สุขวรรค ที่ ๑๕ ว่าด้วยความสุขที่แท้จริง
โดย บ้านธัมมะ  26 ก.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 34952

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 360

สุขวรรค ที่ ๑๕

ว่าด้วยความสุขที่แท้จริง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 42]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 360

คาถาธรรมบท

สุขวรรค (๑) ที่ ๑๕

ว่าด้วยความสุขที่แท้จริง.

[๒๕] ๑. ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเราไม่มีเวร เป็นอยู่สบายดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเราไม่มีเวรอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือด- ร้อนกัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อน เป็นอยู่สบายดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อนอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ขวนขวายกัน พวกเราไม่มีความขวนขวาย เป็นอยู่สบายดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความขวนขวายน้อย พวกเราไม่มีความขวนขวายอยู่.

๒. เราผู้ซึ่งไม่มีกิเลสชาตเครื่องกังวล ย่อมเป็นอยู่สบายดีหนอ เราจักเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา เหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ.

๓. ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข.

๔. ไฟเสมอด้วยราคะย่อมไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ย่อมไม่มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.

๕. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลาย


๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๘ เรื่อง.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า 361

เป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว (กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

๖. ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมีความคุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

๗. บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสพระนิพพานเป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป.

๘. การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลเป็นการดี การอยู่ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็นพวกคนพาล เพราะว่าคนเที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน ความอยู่ร่วมกับพวกคนพาล ให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วมด้วยศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดีเช่นนั้น เหมือนพระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์ฉะนั้น.

จบสุขวรรคที่ ๑๕