ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 114
โศกเพราะภรรยาตาย
สันตติมหาอำมาตย์ กล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย จงตรวจดูนางนั้น" ในขณะสักว่าคำอันชนทั้งหลายกล่าวว่า "หญิงนั้นดับแล้ว นาย" ดังนี้ ถูกความโศกอย่างแรงกล้าครอบงำแล้ว. ในขณะนั้นเอง สุราที่เธอดื่มตลอด ๗ วัน ได้ถึงความเสื่อมหายแล้ว ประหนึ่งหยาดน้ำในกระเบื้อง ที่ร้อนฉะนั้น. เธอคิดว่า "คนอื่น เว้นพระตถาคตเสีย จักไม่อาจเพื่อจะ ยังความโศกของเรานี้ให้ดับได้" มีพลกายแวดล้อมแล้ว ไปสู่สำนักของ พระศาสดาในเวลาเย็น ถวายบังคมแล้ว กราบทูลอย่างนั้นว่า "ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์, ข้าพระองค์ มาแล้ว ก็ด้วยหมายว่า 'พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศก ของ ข้าพระองค์นั้นได้.' ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด" พระศาสดาระงับความโศกของบุคคลได้
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถ เพื่อดับความโศกได้แน่นอน, อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
"กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง, ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป"
ในกาลจบพระคาถา สันตติมหาอำมาตย์ บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบความเป็นไปไม่ได้แห่งอายุสังขารนั้น แล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จง ทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด"
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาคุณหมอครับ
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการอบรมปัญญา และการบรรลุ ธรรมเป็นเรื่องของชีวิตประจำวัน เมื่อถึงเวลาที่จะบรรลุธรรม ไม่ว่ากำลังเศร้าโศก ไม่ว่าจะอยู่ในที่มีคนหมู่มาก แต่เมื่อปัญญาถึงพร้อมก็สามารถเข้าใจความจริงของ สภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ได้ในชีวิตประจำวัน และสามารถดับกิเลสได้โดยอาศัย การฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า อันแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาคุณของพระ พุทธองค์และความบริสุทธิ์ของพระธรรมที่สามารถทำให้หมู่สัตว์บรรลุธรรมได้ครับและ ท่านสันตติมหาอำมาตย์ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ปรินิพพานในวันนั้นเพราะท่าน ไม่บวช เมื่อไม่บวข เพศคฤหัสถ์ไม่สามารถทรงความเป็นพระอรหันต์ได้จึงปรินิพพาน เมื่อท่านปรินิพพาน พวกภิกษุทั้งหลายก็สนทนากันว่าควรจะเรียกท่านว่าเป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ควรเรียกท่านทั้งสอง คือ ทั้งเป็นสมณะและ เป็นพราหมณ์ เพราะท่านดับกิเลสหมดแล้วนั่นเอง ดังพระคาถาที่พระองค์ทรงแสดงว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้าที่ 119
"แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติ ประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก, บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ"
การเป็นสมณะ จึงไม่ใช่เพราะหัวโล้น แต่เพราะดับกิเลสแล้ว การเป็นพราหมณ์ ไม่ใช่การเรียนคัมภีร์พระเวท แต่เป็นผู้ลอยบาปเสียแล้ว จึงเป็นพราหมณ์ ไม่ใช่เป็น ภิกษุ เพียงผู้ขอแต่เพราะดับกิเลสหมดแล้วจึงเป็นภิกษุ แม้ท่านสันตติมหาอำมาตย์ แม้ท่านเป็นเพศคฤหัสถ์แต่เพราะท่านดับกิเลสแล้ว ท่านจึงเป็นทั้งสมณะ เป็นทั้ง พราหมณ์และเป็นทั้งภิกษุครับ
จะเห็นนะครับว่า ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหน จะประดับตกแต่งร่างกายอย่างไร ปัญญา ไม่ไ่ด้กั้นในการที่จะบรรลุธรรมครับ เพราะฉะนั้นสำคัญที่การอบรมเหตุคือการฟังพระ ธรรมครับ
ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก สูงสุด คือ สามารถทำให้ถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสในที่สุด และที่สำคัญต้องเป็นผู้อาศัยการฟังพระธรรม จากพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกมาแล้ว เมื่อถึงความสมบูรณ์พร้อมของปัญญา ก็ทำให้สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ได้ พระอริยบุคคลขั้นสูงสุด คือ พระอรหันต์ เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส ดับกิเลสได้ทั้งหมดไม่มีเหลือ ท่านสันตติมหาอำมาตย์จึงเป็นตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์สูงสุดของการมีโอกาสได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแดสง เมื่อดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว จะเรียกว่า สมณะ หรือ พราหมณ์ ก็ได้ เพราะทั้งสอง แสดงถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลส ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ครับ
สมณะ และ พราหมณ์ [มหาอัสสปุรสูตร]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ,คุณผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่น,คุณเผดิม และทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...
เรื่องสันตติมหาอำมาตย์