วชิรสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
โดย มศพ.  15 ก.ค. 2555
หัวข้อหมายเลข 21417

ปุถุชน ย่อม มักโกรธ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 15 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

วชิรสูตร

(ว่าด้วยผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า - สายฟ้า - เพชร)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคล ๓ ประเภท มีอยู่ในโลก ได้แก่

๑. บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า คือ บุคคลผู้ที่มักโกรธ มากไปด้วยความ

โกรธ ถูกว่าหน่อยเข้า ก็โกรธ ขัดเคือง ไม่พอใจ เปรียบเหมือนกับแผลเก่าที่ถูกไม้

หรือกระเบื้องกระทบเข้า ทำให้มีน้ำหนองไหล

๒. บุคคลผู้มีจิตเหมือนสายฟ้า คือ บุคคลผู้ที่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอริยสัจจ์ ๔

(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เปรียบเหมือนกับบุคคลผู้มีตาดี สามารถมองเห็นรูปได้

ในขณะที่ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด มุ่งหมายถึงเสกขบุคคล (ผู้ที่ยังต้อง

ศึกษาอยู่)

๓. บุคคลผู้มีจิตเหมือนเพชร คือ บุคคลผู้มีความแข็งแกร่ง สามารถทำลายราก

เหง้าของกิเลสทั้งหลายได้ ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย หมายถึง พระอรหันต์

ผู้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เปรียบเหมือนกับเพชร ที่สามารถตัด

แก้วหรือหินได้ แก้วหรือหินที่ถูกเพชรตัดแล้ว จะไม่กลับเต็มขึ้นมาอีกได้เลย.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ความโกรธเหมือนดังจับถ่านเพลิง

ไม่เข้าไปผูกความโกรธ

โทษของความโกรธ

อริยสัจ ๔ [อรหันตสูตร]

พระอรหันต์สิ้นสุดการเดินทางในสังสารวัฏฏ์ [คาถาธรรมบท]

เจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 15 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีหลากหลายนัย แม้แต่การแบ่งบุคคลต่างๆ ก็

แบ่งไปตามเหตุการณ์ และ ตามเทศนาของพระองค์ว่า บุคคลนี้ ควรแสดงพระสูตร

โดยนัย แบ่งตาม 3 จำพวกนี้ เพราะ ในความเป็นจริงสัตว์โลก มีหลากหลายอัธยาศัย

สัตว์โลก จึงสามารถแบ่งตามแต่ละประเภท นับจำนวนไม่ถ้วน หากแต่ว่า บุคคลทั้ง 3

ประเภท เป็นการแสดงความจริงของ การสะสมมาแตกต่างกันไป บุคคลแรก ผู้ที่มัก

โกรธ แสดงถึงความเป็นปุถุชน บุคคลที่สอง แสดงถึงพระเสขะบุคคล คือ พระอริยเจ้า

ที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ และ บุคคลที่สาม แสดงถึง พระอรหันต์ ผุ้ที่ดับกิเลส

แล้ว

บุคคลแรก ผู้ที่มักโกรธ ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่สะสมมา

และ ไม่มีใครที่มักโกรธ แต่ เป็นแต่เพียงธรรมเท่านั้น และ ควรย้อนกลับมาที่ตนเอง

ว่า เป็นบุคคลเช่นนั้นหรือไม่ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า ยังมีความโกรธ มักโกรธ อยู่

หนทาง คือ ไม่ใช่การจะไม่ให้โกรธ เพราะ ยังไม่มีปัญญา แต่หนทาง คือ เห็นประโยชน์

ของการศึกษาธรรม เพราะเป็นเหตุให้คิดถูกและละกิเลสไปตามลำดับ ครับ

บุคคลที่สอง แสดงถึง การประจักษ์ความจริง เปรียบกิเลสเหมือนความมืด ปัญญาที่

เป็นมรรคจิต เปรียบเหมือนแสงสว่างที่กำจัดความมืดคือกิเลส

บุคคลที่สาม คือ พระอรหันต์ ย่อมประหารกิเลสหมดสิ้น เปรียบเหมือนเพชรย่อมตัด

ได้ทุกสิ่ง ปัญญาก็ย่อมตัดกิเลสได้หมดสิ้น เช่นกันครับ


ความคิดเห็น 3    โดย เข้าใจ  วันที่ 15 ก.ค. 2555

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 4    โดย nong  วันที่ 16 ก.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย orawan.c  วันที่ 16 ก.ค. 2555

ปุถุชน ย่อม มักโกรธ


ความคิดเห็น 6    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 16 ก.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย ผิน  วันที่ 17 ก.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย daris  วันที่ 18 ก.ค. 2555

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ