อรรถกถาอินทริยยมก
โดย บ้านธัมมะ  19 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42183

[เล่มที่ 84] พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๖

ยมก ภาคที่ ๒

อรรถกถาอินทริยยมก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 84]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1128

อรรถกถาอินทริยยมก

    บัดนี้เป็นการพรรณนา อันทริยยมก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในลำดับต่างจากธรรมยมก เพราะทรงรวบรวมธรรมทั้งหลายมีกุศลธรรมเป็นต้น ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมกเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ได้อยู่ ในอินทริยยมกนั้นพึงทราบการกำหนดพระบาลี โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธยมกเป็นต้น.

ก็แม้ในอินทริยยมกนี้ มหาวาระ ๓ มีปัณณัตติวาระเป็นต้นและอนันตรวาระ ที่เหลือก็เป็นเช่นกับที่มาแล้วในยมกทั้งหลายมีขันธ-ยมกเป็นต้น พร้อมด้วยประเภทแห่งกาลเป็นต้น แต่ว่ายมกทั้งหลายมีมากกว่าธาตุยมกเพราะความที่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีมาก ก็ท่านไม่ประกอบ ชิวหายตนะ และกายายตนะ กับด้วย จักขวายตนะ และจักขุธาตุ ในนัยอันมีจักขวายตนะและจักขุธาตุเป็นมูล ในปุคคลวาระเป็นต้น ในหนหลัง และไม่ถือเอายมกทั้งหลาย มีชิวหายตนะและกายายตนะเป็นมูล ฉันใด แม้ในอินทริยยมกนี้ ท่านก็ไม่ประกอบชิวหินทรีย์และกายินทรีย์ ในนัยอันมีจักขุนทรีย์เป็นมูล และไม่ถือเอายมกทั้งหลายที่มีชิวหินทรีย์ และกายินทรีย์เป็นมูล ฉันนั้น พึงทราบเหตุในการไม่ถือเอายมกทั้งหลายเหล่านั้น ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในยมกนั้นนั่นแหละ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1129

    ส่วน มนินทรีย์ พึงทราบว่า ท่านประกอบแล้วด้วยมูลทั้งหลายมีจักขุนทรีย์เป็นมูลเป็นต้น ฉันใด แม้กับมูลทั้งหลายมีอิตถินทรีย์เป็นมูล ก็ฉันนั้นนั่นแหละ มนินทรีย์ย่อมถึงการประกอบ เพราะเหตุใดเพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านไม่ประกอบแล้ว โดยลำดับ บทที่วางไว้ (แต่) ประกอบไว้ในที่สุดกับมูลทั้งหลายมีจักขุนทรีย์เป็นต้น แม้ทั้งหมด.

ท่านประกอบอิตถินทรีย์ กับ จักขุนทรีย์, ปุริสินทรีย์ กับจักขุนทรีย์, ชีวิตินทรีย์ กับ จักขุนทรีย์, สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทม-นัสสินทรีย์ไม่มีในปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ถือเอา.

โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ท่านถือเอาแล้วในปฏิสนธิเพราะเกิดมีพร้อมกับการเกิดขึ้น อินทรีย์ ๕ อย่างมีสัทธินทรีย์เป็นต้นก็เหมือนอย่างนั้น อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตร ๓ อย่าง ท่านก็ไม่ถือเอาเพราะไม่มีในปฏิสนธิ อินทรีย์เหล่าใดท่านถือเอาแล้วด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พึงทราบการนับยมกในนัยอันมีจักขุนทรีย์เป็นมูลในอินทริยยมกนี้ ด้วยประการฉะนี้ ก็ในที่นี้พึงทราบการนับยมกในนัยอันมีจักขุนทรีย์เป็นมูลในที่นี้ฉันใด ในที่ทั้งปวง ก็ฉันนั้น พึงทราบการกำหนดพระบาลีในวาระทั้งหลายอย่างนี้ก่อนว่า ก็ยมกเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วควรนับยมกทั้งหลายด้วยสามารถแห่งยมกเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนับ พึงนับด้วยสามารถแห่งโมฆะปุจฉา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1130

    ก็ในการวินิจฉัยเนื้อความนี้ พึงทราบนัยมุขนี้ดังต่อไปนี้.

คำว่า สจกฺขุกานํ น อตฺถีนํ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งสัตว์ทั้งหลายที่มีรูป มีพรหมปาริสัชชาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งบุรุษเพศและผู้ไม่มีเพศ เพราะว่าอิตถินทรีย์ย่อมไม่เกิดแก่พรหมบุรุษเพศ และผู้ไม่มีเพศเหล่านั้น.

คำว่า สจกฺขุกานํ น ปุรสานํ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งรูปพรหมด้วย แห่งสตรีเพศและบุคคลผู้ไม่มีเพศด้วย เพราะว่าปุริสินทรีย์ย่อมไม่เกิดแก่รูปพรหม สตรีและผู้ไม่มีเพศเหล่านั้น.

คำว่า อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ชีวิตินฺทริยํ อุปฺ-ปชฺชติ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ทั้งหลายในเอกโวการภพ จตุโวการภพและในกามธาตุ.

คำว่า สจกฺขุกานํ วินา โสมนสฺเสน ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วยมหาวิบากปฏิสนธิ ๔ ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขา.

คำว่า สจกฺขุกานํ วินา อุเปกฺขาย ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ปฏิสนธิพร้อมด้วยโสมนัส.

คำว่า อุเปกฺขาย อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอเหตุกปฏิสนธิ.

คำว่า อเหตุกานํ ท่านกล่าวแล้วเพราะความไม่มีแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธินทรีย์เป็นต้น กับด้วยอเหตุกปฏิสนธิ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1131

    จริงอยู่ ในอเหตุกปฏิสนธิ ย่อมไม่มีศรัทธา สติ ปัญญา แน่-นอน แต่สมาธิและวิริยะ ย่อมไม่ถึงความเป็นอินทรีย์.

คำว่า สเหตุกานํ อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจคัพภเสยยกสัตว์ และพรหมที่ไม่มีรูป ก็พวกสเหตุกะอื่นชื่อว่า อจกฺขุโก = ไม่มีจักขุ ย่อมไม่มี.

คำว่า สจกฺขุกานํ อเหตุกานํ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ในอบายด้วยสามารถแห่งโอปปาติกะ.

คำว่า สจกฺขุกานํ าณวปฺปยุตฺตานํ ท่านกล่าวหมายเอาสัตว์ที่ปฏิสนธิด้วยเหตุสอง ในกามธาตุ.

คำว่า สจกฺขุกานํ าณสมฺปยุตฺตานํ กล่าวหมายเอารูปพรหมด้วย เทวดาและมนุษย์ในกามาวจรด้วย.

คำว่า าณสมฺปยุตฺตานํ อจกฺขุกานํ ท่านกล่าวหมายเอาอรูปพรหม และติเหตุกสัตว์ผู้เกิดในครรภ์.

ในชีวิตินทรีย์มูล คำว่า วินา โสมนสฺเสน อุปฺปชฺชนฺตานํท่านกล่าวหมายเอาชีวิตินทรีย์แม้ทั้งสองอย่าง.

คำว่า ปวตฺเต โสมนสฺสวิปฺปยุตฺตจิตฺตสฺส อุปฺปาทกฺขเณท่านกล่าวหมายเอาอรูปชีวิตินทรีย์.

พึงทราบการประกอบ ชีวิตินทรีย์ด้วยสามารถปฏิสนธิ และปวัตติ แม้ในที่ทั้งปวงโดยนัยนี้ แม้ในมูลทั้งหลายมีโสมนัสสินทรีย์


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1132

เป็นมูลเป็นต้น พึงถือเอาเนื้อความด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิและปวัตตินั้นแหละ แต่ในปฏิโลมนัย ในนิโรธวาระ พึงทราบการเกิด การไม่เกิด การดับ และการไม่ดับ ในจุติ ปฏิสนธิ และปวัตติ แม้ทั้ง ๓กาลด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วย เหล่าอื่นด้วยตามที่ได้.

ใน อนาคตวาระ คำว่า เอเตเนว๑ ภาเวน ดังนี้ อธิบายว่าด้วยการถือเอาปุริสปฏิสนธินั้นแหละ เพราะไม่ถึงซึ่งอิตถีภาวะ ในลำดับด้วยปุริสภาวะนั้นนั่นแหละ.

คำวิสัชนาว่า กติจิ ภเว ทสฺเสตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติอธิบายว่า บุรุษใดถือเอาแล้วซึ่งปฏิสนธิในภูมิไรๆ ไม่ถึงแล้วซึ่งอิตถี-ภาวะ จักปรินิพพาน เทียว (หมายความว่าเกิดในภพใดด้วยเพศใดจักปรินิพพานด้วยเพศนั้นในภพนั้น)

แม้ในปัญหาที่สองก็นัยนี้ ก็บทว่า มนินทรีย์ด้วยไม่เคยเกิดในภังคขณะแห่งอุปัตติจิตของสุทธาวาสพรหม ดังนี้ ในอตีตวาระด้วยปัจจุบันวาระ (ปัจจุปันนาตีตวาระ) อธิบายว่า บัณฑิตไม่ถือเอาเนื้อความด้วยอำนาจการก้าวล่วงอุปาทขณะเหมือนกับในจิตตยมก แต่ควรถือเอาด้วยอำนาจแห่งการไม่เคยเกิดขึ้นในภพนั้น พึงทราบการวินิจฉัยเนื้อความในปวัตติวาระ แม้ทั้งหมดโดยนัยมุขนี้.

ก็ใน ปริญญาวาระ ท่านแสดงจักขุโสตยมกอย่างเดียวเท่านั้นในมูลทั้งหลายมีจักขุมูลเป็นต้น ก็เพราะท่านแสดงอินทรีย์ทั้งหลายที่บุคคลไม่ควรกำหนดรู้ ที่เป็นโลกิยอัพยากตะด้วย ที่เจือด้วยโลกิยอัพ-


๑. บาลีใช้ เอเตเนว อรรถกถาใช้ เอเกเนว


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 19 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ยมก เล่ม ๖ ภาค ๒ - หน้า 1133

ยากตะด้วย แม้ที่เหลือ เหตุนั้นท่านจึงแสตงอินทรีย์ ที่ท่านไม่แสดงเหล่านั้น โดยนัยนี้นั่นเทียว ก็เพราะอกุศลเป็นธรรมอันบุคคลพึงละโดยส่วนเดียว กุศลพึงเจริญโดยส่วนเดียว โลกุตตระอันเป็นอัพยากตะอันบุคคลพึงทำให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมละโทม-นัสสินทรีย์ ย่อมเจริญอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งอัญญาตาวินทรีย์ ก็อัญญินทรีย์บุคคลควรเจริญก็มี ควรทำให้แจ้งก็มี อัญญินทรีย์นั้นท่านถือเอาด้วยอำนาจการภาวนา (การทำให้เจริญ)

ในคำทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า เทฺว ปุคฺคลา ได้แก่ ผู้พร้อม-เพรียงด้วยสกทาคามี และผู้พร้อมเพรียงด้วยอรหัตตมรรค ในบุคคลทั้งสองนั้น คนหนึ่งชื่อว่า ย่อมไม่ละโทมนัสสินทรีย์ เพราะไม่สามารถตัดขาดได้ คนหนึ่งชื่อว่า ย่อมไม่ละโทมนัส เพราะความที่ท่านละโทมนัสสินทรีย์แล้ว.

บทว่า จกฺขุนฺทฺริยํ น ปริชานาติ ได้แก่ย่อมไม่รู้ทั่ว เพราะความที่แห่งท่านไม่สามารถยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำวิสัชชนาทั้งปวงโดยนัยนี้.

อรรถกถาอิตทริยยมก จบ