ธรรมกับคนรุ่นใหม่
โดย nattawan  24 ก.ย. 2566
หัวข้อหมายเลข 46593

กราบนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

บ้านธัมมะ 3 มิ.ย. 66 เรื่องธรรมกับคนรุ่นใหม่

คุณพชระ บุญญาสัย สนทนากับทอจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ อ.คำปั่น อักษรวิลัย

อ.คำปั่น : ผู้สะสมเหตุที่ดีมา คือ การฟังพระธรรม ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นกับคนผู้นั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่าหรือว่ารุ่นใหม่ วัยไหนก็ตาม ถ้ามีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ประโยชน์คือความเข้าใจย่อมเกิดกับผู้นั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ว่าจะวัยใด เพศใดก็ตาม ความเข้าใจถูกไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นเป็นไปได้เลย

วันนี้จะได้พบกับผู้สะสมเหตุที่ดีมา ได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมตั้งแต่อายุ 21 ปี คือ คุณพชระ บุญญาสัย สมาชิกชมรมบ้านธรรมะลำดับที่ 4890

ทอจ : มีอะไรที่ต่างกันระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่เพราะว่าความเห็นต่างกันมาก บางคนคิดว่าคนรุ่นเก่าล้าสมัยไม่รู้อะไรของคนยุคนี้เลย

คุณพชระ : แล้วแต่บุคคล บางคนก็มีความคิดที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง คนยุคนี้

ทอจ : คนยุคนี้สนใจเฉพาะเหตุการณ์เฉพาะหน้าในยุคนี้เท่านั้น

พ : ผมเข้ากับคนรุ่นไหนก็ได้ถ้าเป็นคนดี!!!

ค : ในความเป็นคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ... ในความเป็นธรรมะจริงๆ ที่จะเกื้อกูลให้เข้าใจในความเป็นธรรมะจริงๆ คืออย่างไร!!!

ทอจ : คิดว่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความจริงว่ารุ่นหมายถึงอะไร ... หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือว่าอะไร ... หรือสิ่งแวดล้อม แต่ความเป็นจริงเท่ากัน เหมือนกันหรือต่างกัน หรือว่ามีอะไรที่มากน้อยกว่ากัน แล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล

ค : เหตุอะไรทำให้ได้มาศึกษาพระธรรม!!

พ : คิดว่าสังคมไทยเติบโตมาพร้อมกับความเชื่อในเรื่องต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งครอบครัวก็เป็นหนึ่งในนั้น ก็ปลูกฝังมา และด้วยวัฒนธรรมในไทยก็มีพระพุทธศาสนาเข้ามาสัมพันธ์กันอยู่ แต่ละคนก็มีทัศนคติเกี่ยวกับศาสนา และพระสงฆ์แตกต่างกัน ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น จนกระทั่งพี่ชาย (คุณพฤฒ บุญญาสัย) ได้มาพบอาจารย์สุจินต์ก่อน ก็ได้ยิน ได้ฟังธรรม และแนะนำส่งต่อให้คุณแม่และผมฟังต่อ ซึ่งเมื่อได้ฟังก็รู้สึกว่าเป็นการฟังพระธรรมที่ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อนเลย ค่อยๆ พยายามศึกษา ฟังและพิจารณาต่อมาเรื่อยๆ

ทอจ : ได้ฟังอะไรจากพี่ชายที่ทำให้รู้สึกว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน!!!

พ : เริ่มจากบทสวดมนต์ ผมสวดมนต์เยอะมาก หลายคาถาเลยตั้งแต่ ม. 2 เพราะกลุ่มกลัวผีมาก (กลัวเพราะไม่รู้ว่าผีคืออะไร เป็นยังไง ด้วยความเป็นเด็กประสบการณ์น้อย ใครพูดอะไรก็เชื่อไปหมด โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เลย) จึงสวดกันผี ไม่ทราบว่ากันผีได้ไหมเพราะไม่เคยเห็น สวดตั้งแต่ อิติปิโส พาหุง ชยปริตร ชินบัญชร มงคลจักรวาลใหญ่และน้อย พระคาถาโพธิบาท เข้าใจว่าทุกรุ่นคงสวดกันคละๆ กันไป

มีความเชื่อลึกๆ ว่าทำให้ชีวิตดีขึ้นได้บ้าง ซึ่งปัจจุบันพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ผิด

ทอจ : คุณพชระเคยกลัวผี แต่พอเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร ก็ไม่กลัวแล้วใช่ไหม!!

พ : ไม่กลัวแล้วครับ

ทอจ : แต่มีคนกลัวผีตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันอายุมากยังกลัว นี่คือความต่างกันของการสะสมกับความเป็นเหตุที่จะให้หายกลัว ถ้ามีเหตุที่จะให้หายกลัวด้วยความเข้าใจถูกต้อง ก็รู้ว่าผีเป็นอะไรและไม่ต้องกลัวผีอีกต่อไป

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ

เชิญคลิกชม

รายการบ้านธัมมะ 3 มิถุนายน 2566 เรื่อง ธรรมกับคนรุ่นใหม่



ความคิดเห็น 1    โดย nattawan  วันที่ 24 ก.ย. 2566

ทอจ : เคยฟังสนทนาธรรมของมูลนิธิกับแขกรับเชิญต่างๆ ไหม รู้สึกอย่างไร!!

พ : เคยครับ เริ่มแรกรู้สึกไม่พอใจเพราะว่าอาจารย์ถามซ้ำในคำถามที่ผู้ถามๆ อาจารย์ เพราะเขาอาจไม่เข้าใจคำถามที่ตัวเองถาม อาจารย์ก็เลยถามซ้ำเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ถามนั้นเข้าใจในสิ่งที่ถามหรือเปล่า!!

ทอจ : ทำให้ไม่พอใจหรือ!!

พ : ไม่พอใจ เพราะยังไม่ได้คำตอบครับ

ทอจ : ถ้าไม่คิดเองฟังคนอื่นแล้วเชื่อหรือ ... หรือว่าต้องคิดด้วยตัวเองว่าคำตอบนั้นทำให้เข้าใจหรือเปล่า ก่อนที่จะเชื่อ เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่คนจะฟังคำตอบแล้วก็เชื่อ ส่วนใหญ่ทุกคนไม่ชอบและถามคำถามเดียวกันว่าทำไมไม่ตอบ!!! แต่รู้ไหมถ้าตอบแล้วจะเข้าใจไหม!!! ถ้าไม่ไตร่ตรอง ไม่คิดเองว่าอะไรถูกอะไรผิด เพียงแต่ฟังแล้วมีคำตอบอยู่แล้วก็เชื่อหรือ!!! ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ... ไปถามสำหรับจะเชื่อคำตอบ

คุณพชระนับเป็นคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่าก็ไม่ชอบใช่ไหม!!

ค : หลากหลายตามการสะสม เพราะว่าการค่อยๆ เข้าใจธรรมะก็หลากหลาย บางคนก็เหมือนกับน้องพชระ อาจจะไม่พอใจ แต่พอฟังไปๆ เห็นว่าที่มีการถามซ้ำบ่อยๆ เพื่อประโยชน์ให้ผู้ฟังได้คิดพิจารณาว่า ความจริงคืออย่างไร ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นครับ

ทอจ : ฟังอยู่นานไหมกว่าจะรู้ว่าเป็นประโยชน์!!

พ : ระยะเวลาหนึ่งครับ ฟังมาเรื่อยๆ ๆ จนความไม่พอใจค่อยๆ หายไปๆ แล้วได้ประโยชน์ ถ้าอาจารย์ไม่ถามซ้ำก็ไม่ได้ประโยชน์ครับ

ทอจ : เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีเหตุผลว่า ... การเข้าใจต้องมาจากการได้ฟังคำ ... ซึ่งทำให้ไตร่ตรองคิดเอง

ค : ช่วงที่พี่ชายแนะนำให้ฟังท่านอาจารย์ และเตือนว่าที่ทำอยู่นั้นมีเหตุมีผลหรือไม่ คำเตือนนั้นทำให้เห็นถึงความหวังดีของพี่ชายมากน้อยเพียงใด!!

พ : ต้องพูดตรงๆ เลยถึงจะเข้าใจ พี่ชายถามว่าแปลออกไหมในสิ่งที่สวดๆ แล้วได้อะไร!! ผมก็เลยฉุกคิดได้ว่าแปลไม่ได้ จึงตอบไม่ได้ว่าการสวดนั้นมีประโยชน์หรือไม่อย่างไร

เลยเริ่มหาคำแปล ซึ่งพิจารณาดูแล้วไม่เกี่ยวกับกันผี หรือว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้นในลักษณะที่ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ... หรืออะไรเลย

ทอจ : แล้วพี่ชายสามารถทำให้น้องเข้าใจถูกต้องโดยคำถามว่า ได้ประโยชน์อะไร ... เข้าใจไหม ... แปลได้ไหม .. เริ่มคิดใช่ไหม!!!

พ : เริ่มคิดได้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นอาจไม่ถูกต้อง 100% เพราะไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร และผลลัพธ์ก็ไม่เห็นเป็นที่ประจักษ์ นอกจากเราคิดไปเองมากกว่า

ทอจ : แล้วเลิกสวดมนต์ทันทีหรือเปล่า!!

พ : ค่อยๆ เลิกทีละน้อยๆ จนกระทั่งหยุดไปเลย

ทอจ : เดี๋ยวนี้สวดสั้นๆ มีไหม!!

พ : สวดในลักษณะที่นึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

ทอจ : ก็เป็นประโยชน์มาก คือไม่เพียงแต่พูดแล้วไม่รู้ว่า กำลังพูดอะไร แต่นี่เพราะรู้คุณของพระองค์ มีคำที่กล่าวระลึกถึงคุณ ซึ่งคนอื่นอาจจะสวดไปโดยไม่รู้คุณก็ได้

ค : เป็นประโยชน์และ เป็นข้อคิดเตือนใจอย่างยิ่งสำหรับคนที่เคยสวดเหมือนมาก่อน ให้เข้าใจว่า คำว่ามนต์คืออะไร แล้วที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเพื่ออะไร ถ้าไม่ได้ฟัง จะไม่มีวันได้เข้าใจเลยครับ

มนต์ (มันตรา) หมายถึง ปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะจ้า พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงเป็นพุทธมนต์ คือ เป็นพระปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น แต่ละคำที่ทรงแสดง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง บทต่างๆ เช่น มงคลสูตร พระองค์ทรงแสดงมงคลสูตร 38 ประการ ในภาษามคธที่คนยุคนั้นเข้าใจ พอแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ความละเอียดลึกซึ้งตรงกับคำในภาษาบาลีทุกอย่าง เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมดไม่ใช่สำหรับเอามาท่องหรือสวด แต่ให้ศึกษาให้เข้าใจแต่ละคำอย่างถูกต้องจริงๆ

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย nattawan  วันที่ 24 ก.ย. 2566

พ : ผมสนใจอาชีพไวยาวัจกร

ค : ไม่ใช่อาชีพครับ

ทอจ : ถ้าไม่เริ่มให้ถูกต้อง ... ผิดตั้งแต่ต้น

พ : ผมอยากทราบความหมายของคำว่าไวยาวัจกรว่าคืออะไร และเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้หรือไม่อย่างไร!!

ค : ไวยาวะจะ : ขวนขวาย

กะระ : กระทำ

รวมกันหมายถึง ผู้ที่กระทำในสิ่งที่เหมาะควรกับใคร!! กับเพศพระภิกษุ คือคฤหัสถ์ ไม่ใช่มีใครไปแต่งตั้ง แต่ผู้นั้นเห็นประโยชน์ที่จะอนุเคราะห์เกื้อกูลช่วยเหลือพระภิกษุในกิจบางอย่างที่ท่านไม่สามารถกระทำได้ แต่คฤหัสถ์สามารถช่วยเหลือท่านเพื่อไม่ให้ทำผิดพระธรรมวินัย คือ ผู้ที่ทำสิ่งที่เหมาะควรถวายแด่พระภิกษุ จะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในพระธรรมวินัย จึงสามารถทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ใช่ไวยาวัจกร

สิ่งที่สำคัญคือ ความเข้าใจในพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เช่น เงินไม่เหมาะควรกับพระภิกษุ พระภิกษุรับเงินไม่ได้ คฤหัสน์จึงนำเงินไปไว้กับไวยาวัจกร เพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลถวายแด่พระภิกษุ ไวยาวัจกรก็จะนำเงินส่วนนี้ไปซื้ออาหารบ้าง สิ่งที่เหมาะควรกับพระภิกษุบ้าง ไปถวายพระภิกษุ

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย nattawan  วันที่ 24 ก.ย. 2566

ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง ความเข้าใจธรรมะคือความเข้าใจในสิ่งที่กำลังมีกำลังเป็นไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ เพศใด วัยใด หากได้มีโอกาสได้เริ่มศึกษาธรรมะ ก็สามารถที่จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ได้

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย nattawan  วันที่ 24 ก.ย. 2566

วันคืน

ไม่ควรให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 24 ก.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง