บูชาพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม
โดย เมตตา  20 พ.ย. 2557
หัวข้อหมายเลข 25803

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

ข้อความบางตอนจาก

คาถาที่ว่า อเสวนา จ พาลานํ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต โดยธรรมทั้งปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล. บัดนี้

เมื่อจะทรงสรรเสริญการบูชาบุคคลผู้เข้าถึงความเป็นผู้ควรบูชา โดยลำดับ ด้วยการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสว่า ปูชาจปูชเนยฺยานํมงคลํ การบูชาผู้ที่ควรบูชาเป็นมงคล. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าข้า ชื่อว่า ปูชเนยยะเพราะทรง เว้นจากโทษทุกอย่าง และเพราะทรงประกอบด้วยคุณทุกอย่าง

และภายหลังจากนั้น ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่าปูชเนยยะ. จริงอยู่การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อย ก็เป็นประโยชน์สุข ตลอดกาลยาวนาน. ในข้อนี้ มีเรื่องนายสุมนมาลาการและนางมัลสิกาเป็นต้น เป็นตัวอย่างใน ๒ เรื่องนั้น จะกล่าวแต่เรื่องเดียว พอเป็นตัวอย่าง. ความว่า เช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ขณะนั้น นายช่างดอกไม้ชื่อ สุมนมาลาการ กำลังเดินถือดอกไม้สำหรับพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงประตูกรุงผ่องใสน่าเลื่อมใสประดับด้วยพระมหาปุริ- สลักษณะ ๓๒ ประการและพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการรุ่งเรื่องด้วยพระพุทธสิริ ครั้นเห็นแล้ว เขาก็คิดว่า พระราชาทรงรับดอกไม้แล้วก็จะพึงประทานทรัพย์ ร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง ก็อันนั้นก็จะพึงเป็นความสุขเพียงโลกนี้เท่านั้น. แต่การ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมจะมีผลประมาณไม่ได้ นับไม่ถ้วนนำประโยชน์สุข มาให้ตลอดกาลยาวนาน. เอาเถิดจำเราจะบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้ เหล่านั้น ดังนี้เขามีจิตเลื่อมใส จับดอกไม้กำหนึ่งเหวี่ยงไปเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศประดิษฐานเป็นเพดานดอก ไม้อยู่เหนือพระผู้มีพระภาคเจ้า. นายมาลาการเห็นอานุภาพนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ยิ่งขึ้น จึงเหวี่ยงดอกไม้ไปอีกกำหนึ่ง แม้ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไปประดิษฐาน เป็นเกราะดอกไม้. นายมาลาการเหวี่ยงดอกไม้ไป ๘ กำ อย่างนี้ ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไปประดิษฐานเป็นเรือนยอดดอกไม้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเรือนยอด มหาชนก็ชุมนุมกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นนายมาลาการ ก็ทรงทำอาการแย้มให้ปรากฏ พระอานนทเถระก็ทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้มด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย จะไม่ทรงแย้มให้ปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ นายมาลาการผู้นี้จักท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์แสนกัปป์ ด้วยอานุภาพของการบูชานี้แล้วในที่สุดก็จักเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า นามว่าสุมนิสสระ. ตรัสจบก็ได้ตรัสพระคำถาม เพื่อทรงแสดงธรรมว่า

ตญฺจกมฺมํกตํสาธุยํกตฺวานานุตปฺปติ ยสฺสปตีโตสุมโนวิปากํปฏิเสติ.

บุคคลทำธรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนกายหลังบุคคลใจดีเอิบอิ่มแล้วเสวยผลของกรรมใดกรรมนั้นทำแล้วดี.

จบคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อยพึงทราบว่า มีประโยชน์สุขตลอดก็ยาวนาน ด้วยประการฉะนี้. ก็การบูชานั้นเป็นอามิสบูชา จะป่วยกล่าวไปไยในปฏิบัติบูชา เพราะกุลบุตรเหล่าใด บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการรับสรณคมน์และสิกขาบท ด้วยการสมาทานองค์อุโบสถ และด้วยคุณทั้งหลายของตน มีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น ใครเล่าจักพรรณนาผลแห่งการบูชาของกุลบุตรเหล่านั้นได้. ด้วยว่า

กุลบุตรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า บูชาพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ผู้ใดแลไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม ผู้นั้นชื่อว่าสักการะเคารพนับถือบูชายำเกรงนอบน้อมตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม.



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 20 พ.ย. 2557

ความที่การบูชาแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนำมา ซึ่งประโยชน์สุข พึงทราบตามแนวนี้.

อนึ่ง สำหรับ คฤหัสถ์ พึงทราบปูชเนยยบุคคลในข้อนี้อย่างนี้ คือ ผู้เจริญที่สุด ทั้งพี่ชาย ทั้งพี่สาว ชื่อว่าปูชเนยยบุคคลของน้อง มารดาบิดา เป็นปูชเนยยบุคคลของบุตร สามีพ่อผัวแม่ผัวเป็นปูชเนยยบุคคลของกุลสตรี ทั้งหลาย ด้วยว่า การบูชาปูชเนยยบุคคลแม้เหล่านั้น เป็นมงคลทั้งนั้น เพราะนับว่าเป็นกุศลธรรม และเพราะเป็นเหตุเจริญอายุเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสไว้ดังนี้ว่า- ชนเหล่านั้น จักเป็นผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ. เกื้อกูลพราหมณ์ เป็นผู้นอบน้อมผู้ใหญ่ในสกุล ยังจัก ยึดถือกุศลธรรมนี้ปฏิบัติ ก็จักเจริญทั้งอายุ จักเจริญทั้งวรรณะ เพราะเหตุ สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้ว่า กล่าวสมุฏฐานเป็นที่ เกิดมงคล แล้วกำหนดมงคลนั้น จะชี้แจงความของมงคลนั้น ฉะนั้น จึงขอ ชี้แจงดังนี้ พระผู้พระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๓ มงคลคือ การไม่คนพาล การคบบัณฑิต และการบูชาผู้ที่ควรบูชา ด้วยประการฉะนี้. ในมงคลทั้ง ๓ นั้น

พึงทราบว่าการไม่คบพาลชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง ประโยชน์ของโลกทั้งสอง เหตุป้องกัน ภัยมีภัยเกิดแต่คบพาลเป็นปัจจัยเป็นต้น การคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชา ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง นิพพานและสุคติ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในการพรรณนาความเพิ่มพูนแห่งผล ของการคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชานั้นนั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักยังไม่ แสดงหัวข้อต่อจากนี้ไป จักกำหนดข้อที่เป็นมงคลอย่างนี้ จึงจักชี้แจงความที่ข้อนั้น เป็นมงคล

จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ


ความคิดเห็น 2    โดย swanjariya  วันที่ 3 ต.ค. 2560

อนุโมทนาขอบคุณมากค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย chatchai.k  วันที่ 20 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น