโมคัลคัลลาน์เป็นต้น ซึ่งบำเพ็ญบารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัป

ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี ๒

อสงไขยกับแสนกัป ก็อุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย หรือ ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขย กับแสนกัป

ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้.

ในมัชฌิมประเทศนั้น สัตว์ทั้งหลายรับโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า

แล้วดำรงอยู่ในเบญจศีล ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดำรงอยู่ในโอวาท

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่ดำรงอยู่ในโอวาทของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ด้วย มีนิพพานเป็นที่ไปในเนื่องหน้าด้วย การอยู่ในประเทศนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยแห่งสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.

การสั่งสมกุศลปรารภพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ

ทั้งหลายในชาติที่ล่วงมาแล้ว ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา

แม้ปุพเพกตปุญญตา นั้นก็ชื่อว่าเป็น มงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะคำอธิบายว่า บุคคลย่อมบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด

แห่งคาถา แม้ประกอบด้วยบท ๔ อันท่านแสดงแล้วต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า

และพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตนฟังแล้วเฉพาะพระพักตร์ของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือเฉพาะหน้าของพระพุทธสาวก.

ก็มนุษย์ผู้ใดได้สั่งสมบุญไว้ในปางก่อน เป็นผู้มีมูลแห่งกุศลอันหนา

ขึ้นแล้ว มนุษย์ผู้นั้นเจริญวิปัสสนาแล้วย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ ด้วย

กุศลมูลนั้นนั่นเอง เหมือนอย่างพระเจ้ามหากัปปินะ และอัครมเหสีของพระองค์

˵ع мվҤҨ֧ ؾ حڐ ڤ.

ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึง การตั้งตนไว้ชอบ ต่อไป คือ บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ทำตนซึ่งเป็นผู้ทุศีล ให้ตั้งอยู่ในศีล ทำตนซึ่งไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ใน

ศรัทธาสัมปทา ทำตนซึ่งเป็นคนตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคะสัมปทา นี้ท่านเรียกว่า

อตฺตสมฺมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบนี้ จัดว่าเป็นมงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะเป็นเหตุให้ละเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

และให้บรรลุอานิสงส์ต่างๆ .

ด้วยคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล ๓ มงคลเท่านั้นคือ

การอยู่ในปฏิรูปเทส ๑ การกระทำบุญไว้ในปางก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑

ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้า

อธิบายให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้นๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น



ความคิดเห็น 2    โดย olive  วันที่ 2 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะสาธุ..

ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 2 พ.ค. 2550


การอยู่ในประเทศอันสมควร การมีบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน

และการตั้งตนไว้ชอบเป็นมงคล ขออนุโมทนาครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 2 พ.ค. 2550

การไม่คบคนพาลเป็นมงคล

การฟังธรรมเป็นมงคลการได้เห็นได้คบสัตบุรุษเป็นมงคล

การทำความดีเป็นมงคล

ฯลฯ


ความคิดเห็น 5    โดย Buppha  วันที่ 2 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 6    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 2 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 7    โดย อิสระ  วันที่ 3 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ