ความเป็นเลิศของท่านพระอานนท์เถระ [อรรถกถามหาเวทัลลสูตร]
โดย khampan.a  5 พ.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 8570

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 294 ข้อความตอนหนึ่งจาก...

อรรถกถามหาเวทัลลสูตร

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ถึงใช้เวลาตั้งสี่เดือน ก็ไม่สามารถเรียนคาถาเพียงสี่บทได้. ส่วนผู้มีปัญญามากยืนอยู่บนก้าวเดียวก็เรียนได้ตั้งร้อยตั้งพันบท ก็พระอานนท์เถระ ท่านยืนบนก้าวที่กำลังยกก้าวเดียวได้ ฟังครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ถามซ้ำอีก ก็รับเอาได้ตั้งหกหมื่นบท ตั้งหนึ่งหมื่นห้าพันคาถา ในขณะเดียวกันนั่นเอง, เหมือนเอาเถาวัลย์ดึงเอาดอกไม้มาถือไว้, และที่ท่านได้เล่าเรียนมาแล้ว ก็ตั้งอยู่โดยอาการที่ได้รับไว้เหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน และเหมือนมันเหลวราชสีห์ที่ใส่ในหม้อทองคำ เพราะเหตุที่ท่านมีปัญญามาก. เหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้มีคติ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คืออานนท์ ผู้มีสติ, ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจำ) ,ผู้ได้ฟังมาก, ผู้อุปัฏฐาก (รับใช้) นั่นคืออานนท์".



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 5 พ.ค. 2551
สาธุ

ความคิดเห็น 2    โดย ตุลา  วันที่ 6 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย ทศพล.com  วันที่ 6 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 4    โดย Komsan  วันที่ 10 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย opanayigo  วันที่ 10 พ.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย เมตตา  วันที่ 6 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย suwit02  วันที่ 24 ส.ค. 2552

ขอเรียนถามว่า

ในกระทู้นี้ ธิติ = ปัญญาเครื่องทรงจำ

แต่ในกระทู้ 13330 ธิติ = ความเพียร

อันไหนถูก

ขอบพระคุณครับ


ความคิดเห็น 8    โดย วันใหม่  วันที่ 24 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 7

ที่ถูกต้อง ธิติหมายถึงความเพียรในด้านต่างๆ เช่น เพียรศึกษาธรรม เพียรทรงจำ

เพียรในการอุปัฏฐากพระศาสดา เป็นต้น แต่ไม่ใช่การทรงจำ มุ่งถึงความเพียร

ส่วนถ้าเป็นไปในการทรงจำพระพุทธพจน์ จะหมายถึง สติ ซึ่งพระอานนท์เป็นผู้เลิศในการทรงจำ คือ ถึงพร้อมด้วยสติ นั่นเอง สาธุ


ความคิดเห็น 9    โดย suwit02  วันที่ 25 ส.ค. 2552

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย khampan.a  วันที่ 25 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาในความละเอียดของคุณ suwit02และคุณวันใหม่ ครับ ให้ความกระจ่างได้มากทีเดียวเป็นประโยชน์มาก เพราะคำว่า ธิติ โดยมากจะหมายถึง ความเพียร, และในบางแห่งก็จะหมายถึงปัญญาด้วย สำหรับความเป็นเลิศของท่านพระอานนท์นั้นธิติ มุ่งถึงความเพียร ในด้านต่างๆ เพียงอย่างเดียว ครับ

ความคิดเห็น 11    โดย วิริยะ  วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ