ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขุสูตร
อยู่เป็นสุข
ภิกษุได้คุ้มครองดีแล้วซึ่งทวารเหล่านี้
คือ ตา หู จมูก ลี้น กาย และ ใจ
รู้จักประมาณในโภชนะ และ สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมถึงความสุข คือ สุขกาย สุขใจ
ภิกษุเช่นนั้น มีกายไม่ถูกไฟ คือความทุกช์แผดเผา
มีใจไม่ถูกไฟ คือความทุกข์แผดเผา
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันกลางคืน.
.................
ผู้ไม่ถึงความสุข คือ สุขกาย สุขใจ
[๖๔] ๑. อินทริยาคุตตทวารบุคคล
บุคคลผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นไฉน?
ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ในข้อนั้นเป็นไฉน?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยตา
เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ
อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัส
พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ จักษุนี้อยู่
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์
คือ จักษุใด เป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือจักษุนั้น
ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ จักษุ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในอินทรีย์
คือจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต
เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ใจใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมอินทรีย์ คือ ใจนั้น ย่อมไม่รักษาอินทรีย์ คือ ใจ ย่อมไม่ถึงความ
สำรวมอินทรีย์ คือ ใจ การไม่คุ้มครอง การไม่ปกครอง การไม่รักษา การไม่
สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านั้นอันใด นี้ชื่อว่า ความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย.
๒. โภชเนอมัตตัญญูบุคคล
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะเป็นไฉน?
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะในข้อนั้น เป็นไฉน? บุคคล
บางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาแล้ว โดยแยบคาย บริโภคซึ่งอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
มัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในโภชนะนั้น ความไม่พิจารณาในโภชนะอันใด นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในโภชนะนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
................
รู้จักประมาณในอาหาร
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ค่ะ....
ผู้รู้จักประมาณในโภชนะเป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
กราบอนุโมทนาครับ
อนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ