[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 221
๘. มหิสชาดก
ว่าด้วยลิงกับควาย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 221
๘. มหิสชาดก
ว่าด้วยลิงกับควาย
[๔๓๓] ท่านอาศัยเหตุอะไรจึงอดกลั้นทุกข์นี้ ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร ดุจเป็นเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง
[๔๓๔] ท่านจงขวิดมันเสียด้วยเขา จงเหยียบเสียด้วยเท้า ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะพึงเบียดเบียนร่ําไป.
[๔๓๕] เมื่อลิงตัวนี้สําคัญควายตัวอื่น เป็นดุจข้าพเจ้า จักกระทําอนาจารอย่างนี้แก่ควายตัวอื่น ควายเหล่านั้นก็จะฆ่ามันเสียในที่นั้นความพ้นอันนั้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.
จบ มหิสชาดกที่ ๘
อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภลิงโลเลตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า กิมตฺถมภิสนฺธายดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีลิงโลเลที่เขาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ในตระกูลหนึ่ง ได้ไปยังโรงช้าง นั่งบนหลังช้างผู้มีศีลตัวหนึ่งถ่ายอุจจาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 222
ปัสสาวะ และเดินไปเดินมาบนหลัง. ช้างก็ไม่ทําอะไรเพราะตนมีศีลถึงพร้อมด้วยความอดทน. ครั้นวันหนึ่งลูกช้างดุตัวหนึ่ง ได้ยินอยู่ในที่ของช้างเชือกนั้น. ลิงได้ขึ้นหลังช้างดุด้วยสําคัญว่า ช้างนี้ก็คือช้างนั้นนั่นแหละ. ลําดับนั้น ลูกช้างดุนั้น เอางวงจับลิงนั้นไว้ด้วยความรวดเร็วแล้วฟาดลงที่พื้นดิน เอาเท้าเหยียบขยี้ให้แหลกลานไป.ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุสงฆ์. ครั้นวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าลิงโลเลขึ้นหลังช้างดุ ด้วยสําคัญว่าเป็นช้างผู้มีศีล เมื่อเป็นเช่นนั้นช้างดุเชือกนั้นก็ทําให้ลิงโลเลตัวนั้นถึงความสิ้นชีวิต. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่ลิงโลเลตัวนั้นเป็นผู้มีปกติเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วก็มีปกติเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดกระบืออยู่ในหิมวันตประเทศพอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกําลังแรง มีร่างกายใหญ่ ท่องเที่ยวไปตามเชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขาและป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสําราญแห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 223
โคนไม้นั้น. ครั้งนั้นมีลิงโลนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นบนหลังของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหางแกว่งไปแกว่งมาเล่น. พระโพธิสัตว์มิได้ใส่ใจอนาจารนั้น ของลิงโลนตัวนั้น เพราะประกอบด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู. ลิงกระทําอย่างนั้นนั่นแลบ่อยๆ . ครั้นวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้นยืนอยู่ที่ลําตันของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพระยากระบือ เพราะเหตุไร ท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่วตัวนี้ ท่านจงเกียดกันมันเสีย เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงได้กล่าว๒ คาถาแรกว่า :-
ท่านอาศัยเหตุอะไรจึงอดกลั้นทุกข์นี้ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตรประหนึ่งเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง. ท่านจงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียดเสียด้วยเท้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่เขลาก็จะเบียดเบียนร่ําไป.
บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า กิมตฺถมภิสุนฺธาย ได้แก่ อาศัยเหตุอะไรหนอ คือเห็นอะไรอยู่. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มักประทุษร้ายมิตร. บทว่า สพฺพกามทุหสฺเสว ได้แก่ ดุจเป็นเจ้าของผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า ติติกฺขสิ แปลว่า อดกลั้น. บทว่าปทสาว อธิฏห ความว่า ท่านจงเหยียบมันด้วยเท้า และขวิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 224
มันด้วยปลายเขาอันคมกริบ โดยประการที่มันจะตายอยู่ในที่นี้ทีเดียวด้วยบทว่า ภิยฺโย พาลา นี้ ท่านแสดงว่า ก็ถ้าท่านจะไม่ห้ามปรามมัน สัตว์ที่โง่เขลา คือสัตว์ที่ไม่รู้จะพึงข่มขี่ ย่ํายี เบียดเบียนบ่อยๆ .
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านรุกขเทวดา ถ้าเราเป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาลเป็นต้น จักไม่อดกลั้นโทษของลิงตัวนี้ไซร้ มโนรถความปรารถนาของเรา จักถึงความสําเร็จได้อย่างไร ก็ลิงตัวนี้เมื่อสําคัญแม้ผู้อื่นว่าเหมือนดังเราจักกระทําอนาจารอย่างนี้ แต่นั้น มันจักกระทําอย่างนี้แก่กระบือดุร้ายเหล่าใด กระบือดุร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้น เราก็จักพ้นจากทุกข์และปาณาติบาต แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เมื่อลิงตัวนี้สําคัญกระบือตัวอื่นเป็นดุจข้าพเจ้าจักกระทําอนาจารอย่างนี้แก่กระบือตัวอื่น กระบือเหล่านั้นจักฆ่ามันเสียในที่นั้นอันนั้นความหลุดพ้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.
ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒ - ๓ วัน พระโพธิสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อื่น.กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้น. ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุตัวนั้นด้วยสําคัญว่า กระบือตัวนี้ ก็คือกระบือตัวนั้นแหละ แล้วการทําอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ. ลําดับนั้น กระบือดุตัวนั้นสลัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 225
ลิงนั้นให้ตกลงบนพื้นดิน เอาเขาขวิดที่หัวใจเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดกว่า กระบือดุร้ายในครั้งนั้น ได้เป็นช้างดุร้ายตัวนี้ในบัดนี้ ลิงชั่วช้าในครั้งนั้น ได้เป็นลิงตัวนี้ในบัดนี้ ส่วนพระยากระบือในครั้งนั้นคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘