๘. อุปวาณสูตร โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมให้อยู่ผาสุก
โดย บ้านธัมมะ  8 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37788

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 215

๘. อุปวาณสูตร

โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมให้อยู่ผาสุก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 215

๘. อุปวาณสูตร

โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมให้อยู่ผาสุก

[๔๐๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุปวาณะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอุปวาณะว่า ท่านอุปวาณะผู้มีอายุ ภิกษุจะพึงรู้หรือไม่ว่า โพชฌงค์ ๗ อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นผาสุก ท่านพระอุปวาณะตอบว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้ว่า โพชฌงค์ ๗ อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก.

[๔๐๔] สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้หรือว่าจิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนเสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากําจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง มิได้ย่อหย่อน ฯลฯ

[๔๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้หรือว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว ถีนมิทธะเราถอนเสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากําจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง มิได้ย่อหย่อน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 24 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 216

[๔๐๖] อ. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้อย่างนี้แลว่า โพชฌงค์อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก.

จบอุปวาณสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุปวาณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปวาณสูตรที่ ๘

บทว่า ปจฺจตฺตํ คือเฉพาะตน. บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย. บทว่า อารพฺภมาโน ได้แก่ กระทำอยู่แล. บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่ หลุดพ้นด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า อฏฺิกตฺวา ได้แก่ กระทำให้เป็นประโยชน์. อธิบายว่า มีความต้องการ.

จบอรรถกถาอุปวาณสูตรที่ ๘