[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 679
๖. เกสวชาดก
ความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 679
๖. เกสวชาดก
ความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
[๖๘๒] เป็นอย่างไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชคของข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงละพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์ ซึ่งสามารถให้สําเร็จประ-สงค์ทุกประการ แล้วมายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส.
[๖๘๓] ดูก่อนนารทอํามาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สําเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ใจมีอยู่ ถ้อยคําอันเป็นสุภาษิตของกัปปดาบส ยังอาตมาให้ยินดี.
[๖๘๔] พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกสาลีที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาด ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสมิได้ จึงทําให้พระคุณเจ้ายินดีได้เล่า.
[๖๘๕] ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อยหรือมากก็ตาม บุคคลใดคุ้นเคยกันแล้ว จะพึงบริโภค ณ ที่ใด การบริโภค ณ ที่นั้นแหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 680
ดี เพราะรสทั้งหลาย มีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม.
จบ เกสวชาดกที่ ๖
อรรถกถาเกสวชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภโภชนะแห่งผู้คุ้นเคยกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่ามนุสฺสินฺทํ ชหิตฺวาน ดังนี้.
ได้ยินว่า ในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีภัตตาหารไว้ถวายภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจํา เรือนของท่านเศรษฐีจึงเป็นเสมือนบ่อน้ำของภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิตยกาล เรืองรองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์คลาคล่ําด้วยหมู่ฤๅษีผู้แสวงบุญ. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงกระทําประทักษิณพระนคร ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์ในนิเวศน์ของเศรษฐี ทรงดําริว่า แม้เราก็จักถวายภิกษาหารเป็นประจําแก่ภิกษุ๕๐๐รูป จึงเสด็จไปวิหาร ทรงนมัสการพระศาสดา แล้วทรงเริ่มตั้งภิกษาหารแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจํา นับแต่นั้นมา ก็ทรงถวายภิกษาหารในพระราชนิเวศน์เป็นประจํา. โภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอมซึ่งเก็บไว้ถึง ๓ ปี เป็นของประณีต. ผู้ถวายด้วยมือของตน ด้วยความคุ้นเคยก็ดี ด้วยความสิเนหาก็ดี มิได้มี. พวกข้าหลวงย่อมจัดให้ถวาย. ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาที่จะนั่งฉัน. รับเอาภัตตาหารมีรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 681
เลิศต่างๆ แล้ว ไปยังตระกูลอุปัฏฐากของตนๆ ให้ภัตตาหารแก่พวกอุปัฏฐากเหล่านั้นแล้ว พากันฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐากเหล่านั้นถวายไม่ว่าจะเศร้าหมองหรือประณีต. อยู่มาวันหนึ่ง เขานําผลาผลเป็นอันมากมาถวายพระราชา. ท้าวเธอรับสั่งว่า พวกท่านจงถวายแด่ภิกษุสงฆ์คนทั้งหลายจึงพากันไปยังโรงภัตตาหาร ไม่เห็นภิกษุสักรูปเดียว จึงกราบทูลแก่พระราชาว่า แม้ภิกษุรูปเดียวก็ไม่มี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลากระมัง. คนทั้งหลายกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้ว พระเจ้าข้า แต่ภิกษุทั้งหลายรับภัตตาหารในวังของพระองค์แล้วไปในเรือนแห่งอุปัฏฐากผู้คุ้นเคยของตนๆ ให้ภัตตาหารนั้นแก่อุปัฏฐากเหล่านั้น แล้วฉันภัตตาหารที่อุปัฏฐาก เหล่านั้นถวาย จะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม. พระราชาทรงดําริว่า ภัตตาหารของเราประณีต เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉันภัตตาหารนั้น พากันฉันภัตตาหารอื่น เราจักทูลถามพระศาสดา จึงเสด็จไปพระวิหารทรงนมัสการ แล้วจึงทูลถาม. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตรธรรมดาการบริโภคโภชนะมีความคุ้นเคยกันสําคัญยิ่ง เพราะในพระราชวังของพระองค์ไม่มีผู้เข้าไปตั้งความคุ้นเคย แล้วให้ด้วยความสนิทสนมภิกษุทั้งหลายจึงรับภัตาตาหารแล้วฉันในที่แห่งคนผู้มีความคุ้นเคยแก่ตน มหาบพิตร ชื่อว่ารสอื่นเช่นกับความคุ้นเคย ย่อมไม่มี แม้ของอร่อย ๔ อย่างที่คนผู้ไม่คุ้นเคยให้ ย่อมไม่ถึงค่าสักว่าเปรียงที่คนผู้คุ้นเคยให้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ครั้นเมื่อโรคเกิดขึ้น เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 682
พระราชาแม้ทรงพาหมอทั้ง ๕ ตระกูลไปให้กระทํายา เมื่อโรคไม่สงบ ได้ไปยังสํานักของคนผู้คุ้นเคยกัน บริโภคยาคูอันทําด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือยซึ่งไม่เค็ม และผักซึ่งลาดด้วยสักแต่ว่าน้ำเปล่า ไม่มีรสเค็ม ก็หายโรคอันพระราชานั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐบิดามารดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กัปปกุมาร. กัปปกุมารนั้นเจริญวัยแล้วเรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลา ภายหลังต่อมา ได้บวชเป็นฤๅษี.ครั้งนั้น เกสวดาบสห้อมล้อมด้วยดาบส ๕๐๐ รูป เป็นครูของคณะอยู่ในหิมวันตประเทศ. พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสํานักของเกสวดาบสนั้นอยู่เป็นอันเตราสิกผู้ใหญ่แห่งอันเตวาสิก ๕๐๐ รูป. แท้จริง อัธยาศัยใจคอของพระโพธิสัตว์นั้น ได้มีความสนิทสนมต่อเกสวดาบส. ดาบสเหล่านั้นได้เป็นผู้คุ้นเคยกันและกันยิ่งนัก จําเนียรกาลนานมา เกสวดาบสได้พาดาบสเหล่านั้นไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว ถึงนครพาราณสีแล้วอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นเข้ไปสู่พระนครเพื่อภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูพระราชวัง. พระราชาทรงเห็นหมู่ฤๅษีจึงให้ไปนิมนต์มาแล้วให้ฉันในภายในพระราชนิเวศน์ทรงถือเอาปฏิญญาแล้ว ให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน. ครั้นเมื่อล่วงกาลฤดูฝนแล้ว เกสวดาบสได้ทูลอําลาพระราชา. พระราชาตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 683
ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายเป็นผู้แก่เฒ่า จงอาศัยข้าพเจ้าอยู่ก่อน ส่งแต่ดาบสหนุ่มๆ ไปยังหิมวันตประเทศเถิด. เกสวดาบสรับว่าดีละแล้วส่งดาบสเหล่านั้นพร้อมกับอันเตวาสิกผู้ใหญ่ไปยังหิมวันตประเทศตนเองผู้เดียวยับยั้งอยู่.
ฝ่ายกัปปดาบสก็ไปยังหิมวันตประเทศอยู่กับดาบสทั้งหลาย.เกสวดาบสเมื่ออยู่เหินห่างกัปปดาบสก็รําคาญใจ เป็นผู้ใคร่จะเห็นกัปปดาบสนั้นไม่เป็นอันได้หลับนอน. เมื่อเกวสดาบสนั้นนอนไม่หลับอาหารก็ไม่ย่อยไปด้วยดี โรคลงโลหิตก็ได้เกิดมีขึ้น ทุกขเวทนาเป็นไปอย่าแรงกล้า. พระราชาทรงพาแพทย์๕ สกุลมาปรนนิบัติพระดาบส. โรคก็ไม่สงบ. เกสวดาบสทูลพระราชาว่า มหาบพิตรพระองค์ปรารถนาให้อาตมภาพตาย หรือปรารถนาให้หายโรค.พระราชาตรัสว่า ปรารถนาให้หายโรคซิท่านผู้เจริญ. เกสวดาบสทูลว่าถ้าอย่างนั้น พระองค์จึงส่งอาตมภาพไปยังหิมวันประเทศ. พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ แล้วทรงส่งนารทอํามาตย์ไปด้วยพระดํารัสว่า ท่านจงพาท่านผู้เจริญไปหิมวันตประเทศพร้อมกับพวกพรานป่า.นารทอํามาตย์นําเกสวดาบสนั้นไปหิมวันตประเทศแล้วกลับมา. ฝ่ายเกสวดาบส เมื่อพอได้เห็นกัปปดาบสเท่านั้น โรคทางใจก็สงบ ความกระสันรําคาญใจก็ระงับไป. ลําดับนั้น กัปปดาบสได้ให้ยาคูที่หุงด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือยพร้อมกับผักที่ลาดรดด้วยน้ำเปล่าซึ่งไม่เค็มไม่ได้อบแก่เกสวดาบสนั้น โรคลงโลหิตของเกสวดาบสนั้นก็สงบระงับลงในขณะนั้นเอง. พระราชาทรงส่งนารทอํามาตย์นั้นไปอีก ด้วยรับสั่งว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 684
เธอจงไปฟังข่าวคราวของเกสวดาบสดูทีเถิด. นารทอํามาตย์นั้นไปแล้วได้เห็นเกสวดาบสนั้นหายโรคแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์ ๕ ตระกูลมาปรนนิบัติ ไม่อาจทําท่านให้หายโรค กัปปดาบสปรนนิบัติท่านอย่างไร? แล้วกล่าวคาถาที่๑ ว่า :-
เป็นอย่างไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชคจึงละพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้ทําความประสงค์ทั้งปวงให้สําเร็จได้ มายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสินฺทํ ได้แก่ พระเจ้าพาราณสีผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์. บทว่า กถํ นุ ภควา เกสี ความว่าเพราะอุบายอะไรหนอ เกสวดาบสผู้มีโชคของพวกเรารูปนี้ จึงยินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส. นารทอํามาตย์ทําทีเสมือนเจรจากับคนอื่น ถามถึงเหตุในความยินดียิ่งของเกสวดาบส ด้วยประการอย่างนี้.
เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่๒ ว่า :-
ดูก่อนนารทอํามาตย์ สิ่งอันน่ารื่นรมย์ใจซึ่งยังประโยชน์ให้สําเร็จมีอยู่ หมู่ไม้อันทําใจให้รื่นรมย์มีอยู่ แต่ถ้อยคําอันเป็นสุภาษิตของกัปปดาบส ย่อมทําให้เราอภิรมย์ยินดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 685
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วกฺขา ได้แก่ ต้นไม้. แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า รุกฺขา. บทว่า สุภาสิตานิ ความว่า ถ้อยคําสุภาษิตที่กัปปดาบสกล่าว ย่อมทําเราให้อภิรมย์ยินดี.
ก็แหละ เกสวดาบสครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า กัปปดาบสทําเราให้ยินดีอยู่อย่างนี้ จึงให้เราดื่มยาคูที่หุงด้วยข้าวฟ่างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ลาดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่นพยาธิในร่างกายของเราสงบระงับเพราะข้าวยาคูนั้น เราเป็นผู้หายโรคแล้ว. นารทอํามาตย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่๓ ว่า :-
พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดมาแล้ว ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสมิได้ จึงทําให้พระคุณ-เจ้ายินดีได้เล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภฺุเช แปลว่า บริโภคแล้ว.อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นาทยนฺติ ได้แก่ให้ยินดี คือให้อิ่มเอิบชอบใจ ก็เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านจึงลงนิคหิต. ท่านกล่าวคําอธิบายไว้ว่า ไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสเค็มมิได้นี้ จึงทําท่านผู้บริโภคภัตแห่งข้าวสาลีอันปรุงด้วยมังสะที่สะอาด สมควรแก่พระราชาในราชสกุล ให้อิ่มเอิบ ยินดีได้คือว่า ไฉนท่านจึงชอบใจอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 686
เกสวดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-
ของบริโภคจะดีหรือไม่ดีก็ตาม จะน้อยหรือมากก็ตาม บุคคลผู้คุ้นเคยกันแล้วบริโภคในที่ใด การบริโภคในที่นั้นแหละดีเพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิวาสาธุํ ตัดเป็น ยทิวาอสาธุํ แปลว่าไม่มีก็ตาม. บทว่า วิสฺสฏโความว่า เป็นผู้ปราศจากความรังเกียจ ถึงความคุ้นเคยกัน. บทว่า ยตฺถ ภฺุเชยฺย ความว่าพึงบริโภคอย่างนี้ในนิเวศน์ใด โภชนะชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งบริโภคแล้วอย่างนี้ในนิเวศน์นั้น เป็นดีทั้งนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยกันเป็นยอดเยี่ยม อธิบายว่า รสทั้งหลายชื่อว่ามีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม เพราะความคุ้นเคยเป็นยอดเยี่ยม คือสูงสุดแห่งรสทั้งหลายเหล่านี้. เพราะขึ้นชื่อว่ารสจะเสมอกับรสคือความคุ้นเคยกันย่อมไม่มี เหตุนั้นโภชนาหารแม้มีรสอร่อย ๔ อย่างที่คนผู้ไม่คุ้นเคยจัดให้ ย่อมไม่ถึงค่าน้ำส้มและน้ำข้าวที่คนผู้คุ้นเคยกันจัดให้แล้ว.
นารทอํามาตย์ได้ฟังคําของเกสวดาบนั้นแล้ว จึงไปยังราชสํานักกราบทูลว่า เกสวดาบสกล่าวคําชื่อนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 687
พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์นารทอํามาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร เกสวดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นพกมหาพรหม ส่วนกัปปดาบส คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเกสวชาดกที่ ๖