การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
โดย lokiya  22 ธ.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 45363

ข้อความในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค นิพเพธิกปัญญาสูตร ที่กล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย มีความหมายโดยละเอียดอย่างไรครับ



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 23 ธ.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า โยนิโสมนสิการ ไม่ว่าจะปรากฏในพระสูตรใดหรือส่วนใดของพระธรรมคำสอน ก็จะมีความหมายเหมือนกัน ไม่แตกต่างกันเลย แปลโดยความหมายได้ว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การใส่ใจอย่างแยบคาย, การใส่ใจอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ตัวตนที่ไปทำ แต่เป็นธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ กระทำไว้ในใจหรือใส่ใจอย่างถูกต้องแยบคาย ในขณะที่เป็นกุศล โดยสภาพของโยนิโสมนสิการ คือ กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย
ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นโยนิโสมนสิการ ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็เป็นอโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่โยนิโสมนสิการ

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าใครจะทำโยนิโส หรือว่าใครจะใช้โยนิโส แต่ว่าสภาพธรรมต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สำหรับบุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม เห็นประโยชน์ของพระธรรม ก็ทำให้พิจารณาใส่ใจในพระธรรมที่ได้ฟังด้วยความถูกต้อง เป็นเหตุเกื้อกูลให้ปัญญาเจริญขึ้น ได้ สภาพธรรมทั้งหลายก็อาศัยและกัน เกื้อกูลกันและกัน ครับ
...ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย chatchai.k  วันที่ 23 ธ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย lokiya  วันที่ 23 ธ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 24 ธ.ค. 2565

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ วันหนึ่งสามเณร เห็นคนไขน้ำเข้านา ช่างศรดัดศรให้ตรง ท่านพิจารณาว่าบัณฑิตควรเป็นผู้ฝึกตนขัดเกลากิเลสได้ค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย capacitor4  วันที่ 27 ธ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ