ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยและเป็นที่พึ่งอันสูงสุด
การนินทา เช่นนินทาต่อผู้มีพระคุณ เช่น ป้าที่เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กจนจบการศึกษา เช่น กล่าวว่า ท่านไม่น่าเลี้ยงแบบนั้น แบบนี้ เลี้ยงไม่เป็น ไม่มีจิตของความเป็นแม่แท้ๆ เลี้ยงด้วยเงิน เลี้ยงเพราะหวังว่าจะมาเลี้ยงตอบ แต่ไม่ได้มีจิตมุ่งร้ายเพียงนินทา คุยถึงเหตุผล คุยถึงที่มาที่ไปกับน้องแท้ๆ ของเราที่เคยอยู่กับป้ามาเหมือนกัน (แต่ปัจจุบันไม่อยู่แล้ว และคนส่วนใหญ่หลายคนที่อยู่กับป้าไม่มีใครทนได้ เพราะท่านปากร้ายใจดีครับ แต่ผมต้องทนครับ เพราะนึกถึงคำว่า กตัญญู ตัวเดียวครับ ไม่ต้องการให้ท่านพูดออกมาว่าอกตัญญูครับ) และไม่ได้พูดกับผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เรื่องราว เช่นนี้มีผลบาปหรือไม่ครับ หรือว่าบาปแค่ไหนครับ
ขออนุโมทนาครับ
อันที่จริงผู้ที่พูดย่อมรู้จักจิตของตนว่าขณะที่พูดไปต่างๆ พูดด้วยจิตอะไร สำหรับผู้ที่มีอุปการะคุณที่เลี้ยงเรามาไม่ควรกระทำหรือพูดอะไรทำให้ท่านต้องเสียใจเลยพระธรรมสอนว่า ควรเคารพสักการะผู้ที่มีบุญคุณต่อเราครับ
ก็ถ้าท่านปากร้ายใจดี ไม่น่าต้องใช้คำว่าทนอยู่กับท่านนี่คะ ควรเป็นการอยู่กับท่านด้วยความเข้าใจและระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความกตัญญูจริงๆ มากกว่านะคะ ไม่ว่าจะอย่างไร ท่านก็เมตตาเลี้ยงดูหลานๆ มาจนโตไม่ใช่เหรอคะ
บัณฑิตแม้คนอื่นทำคุณให้เพียงครั้งเดียวก็ไม่ลืม และทดแทนคุณให้ไม่หมด เช่น พระสารีบุตร ได้ข้าวทัพพีเดียวจากราธะก็ไม่ลืมบุญคุณ ภายหลังราธะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
00481 อย่าได้กล่าวคำหยาบ
" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ , ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ, เพราะการกล่าวแข่งขันกันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ, ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกกำจัดแล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน, การกล่าวแข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๘๓
ธรรมเตือนใจวันที่ : 09-03-2551
00483 เมื่อผู้ทำความผิด
เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความ สงสารเป็นพิเศษ.
[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก
เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ ๖๑๐
ธรรมเตือนใจวันที่ : 11-03-2551
ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะรู้ได้แน่นอนว่า บาป หรือไม่บาปครับ แต่สิ่งที่สำคัญควบคู่กันไปด้วยคือ การพิจารณาความควร ไม่ควร ด้วยหลักตัดสินคือ พระธรรมครับ ...อนุโมทนาครับ