นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••
สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันเสาร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๙
เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น.
เสขสูตร และ หานิสูตร
จาก.. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - เริ่มหน้าที่ 78
นำการสนทนาโดย..
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร
ขอเชิญท่านอ่านพระสูตรนี้ได้ในกรอบต่อไปนะครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 78
๘. เสขสูตร
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็น ผู้ชอบการงาน ๑
ความเป็นผู้ชอบคุย ๑
ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
ความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑
กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุไม่สำเหนียกในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนี้ ดังนี้ ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑
ความเป็นไม่ชอบคุย ๑
ความ เป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑
ความเป็นผู้ไม่ชอบบุคคลคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
ความผู้เป็นผมครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
ความเป็นรู้จัก ประมาณในโภชนะ ๑
กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุสำเหนียก ในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนั้น ดังนี้ ไม่ต้อง ขวนขวายด้วยตนเอง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ
จบ เสขสูตรที่ ๘
อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘
เสขสูตรที่ ๘ มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ภิกษุเหล่าใด ย่อมนำไปซึ่งภาระเพราะช่วยทำกิจของสงฆ์ ที่เกิดขึ้นแล้วให้สำเร็จ เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้นำภาระ
บทว่า เต เตน ปญฺายิสฺสนฺติ ความว่า พระเถระเหล่านั้นจักปรากฏ ด้วยกิจที่สมควร ก็ความเป็นพระเถระของตนนั้น
บทว่า โว โยค อาปชฺชติ ความว่า ย่อมถึงการประกอบ คือ เริ่มทำกิจเหล่านั้นเอง
จบ อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 78
๙. หานิสูตร
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสก
ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ละเลยการฟังธรรม ๑
ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอก ศาสนานี้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่อุบาสก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่อุบาสก ๗ ประการ เป็นไฉน คือ อุบาสก
ไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑
ศึกษาในอธิศีล ๑
มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษ ฟังธรรม ๑
ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑
กระทำสักการะก่อน ในเขตบุญในศาสนานี้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่อุบาสก อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการ นี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
อุบาสกใดไม่ขาด การเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการ ฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใส เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียน ปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะ ก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
จบ หานิสูตรที่ ๙
อรรถกถาหานิสูตรที่ ๙
หานิสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ภิกฺขุทสฺสน หาเปติ ความว่า ทำการไปเยี่ยมภิกษุสงฆ์ ให้เสียไป
บทว่า อธิสีเล ได้แก่ ในศีลอันสูงสุด กล่าวคือศีล ๕ และ ศีล ๑๐
บทว่า อิโต พหิทฺธา ได้แก่ นอกพระศาสนานี้
บทว่า ทุกฺขิเณยฺย คเวสติ ความว่า แสวงหาบุคคลผู้รับไทยธรรม
บทนี้ อิธ จ ปุพฺพการ กโรติ ความว่า ให้ทานแก่พวกเดียรถีย์ภายนอก (พระศาสนา) เหล่านั้น แล้วจึงถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง คำที่เหลือในบทว่าทั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล
จบ อรรถกถาหานิสูตรที่ ๙
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาทุกท่านที่นำเอาพระสูตรมาแสดงไว้ ขอให้ทำตลอดไปนะคะเพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ไปที่มูลนิธิได้อ่านด้วย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น