๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของสิงคาลปิตาเถระ
โดย บ้านธัมมะ  18 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40416

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 146

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๒

๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสิงคาลปิตาเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 146

๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของสิงคาลปิตาเถระ

[๑๕๕] ได้ยินว่า พระสิงคาลปิตาเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ภิกษุ ผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้ ด้วยความสำคัญว่า กระดูกอย่างเดียวเป็นอารมณ์ จักได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละ กามราคะได้โดยเร็วพลัน.

อรรถกถาสิงคาลปิตาเถรคาถา

คาถาของท่านพระสิงคาลปิตาเถระ เริ่มต้นว่า อหุ พุทฺธสฺส ทายาโท. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๔ นับถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สตรังสี เที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใส ไหว้แล้ว ได้ถวายผลตาลที่อยู่ในมือของตน ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวโลก กระทำบุญ แล้วท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพนั่นแหละไปๆ มาๆ เกิดในกำเนิดมนุษย์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในพระศาสนา บวชแล้ว เจริญอัฏฐิกสัญญา ท่านกลับไปเกิดในเรือนมีตระกูล พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้อีก เจริญวัยแล้ว แต่งงานได้บุตรคนหนึ่ง ให้นามบุตรว่า สิงคาละ ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 147

สิงคาลกปิตา (พ่อของสิงคาลมาณพ) ในเวลาต่อมา เขาสละความผูกพันในเรือน แล้วบวชในพระศาสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูอัธยาศัยของท่าน ได้ทรงประทานอัฏฐิกสัญญากัมมัฏฐานแล้ว ท่านรับกัมมัฏฐานนั้นแล้ว อาศัยอยู่ในป่าเภสกฬาวัน ณ สุสุมารคิริชนบท แคว้นภัคคะ. ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้น เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ท่าน เมื่อประกาศความนี้ว่า ท่านจักกระทำผลแห่งภาวนา (อรหัตตผล) ให้อยู่ในเงื้อมมือต่อกาลไม่นานเลย ดังนี้ โดยอ้างถึงพระอรหัตตผล จึงกล่าวคาถาว่า

ภิกษุผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้ ด้วยความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ จักได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละกามราคะได้โดยพลันที่เดียว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ เท่ากับ โหติ แปลว่า ย่อมเป็น.

ก็บทนี้เป็นคำกล่าวถึงอดีตกาล แต่ใช้ในอรรถแห่งปัจจุบันกาล. บทว่า พุทฺธสฺส ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

บทว่า ทายาโท ความว่า เป็นธรรมทายาท คือ เป็นผู้ถือเอา คือ รับไว้ซึ่งทายาท คือ โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ด้วยการปฏิบัติชอบของตน.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อหุ เท่ากับอโหสิ แปลว่าได้เป็นแล้ว. อธิบายว่า ภิกษุบางรูป จักเป็นผู้นับเนื่องในความเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามอย่างนี้ ในบัดนี้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า เราเข้าใจว่า เธอจะละกามราคะได้โดยพลันทีเดียว ดังนี้.

บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่า อันได้นามว่า เภสกฬาวัน เพราะเหตุที่ยักษ์ชื่อว่า เภสกะ ได้แล้วคือยึดครองไว้ หรือเพราะมากไปด้วยสัตว์ร้าย มีช้างรุ่นเป็นต้น อันน่าสะพึงกลัว. เทวดาเมื่อจะบอกเหตุในความ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 148

เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าแก่ภิกษุนั้น จึงกล่าวว่า พิจารณาแผ่นดินนี้ ด้วยความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้นคือไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า อฏฐิกสญฺญาย ได้แก่ ด้วยการภาวนาว่าเป็นกระดูก.

บทว่า อผริ ความว่า แผ่ไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการน้อมใจเอาว่า เป็นกระดูก.

บทว่า ปฐวี ได้แก่ ปฐพีคืออัตภาพ. อธิบายว่า อัตภาพท่านเรียกว่า ปฐพีในคาถานี้ ดุจในประโยคมีอาทิว่า โก อิมํ ปฐวึ วิเจสฺสติ ใครจัก พิจารณาแผ่นดินนี้. บทว่า มญฺเญหํ ตัดบทเป็น มญฺเญ อหํ. ปาฐะว่า มญฺญาหํ ดังนี้ก็มี.

บทว่า โส ได้แก่ภิกษุนั้น. เราเข้าใจว่า เธอจักทิ้ง คือจักละกามราคะ ได้โดยพลัน คือต่อกาลไม่นานเลย. เพราะเหตุไร? เพราะอัฏฐิกสัญญาเป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อกามราคะ ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ภิกษุใดพิจารณาแผ่นดินนี้ ด้วยความสำคัญว่ากระดูก อันตนได้แล้วในส่วนหนึ่ง หรือทั้งสิ้นคือทั่วอัตภาพของตน ว่าเป็นกระดูกทั้งนั้น ภิกษุนั้นกระทำฌานมีกระดูกเป็น อารมณ์นั้นให้เป็นบาท พิจารณาอยู่ จักละกามราคะได้ด้วยอนาคามิมรรค โดยกาลไม่นานเลย หรือจักละตัณหา อันได้ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าใคร่ ได้ชื่อว่าราคะ เพราะอรรถว่า กำหนัดทั้งหมดได้. พระเถระนั้นสดับคาถานี้แล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวอย่างนี้ เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เราดังนี้ แล้วอธิษฐานความเพียรรุดหน้าไม่ถอยกลับ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 149

พระผู้มีภาคะ สยัมภู นามว่าสตรังสี ผู้ไม่พ่ายแพ้อะไรๆ ออกจากที่สงัดแล้ว ออกโคจรบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้วจึงเข้าไปหาพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลตาล ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว นับถือคำที่เทวดากล่าวแล้ว ได้กล่าวคาถานั้นแหละ โดยเปล่งเป็นอุทาน. คาถานั้นแหละ ได้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตตผลของพระเถระนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสิงคาลปิตาเถรคาถา