เห็นบางท่านสอนประมาณว่า
ไม่มีอะไรเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์
ไม่ใช่เราที่ตายแล้วก็ไปเกิดใหม่แล้วก็ตายแล้วก็ไปเกิดใหม่อยู่เรื่อยๆ
ไม่มีอะไรที่ตายแล้วเวียนว่ายไปเกิดใหม่
เพราะจริงๆ แล้วไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล
ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตน
การคิดว่ามีสิ่งที่เป็นตัวเป็นตน คอยเวียนว่ายไม่สิ้นสุด
คิดอย่างนี้เข้าใจผิด
อยากถามว่าท่านกล่าวไว้อย่างนั้นถูกต้องหรือไม่ อย่างไรครับ?
ขอบคุณครับ...
'u'
ไม่มีอะไรเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์
ไม่ใช่เราที่ตายแล้วก็ไปเกิดใหม่แล้วก็ตายแล้วก็ไปเกิดใหม่อยู่เรื่อยๆ
ไม่มีอะไรที่ตายแล้วเวียนว่ายไปเกิดใหม่
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๐๕
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ยังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านกล่าวว่า สังสาระ. -----------------------------------
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั้น เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวันทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สุข ทุกข์ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นลิ้มรส ถูกต้องกระทบสัมผัส คิดนึก กุศล อกุศล เป็นต้น ซึ่งชาติก่อนๆ อย่างนับไม่ถ้วนก็เคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว เคยเกิด เคยแก่ เคยเจ็บ เคยตาย เคยสุข เคยทุกข์มาแล้วทั้งนั้น ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากความเป็นไปของสภาพธรรม คือ นามธรรม และรูปธรรม
เพราะฉะนั้นสังสารวัฏฏ์ จะยังหมดสิ้นไปไม่ได้ เนื่องจากว่ายังมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้มีการเกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วตายอีกอยู่ ซึ่งนั่นก็คือ เพราะยังเป็นผู้มีกิเลส ยังละกิเลสอะไรๆ ไม่ได้ นั่นเอง เมื่อได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม ฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจที่ถูกต้องไปตามลำดับ ก็จะทำให้เป็นผู้มีความมั่นคงในความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ก็ไม่พ้นไปจากจิต เจตสิก และรูป เลย มีอยู่เพียงเท่านี้เอง ที่สมมติเป็นสัตว์ บุคคล เป็นคนนั้นคนนี้ ก็เพราะมีสภาพธรรมเหล่านี้ แต่เพราะยังไม่เข้าใจ จึงมีความยึดถือผิดว่า เป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธคำพูดที่พูดกันหรือสื่อสารกันอย่างเป็นปกติในทุกๆ วัน ที่สำคัญคือความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ถ้าเช่นนั้น ประโยคที่ว่า " พวกเรา และเหล่าสรรพสัตว์ที่ยังไม่หมดกิเลสนั้น เวียนว่าย
ตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ " ประโยคนี้ก็ถูก โดยบัญญัติ แต่ไม่ถูกต้อง โดยปรมัตถ์ เนื่อง
จากโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล และไม่มี "เรา" เข้าใจเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่
อย่างไรครับ? ขอบคุณครับ
นาย A ชาตินี้เป็น อเหตุกบุคคล ก่อนตายมีโมหะ ตายแล้วไปเกิดเป็น สุนัข B
จากสุนัข B ตายแล้วไปเกิดเป็น เทวดาแบบทวิเหตุกบุคคล มีชื่อว่า เทวดา C
จากเทวดา C ตายแล้วไปเกิดเป็น นาง D
นาง D ตายแล้วไปเกิดเป็น เปรต E
เปรต E ตายแล้วไปเกิดเป็น ชาวนรก F
ชาวนรก F ตายแล้วไปเกิดเป็น มนุษย์แบบติเหตุกะบุคคลมีชื่อว่า นาย G
นาย G ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุอรหันตผล จากนั้นนิพพานแล้วจึงไม่ต้องเกิดอีก
คำถามครับ
1 บุคคล A ถึง G เป็นบุคคลคนๆ เดียวกันหรือไม่ อย่างไรครับ?
2 หากไม่มีสัตว์และบุคคล แล้วบุคคล A ถึง G นี้หมายความว่าอย่างไรครับ?
3 คำตอบที่ถูกต้องคือ มีโดยบัญญัติ แต่ไม่มีโดยปรมัตถ์ ใช่หรือไม่อย่างไรครับ เคยได้ยินมาว่าพอบรรลุอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีเธอในอดีต ไม่มีเธอในปัจจุบัน ไ่่ม่มีเธอในอนาคต ตรงนี้เกี่ยวข้องกันด้วยใช่หรือไม่ครับ?
ขอบคุณครับ
'u'
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15695 ความคิดเห็นที่ 5 โดย ขอธรรมทาน
ถ้าเช่นนั้น ประโยคที่ว่า " พวกเรา และเหล่าสรรพสัตว์ที่ยังไม่หมดกิเลสนั้น เวียนว่าย
ตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ " ประโยคนี้ก็ถูก โดยบัญญัติ แต่ไม่ถูกต้อง โดยปรมัตถ์ เนื่อง
จากโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล และไม่มี "เรา" เข้าใจเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่
อย่างไรครับ? ขอบคุณครับ
ความถูกต้องคือความเข้าใจถูกอันเป็นเรื่องของปัญญา เป็นนามธรรมครับ เพราะฉะนั้น
ใช้คำเดียวกัน แต่ความเข้าใจต่างกันก็ได้ครับ เช่นใช้คำว่า " พวกเรา และเหล่าสรรพ
สัตว์ที่ยังไม่หมดกิเลสนั้น เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ " พูดเหมือนกัน ความเข้า-
ใจต่างกัน คือเข้าใจว่ามีสัตว์บุคคลจริงๆ ที่เวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นความเข้าใจผิด หรือ
เข้าใจด้วยปัญญาในภายใน แต่แสดงสื่อออกมาโดยสมมติว่าหากยังมีกิเลส สัตว์ก็ยัง
เวียนว่ายตายเกิด แต่พูดด้วยความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นจะถูกหรือผิด ต้องขึ้นอยู่กับ
ความเข้าใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำที่ใช้ตายตัวแล้วจะต้องถูกหมด
เมื่อพูดคำนี้ แต่ถูกต้องไม่ถูกต้องสำคัญที่ปัญญา ความเข้าใจครับ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15695 ความคิดเห็นที่ 6 โดย ขอธรรมทาน
นาย A ชาตินี้เป็น อเหตุกบุคคล ก่อนตายมีโมหะ ตายแล้วไปเกิดเป็น สุนัข B
จากสุนัข B ตายแล้วไปเกิดเป็น เทวดาแบบทวิเหตุกบุคคล มีชื่อว่า เทวดา C
จากเทวดา C ตายแล้วไปเกิดเป็น นาง D
นาง D ตายแล้วไปเกิดเป็น เปรต E
เปรต E ตายแล้วไปเกิดเป็น ชาวนรก F
ชาวนรก F ตายแล้วไปเกิดเป็น มนุษย์แบบติเหตุกะบุคคลมีชื่อว่า นาย G
นาย G ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุอรหันตผล จากนั้นนิพพานแล้วจึงไม่ต้องเกิดอีก
คำถามครับ
1 บุคคล A ถึง G เป็นบุคคลคนๆ เดียวกันหรือไม่ อย่างไรครับ?
2 หากไม่มีสัตว์และบุคคล แล้วบุคคล A ถึง G นี้หมายความว่าอย่างไรครับ?
3 คำตอบที่ถูกต้องคือ มีโดยบัญญัติ แต่ไม่มีโดยปรมัตถ์ ใช่หรือไม่อย่างไรครับ เคยได้ยินมาว่าพอบรรลุอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีเธอในอดีต ไม่มีเธอในปัจจุบัน ไ่่ม่มีเธอในอนาคต ตรงนี้เกี่ยวข้องกันด้วยใช่หรือไม่ครับ?
ขอบคุณครับ
'u'
จากคำถามสรุปก็คือ การเวียนว่ายตายเกิดว่าเป็นบุคคลเดียวกันไหม ซึ่งเราต้องมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนครับว่าไม่มีสัตว์ บุคคลที่เวียนว่ายตาย
เกิดแต่เป็นเพียง สภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อกันเท่านั้นเอง จากจุติจิตไปปฏิสนธิแล้วก็
จิตดวงอื่นๆ เกิดดับสืบต่อกันไป หากมีความเข้าใจถูกแล้วเราก็สามารถใช้บัญญัติเพื่อให้
สามารถสื่อสารได้ถูกเพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นใคร คนไหน ใครได้รับผลของกรรม เป็นต้น
ตอบข้อที่ 1 จะเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะเป็นคนละคนก็ไม่ใช่ ยกอุปมาดังนี้ครับ เทียน
ที่เราจุดไว้ตลอดทั้งคืน เปลวไฟของเทียนตอนหัวค่ำ กับเปลวไฟของเทียนตอน-
เที่ยงคืน ใช่เปลวไฟอันเดียวกันไหม คำตอบคือไม่ใช่ครับ แล้วเปลวไฟของเทียนตอน
เที่ยนคืนเป็นเปลวไฟตอนจะสว่างหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ใช่ครับ ถ้าอย่างนั้นก็เป็น
เทียนคนละเล่มใช่ไหมสำหรับเปลวไฟทั้ง 3 เวลา คำตอบก็คือไม่ใช่ก็เป็นเทียนเล่ม
เดียวกันครับ
เพราะฉะนั้นก็คือเพราะอาศัยความสืบต่อของเปลวไฟของเทียนในช่วงหัวค่ำต่อมา
ทำให้มีเปลวไฟของเทียนตอนเที่ยงคืนครับ ฉันใด เพราะอาศัยการเกิดดับสืบต่อของ
จิต เจตสิกทีละขณะจากจุติไปเป็นปฏิสนธิและจิตดวงอื่นๆ เกิดต่อจนถึงจุติและก็ไป
ปฏิสนธิอีกวนเวียนอย่างนี้ จะกล่าวเป็นคนละคนก็ไม่ใช่ เป็นคนเดียวก็ไม่ใช่ครับ
เพราะอาศัยความสืบต่อของสภาพธรรมนั่นเองครับ แล้วจึงบัญญัติว่าเป็นคนนั้นเกิด
ตาย ไปเกิดเป็นคนนั้นคนนี้ แต่ต้องมีความเข้าใจถูกตามที่กล่าวมาในตัวหนังสือสีฟ้า
ข้างต้นครับ
2.บัญญัติให้หมายรู้กันว่าเป็นคนนั้นคนนี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าใครได้รับผลของกรรม และเหตุผลอื่นๆ เป็นต้น แต่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจถูกว่าเป็นสภาพธรรมเท่านั้น
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ [อรรถกถาอนังคณสูตร]
3. ใช่ครับมีจริงโดยสมมติบัญญัติเท่านั้น มีจริงในที่นี้คือบัญญัติห้เข้าใจตรงกันเท่านั้น
เอง แต่ความจริงแท้คือปรมัตแล้วไม่มีจริง มีจริงแต่สภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูปเท่า
นั้นครับ
ส่วนในเรื่องพระอรหันต์ที่ยกมา จริงๆ แล้วไม่ว่าบุคคลใดก็ไม่มีใครในอดีต ไม่มีใครใน
อนาคตและปัจจุบันแต่มีสภาพธรรมเท่านั้นครับ แต่ที่เรียกว่าเป็นคนนี้คนนี้ในอดีต
ปัจจุบัน อนาคตเพื่อเข้าใจตรงกันในโดยสมมติซึ่งสามารถอ่านลิ้งที่ทำให้เกี่ยวกับเรื่อง
เหตุที่ตรัสบุคคลกถา 8 ประการข้างบนโดยละเอียดจะเข้าใจขึ้นครับ ขออนุโมทนา
ธรรมทั้งหลาย ย่อมไหลมาจากเหตุ มีเหตุเป็นแดนเกิด สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือสิ่งที่กำลัง
ปรากฏทางตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อย่างนี้นี่เอง...
สัจจะแบ่งเป็น เป็นสมมติสัจจะ และ ปรมัตถสัจจะ
ดังนั้นสมัยเด็กๆ ที่เขาสอนว่ามีบุคคลเวียนว่ายตายเกิด
ก็ถูกโดยเพียงสมมุิติสัจจะ เท่านั้นนั่นเอง
ขอบคุณ อ.เผดิม มากๆ ครับ
ขออนุโมทนาในเมตตาจิตและธรรมทานที่แสดงไว้ดีแล้วครับ
ปล..
ส่วนที่บางท่านกล่าวว่าไม่มีสัตว์และบุคคลเวียนว่ายในสังสารวัฏฏ์
ก็จริงอีก แต่จริงโดยปรมัตถสัจจะ
เพราะจริงๆ แล้วมีเป็นเพียงความสืบต่อของสภาพธรรมเท่านั้น
ส่วนประโยคที่อ้างอิงคำพูดของท่านมานั้น จะถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องแล้วแต่ความเข้าใจ ภายในใจจริงๆ ของแต่ละคนต่างหาก ผู้ที่จะเห็นแจ้งแทงตลอดจริงก็ต้องเป็นผู้ที่เห็นปรมัตถธรรมด้วยตนเอง เข้าใจถูก ไม่ใช่ยกมา หรือจำมาพูดแล้วหมายปนเปกันกับสมมุิติสัจจะ ซึ่งอาจจะทำให้ชาวโลก (ที่ยังใช้สมมุัติสัจจะกัน) เกิดสับสนได้
'u'
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ