ผมมีข้อสงสัยว่า จิตที่นอกเหนือไปจากทวิปัญจวิญญาณ ถือว่าเป็นมโนวิญญาณ ทุกดวงใช่หรือไม่ คือมโนวิญญาณ นั้นหมายถึงจิตทุกดวง ยกเว้นปัญจวิญญาณ
ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ครับ
มีความหมายและรายละเอียดมากกว่านั้นครับ
คือถ้าเข้าใจการจำแนกจิตทั้งหมด เป็นวิญญาณธาตุ ๗ จะชัดเจนกว่า
ประมวลจิต ๘๙ เป็นวิญญาณธาตุ ๗ ประเภท คือ ...
จักขุวิญญาณธาตุ ๑
โสตวิญญาณธาตุ ๑
ฆานวิญญาณธาตุ ๑
ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑
กายวิญญาณธาตุ ๑
มโนธาตุ ๑
มโนวิญญาณธาตุ ๑
สรุปว่า นอกจากธาตุ ๖ ประเภท ที่เหลือเป็นมโนวิญญาณครับ
แสดงว่า ช่วงปัญจทวารวิถี..................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับร่วมด้วย
และช่วงมโนทวารวิถี........................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับร่วมด้วย
ช่วงพ้นวิถี (คือภวังค์) ..........................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับอยู่ด้วย
เรียนความเห็นที่ ๒ ถูกต้องครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิตที่นอกเหนือจาก จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสปัญจทวาราวัชชนจิต และ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวงที่เป็นกุศลวิบาก และ อกุศลวิบากแล้ว (จิตที่เหลือนอกจากนี้) เป็น มโนวิญญาณ ทั้งหมด ช่วงปัญจทวารวิถี..................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับร่วมด้วย นั่นก็คือ สันตีรณ-จิต ที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนจิต, และ โวฏฐัพพนจิต (กิริยาจิต) เป็นจิตที่เกิดต่อจากสันตีรณจิต หมายถึง มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำโวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวาร,รวมถึง กุศลจิต หรือ อกุศลจิตที่เกิดขึ้น และ ตทาลัมพณจิต อีก ๒ ดวง เป็นมโน-วิญญาณ ช่วงมโนทวารวิถี........................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับร่วมด้วย นั่นก็คือ มโน-ทวาราวัชชนจิต รวมถึง กุศลจิตหรือ อกุศลจิตที่เกิดขึ้น และ ตทาลัมพณจิต ๒ ดวง เป็นมโนวิญญาณ ช่วงพ้นวิถี (คือภวังค์) ..........................ก็มีมโนวิญญาณเกิดดับอยู่ด้วย แสดงให้เห็นว่า ภวังคจิต หมายถึง จิตที่ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้ ที่เรียกว่าภวังคจิตนั้น เรียกตามกิจ เพราะจิตที่ทำกิจภวังค์นั้น เป็นวิบากจิต เป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิต ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ที่ไม่บ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่กำเนิด ก็เป็นผลของมหา-กุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวง (มหาวิบาก ๘) แต่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ผู้บ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่กำเนิด เป็นผลของกุศลอย่างอ่อน (อุเบกขา สันตีรณกุศลวิบาก) ดังนั้น ทั้งมหาวิบาก ๘ และ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ที่ทำกิจภวังค์ ก็เป็นมโนวิญญาณ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอเรียนถามเพิ่มค่ะ ทราบว่า จิต มีชื่อเรียกต่างกัน ๑๐ ชื่อ แต่อยากทราบความแตกต่างระหว่าง ชื่อว่า วิญญาณ และ จิต ค่ะ
จิตมี ๘๙ ดวง
ถ้าเรียกตามชื่อ วิญญาณ ก็มี ทวิปัญจวิญญาณ และ มโนวิญญาณ ยกเว้น มโนธาตุ
แต่ถ้าแบ่งโดยวิญญาณธาตุ ๗ ประเภท มโนธาตุก็คือหนึ่งในวิญญาณธาตุ สรุปก็คือ วิญญาณเหมือนกัน
เหตุใด พระพุทธองค์จึงใช้ชื่อว่า วิญญาณ แทนชื่อว่า จิต ในปฏิจจสมุปบาท เมื่อมันคือสิ่งเดียวกัน
และเหตุใดจึงใช้ชื่อว่า จิตบ้าง วิญญาณบ้าง ทั้งสองคำนี้มีความหมายเหลื่อมล้ำกันอย่างไรคะ
(เหตุเพราะมีชื่อที่แตกต่าง บางคนจึงเข้าใจว่า วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ จิต ไปได้)
เรียนความเห็นที่ ๕
ควรทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในเทศนา ทรงแตกฉานในนิรุติการใช้ภาษาของพระองค์จึงสมบูรณ์แบบ ไพเราะน่าฟัง ดังนั้น ชื่อของจิต
หรือสภาพธรรมที่มีจริงประเภทอื่นๆ จึงมีชื่อที่หลากหลายไปตามอาการที่ปรากฏ...
คือ เห็นว่าการที่ท่านเลือกใช้คำว่า จิต และ วิญญาณ ในแต่ละวาระนั้น น่าจะมีเหตุผล
น่ะค่ะ คุณ prachern.s หรือท่านใด พอจะชี้แจงความแตกต่างสักนิดได้ไหมคะ
ขอคุณมากครับ ที่ให้ความกระจ่าง