[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 753
๙. ภิกขุสังยุต
๑. โกลิตสูตร
ว่าด้วยดุษณีภาพอันประเสริฐ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 753
๙. ภิกขุสังยุต
๑. โกลิตสูตร
ว่าด้วยดุษณีภาพอันประเสริฐ
[๖๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.
[๖๘๗] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะระงับ เสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันเกิดร่วมกับวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้-
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 754
มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยฤทธิ์ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โมคคัลลานะๆ ผู้เป็นพราหมณ์อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจงรวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ สมัยต่อมา เรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคลใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว ดังนี้.
จบโกลิตสูตรที่ ๑
ภิกขุสังยุต
อรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๑
ภิกขุสังยุต โกลิตสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาวุโส เป็นคำเรียกพระสาวก.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสเรียกพระสาวก ย่อมตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว ฝ่ายพระสาวกทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราอย่าเป็นเหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ทีแรกกล่าวว่า อาวุโส ภายหลังกล่าวว่า ภิกฺขเว. ภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียก ย่อมตอบสนองพระดำรัสว่า ภนฺเต. ภิกษุสงฆ์ที่พระสาวกทั้งหลายเรียก ย่อมตอบว่า อาวุโส.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 755
ในคำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ ประกอบความดังนี้ เพราะวิตกวิจารในทุติยฌานดับ สฬายตนะย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ทุติยฌานนี้นั้น ท่านจึงเรียกว่า อริโย ตุณฺหีภาโว การนิ่งอย่างอริยะ แต่ในคำว่า ธรรมีกถา หรือดุษณีภาพอันประเสริฐนี้ การมนสิการกัมมัฏฐานก็ดี ปฐมฌานเป็นต้นก็ดี นับว่าเป็นดุษณียภาพอันประเสริฐทั้งนั้น.
บทว่า วิตกฺกสหคตา ได้แก่ มีวิตกเป็นอารมณ์.
บทว่า สญฺา มนสิการา ได้แก่ สัญญาและมนสิการ.
บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมเป็นไป.
ได้ยินว่า ทุติยฌานของพระเถระยังไม่ช่ำชอง เมื่อเป็นเช่นนั้น พอท่านออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว วิตกวิจารไม่ตั้งขึ้นโดยที่สงบไป. ทุติยฌานก็ดี สัญญาและมนสิการก็ดีของพระเถระนั้น ได้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมทั้งนั้น. เมื่อจะทรงแสดงทุติยฌานนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า สณฺเปหิ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยชอบ.
บทว่า เอโกทิภาวํ กโรหิ ได้แก่ กระทำให้มีอารมณ์เดียว.
บทว่า สมาทห ได้แก่ ยกขึ้นตั้งไว้โดยชอบ.
บทว่า มหาภิญฺตฺตํ ได้แก่ อภิญญา ๖.
ได้ยินว่า พระศาสดาทรงขยายสมาธิที่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมของพระเถระตลอด ๗ วัน โดยอุบายนี้ ให้พระเถระบรรลุอภิญญา ๖.
จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๑