กุสุมสนิยเถราปทานที่ ๖ (๑๒๖) ว่าด้วยผลแห่งกาสรถวายอามิสแด่พระพุทธเจ้า
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41119

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 431

เถราปทาน

เสเรยยวรรคที่ ๑๓

กุสุมสนิยเถราปทานที่ ๖ (๑๒๖)

ว่าด้วยผลแห่งกาสรถวายอามิสแด่พระพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 431

กุสุมสนิยเถราปทานที่ ๖ (๑๒๖)

ว่าด้วยผลแห่งกาสรถวายอานิสแด่พระพุทธเจ้า

[๑๒๘] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์อยู่ในนครธัญญวดี รู้จบ ไตรเพท เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ เป็นผู้ฉลาด ในตำราทำนายลักษณะ คัมภีร์อิติหาส และตำราทำนายนิมิต พร้อมทั้งคำภีร์สนิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ บอกมนต์กะศิษย์ ทั้งหลาย เราวางดอกอุบล ๕ กำไรเบื้องบน เราประสงค์จะ บวงสรวงบูชายัญในสมาคมบิดามารดา.

ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีผู้ประเสริฐกว่านระ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงยังทิศทั้งปวงให้ สว่างไสวเสด็จมา.

เราปูลาดอาสนะแล้วลาดดอกอุบลนั้น แล้วนิมนต์พระมหามุนี นำมาสู่เรือนของตน.

อามิสอันรดที่เราตระเตรียมไว้ มีอยู่ในเรือนของตน เรา เลื่อมใสได้ถวายอามิสนั้น แต่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสอง ของตน.

เราทราบเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ได้ถวาย ดอกอุบลกำหนึ่ง พระสัพพัญญูทรงอนุโนทนาแล้ว บ่าย พระพักตร์กลับไปยังทิศอุดร.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายดอกไม้นั่น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายดอกไม้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 432

ในกัปลำดับต่อแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชพระนามว่า วรทัสสนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุสุมาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉันแล.

จบกุสุมาสนิยเถราปทาน

๑๒๖. อรรถกถากุสุมาสนิยเถราปทาน

เรื่องราวของท่านพระกุสุมาสนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร ธญฺ- วติยา ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นผู้มี ทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ไปเรียนไตรเพท จนจบศิลปศาสตร์ชั้นสูง ของพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิของคนและของผู้อื่น มีความประสงค์ จะบูชามารดาบิดา จึงวางกำดอกบัว ๕ กำไว้ข้างๆ ตัว แล้วนั่งลง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 433

ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี มีหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม กำลังเสด็จผ่านมา และได้พบเห็นกลุ่มแห่งพระพุทธรัศมีมีสีเขียวและ เหลืองเป็นต้นพวยพุ่งออกมา เขามีใจเลื่อมใส จัดแจงปูลาดอาสนะ เกลี่ยลาดดอกไม้เหล่านั้นบนอาสนะนั้น แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้นั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ถือเอาของควรเคี้ยวและควรบริโภคทั้งหมดใน เรือนของตน ที่ตระเตรียมไว้เพื่อมารดา มาถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริวารฉันจนอิ่มแล้ว. ในเวลาที่พระองค์ฉันเรียบร้อยแล้ว ยัง ได้ถวายดอกอุบลอีกกำมือหนึ่ง. ด้วยบุญวิธีอันนั้น เรามีความโสมนัส ได้ตั้งความปรารถนาไว้แล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนา แล้ว ก็เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสวรรค์สมบัติและ มนุษย์สมบัติจนครบทั้ง ๒ อย่าง ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้เกิดในตระกูล แห่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็เจริญ รุ่งเรืองไปด้วยโภคสมบัติและยศศักดิ์ เพราะมองเห็นโทษในกามทั้งหลาย จึงละเพศฆราวาสบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้กระทำแล้วในกาล ก่อนได้ ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นคเร ธญฺวติยา ดังนี้. คำว่า ธญฺวติยา นั้น มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ธัญญวดี เพราะเป็นที่เกิดแห่งตระกูลขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหปติ- มหาศาล มากมายหลายตระกูล ซึ่งล้วนแต่มีโชคมีบุญ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธัญญวดี เพราะเป็นแหล่งแห่งรัตนะ ๗ ประการ มีมุกดาและแก้ว มณีเป็นต้น อันเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคชั้นดี ๗ อย่าง, อีกอย่างหนึ่ง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 434

ชื่อว่า ธัญญวดี เพราะเป็นแหล่งที่เกิดแห่งวัดวาอารามเป็นต้น ซึ่งเป็น สถานที่อยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพผู้มีบุญ จำนวนมากมาย. ชื่อว่า นคระ เพราะเป็นที่ปรารถนาต้องการของเหล่าชน ผู้ต้องการเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นคะ เพราะไม่ไปไหน, คือ สถานที่ประทับอยู่ของพระราชา พระยุพราช และหมู่อำมาตย์เป็นต้น. ชื่อว่า นคร เพราะย่อมยึดครอบครองไว้, อธิบาย ว่า สถานที่ที่กำหนดหมาย แวดล้อมกั้นเป็นเขตด้วยกำแพงเป็นต้น อัน เป็นหมวดหมู่แห่งที่ประทับ (พระมหาราชวัง) ของพระราชาเป็นต้น ชื่อว่า พระนคร. เชื่อมความว่า ในพระนครนั้น เราได้รับพยากรณ์ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกาลใด ในกาล นั้น เราได้เป็นพราหมณ์อยู่ในพระนครธัญญวดีนั้นแล. คำที่เหลือในที่ ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถากุสุมาสนิยเถราปทาน