กามคุณ ๕ ในใลก มีใจเป็นที่ ๖ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว
บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจาก
ทุกข์ได้อย่างนี้
สัง. ส
...................................................ใจเป็นที่ ๖
คือกิเลสกาม เป็นตัณหาหรือโลภะ เป็นเจตสิก เป็นนามธรรมที่มีลักษณะ
พอใจติดข้องต้องการเพลิดเพลินยินดี ในอารมณ์
โลภะมีหน้าที่ ติดๆ ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาเช่น เห็นอะไรก็ติด ได้ยินอะไรก็ติด
ติดทุกอย่าง ดังข้อความในพระไตรปิฏก
" กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและ
ความกำหนัด, ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ
ความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม
ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม
ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่า
กาม."
วัตถุกาม นอกจากกิเลสกามที่เป็นนามธรรมแล้ว วัตถุอื่นใดที่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นวัตถุกามทั้งสิ้น
เป็นรูปธรรม ไม่มีใครไม่ติดในรูป เพราะรูปเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่ว่าจะเป็นรูปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ดังข้อความในพระไตรปิฏก "กามคุณ ๕ คือวัตถุกาม วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอย่างใดอย่งหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม
กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่เนรมิตเอง ที่ผู้อื่นเนรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมดธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด " สมจริงดังคำว่า :- ดูก่อนกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่าน
ย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจัก ไม่มีอย่างนี้.
บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้บุคคลที่คลายความพอใจในกามคุณนี้ได้ก็โดย การอบรมเจริญสติสัมปชัญญะจนรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ละคลายโลภะหรือตัณหาได้ ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้หัวข้อนี้นอกจากจะเน้นเรื่อง การละโลภะ แล้วยังเป็นการทำความเข้าใจ
เรื่อง วัตถุกาม และ กิเลสกาม ด้วยนะครับ
กามคุณ ๕ เป็นความสุข ที่นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
ขออนุโมทนาค่ะ
สิ่งที่น่ากลัวที่เรียกว่า สุข
อนุโมทนาค่ะ
สาธุ