๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก ว่าด้วยคนร้องไห้ถึงคนตาย เป็นคนโง่เขลา
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35911

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 903

๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก

ว่าด้วยคนร้องไห้ถึงคนตาย เป็นคนโง่เขลา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 903

๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก

ว่าด้วยคนร้องไห้ถึงคนตาย เป็นคนโง่เขลา

[๑๔๓๓] ท่านประดับแล้วด้วยอาภรณ์ต่างๆ มี ต่างหูเกลี้ยงเกลา ทัดทรงระเบียบดอกไม้ ลูบไล้กระแจะจันทน์ สีเหลือง ท่านมีทุกข์อะไรหรือ จึงมากอดอกคร่ำครวญ อยู่ในกลางป่า.

[๑๔๓๔] เรือนรถงามแพรวพราว แล้วไปด้วยทองคำ ของเรามีอยู่แล้ว เราหาล้อทั้ง ๒ ของเรือนรถนั้น ยังไม่ได้ ด้วยความทุกข์อันนั้น เราจักตายเป็นแน่.

[๑๔๓๕] ท่านต้องการรถชนิดไร รถทำด้วยทองคำ แก้วมณี โลหะ หรือรูปิยะ จงบอกรถชนิดนั้น แก่เราเถิด เราจะทำรถให้แก่ท่าน จะหาล้อทั้งคู่ ใส่ให้เสร็จ.

[๑๔๓๖] พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ทั้ง ๒ งามผ่องใส อยู่ในวิถี ทั้ง ๒ ลอยไปในอากาศ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 904

รถทองของเรา ย่อมงามด้วยพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้น อันเป็นคู่ล้อ.

[๑๔๓๗] ดูก่อนมาณพ ท่านเป็นพาลแท้ ท่านใดปรารถนา สิ่งที่เขาไม่ปรารถนากัน เราเข้าใจว่า ท่านนั้นจักตายเสียเปล่า ท่านจักไม่ได้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์เลย.

[๑๔๓๘] แม้ความอุทัย แลอัสดงของพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้น ก็ยังปรากฏอยู่ สีสันวรรณะ และวิถีทางของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ทั้ง ๒ ก็ยังปรากฏอยู่ ส่วนบุคคลผู้ ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ปรากฏเลย บรรดาเรา ๒ คน ผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอ จะเป็นคนโง่เขลา ยิ่งกว่ากัน.

[๑๔๓๙] แน่ะมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเราทั้ง ๒ ผู้คร่ำครวญอยู่ เรานี่แหละ เป็นคนโง่เขลา ยิ่งกว่าท่าน เราปรารถนาผู้ตาย ไปยังปรโลกแล้ว เหมือนเด็กร้องไห้ อยากได้พระจันทร์ ฉะนั้น.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 905

[๑๔๔๐] น่าสรรเสริญ ท่านมารดเรา ผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวาย ทั้ง ปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติด เปรียบด้วยน้ำ ฉะนั้น.

[๑๔๔๑] ท่านได้ถอนลูกศร ที่เสียบแทงหทัยของเรา ออกได้แล้ว ได้บรรเทาความโศก ถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำ แล้วหนอ.

[๑๔๔๒] ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้ถอนลูกศรได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่มีความขุ่นมัว เราจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน.

จบ มัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑

อรรถกถามัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกุฎุมพีผู้หนึ่ง ซึ่งลูกตาย จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต มฏฺกุณฑลี ดังนี้.

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี บุตรน้อยน่ารักของกุฎุมพี ผู้เป็นพุทธอุปฐากคนหนึ่ง ได้ตายลง กุฎุมพีเพียบด้วยความเศร้าโศก ถึงบุตร


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 906

ไม่อาบน้ำ ไม่บริโภคอาหาร ไม่ดูแลการงาน ไม่ไปที่บำรุงพระพุทธเจ้า บ่นเพ้ออยู่อย่างเดียวว่า ลูกรัก เจ้าจากพ่อไปก่อนแล้ว เป็นต้น.

พระศาสดา ตรวจดูสัตวโลก เวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัย โสดาปัตติผลของกุฎุมพีนั้น ครั้นรุ่งขึ้น พระองค์ทรงแวดล้อม ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี พอฉันเสร็จ ทรงส่งภิกษุทั้งหลายกลับ พระองค์ทรงมีพระอานันทเถระ เป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จไปที่ประตูเรือนกุฎุมพีนั้น คนทั้งหลายบอกแก่กุฎุมพีว่า พระศาสดาเสด็จมา. ลำดับนั้น คนในเรือนของกุฎุมพี ได้ปูลาดอาสนะ แล้วนิมนต์พระศาสดา ให้ประทับนั่ง ช่วยกันประคองกุฎุมพี มาเฝ้าพระศาสดา กุฎุมพีถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดา ทรงใช้พระวาจาเยือกเย็น กอปรด้วยพระกรุณาทักทาย แล้วตรัสถามว่า. อุบาสก ท่านเศร้าโศกถึงบุตรน้อยหรือ? เมื่อกุฎุมพีกราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า อุบาสก โบราณกบัณฑิต เมื่อลูกตาย ก็เพียบด้วยความเศร้าโศก เที่ยวไป ครั้นได้ฟังถ้อยคำของบัณฑิต รู้โดยถ่องแท้ว่า เป็นฐานะที่ไม่ควรจะได้ แล้วก็มิได้เศร้าโศก แม้น้อยหนึ่งเลย กุฎุมพีนั้น ทูลอาราธนา ให้ตรัสเรื่องราว แล้วทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี บุตรของพราหมณ์ ผู้มีสมบัติมากคนหนึ่ง เมื่ออายุได้ ๑๕, ๑๖ ปี ถูกพยาธิชนิดหนึ่ง เบียดเบียน ตายไปเกิดในเทวโลก ตั้งแต่บุตรนั้นตาย


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 907

พราหมณ์ไปป่าช้า คุ้ยเขี่ยกองฟอน คร่ำครวญอยู่ เลิกละการงานทุกอย่าง เฝ้าแต่เที่ยวเศร้าโศก. เทพบุตรพิจารณาดู เห็นดังนั้น ทรงดำริว่า เราจักทำอุปมาอย่างหนึ่ง ระงับความโศก ครั้นเวลาพราหมณ์ ไปป่าช้า คร่ำครวญอยู่ จึงแปลงเพศเป็นบุตร ของพราหมณ์นั้น ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ยืนอยู่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง เอามือทั้ง ๒ ไว้เหนือศีรษะ ร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง. พราหมณ์ได้ยินเสียง จึงแลดูเทพบุตรจำแลงนั้น กลับได้ความรักในบุตร จึงได้เข้าไปใกล้เทพบุตร เมื่อจะถามว่า พ่อมาณพ เหตุไรเจ้าจึงมาร้องไห้ คร่ำครวญ อยู่กลางป่าช้านี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ท่านประดับแล้ว ด้วยอาภรณ์ต่างๆ มี ต่างหูเกลี้ยงเกลา ทัดทรงระเบียบดอกไม้ ลูบไล้กระแจะจันทน์ สีเหลือง ท่านมีทุกข์อะไรหรือ จึงมากอดอกคร่ำครวญ อยู่ในกลางป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต คือ ประดับแล้ว ด้วยอาภรณ์ต่างๆ. บทว่า มฏฺกุณฺฑลี คือ ประกอบด้วยต่างหู อันเกลี้ยงเกลา ซึ่งมีรูปร่างอันสำเร็จแล้ว. บทว่า มาลธารี คือ ทัดทรงระเบียบดอกไม้ อันไพจิตร. บทว่า หริจนฺทนุสฺสโท คือ ลูบไล้ด้วยจันทน์ มีสีดังทอง. บทว่า วนมชฺเฌ คือ ในกลางป่าช้า. บทว่า กึ ทุกฺขิโต ตุวํ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 908

ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า ท่านมีความทุกข์อะไรหรือ จงบอกมา เราจะให้ สิ่งที่ท่านต้องการแก่ท่าน.

ลำดับนั้น มาณพเทพบุตร เมื่อจะบอกแก่พราหมณ์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เรือนรถงามแพรวพราว แล้วไปด้วยทองคำ ของเรามีอยู่แล้ว เราหาล้อทั้ง ๒ ของเรือนรถนั้น ยังไม่ได้ ด้วยความทุกข์อันนั้น เราจักตายเป็นแน่.

เมื่อพราหมณ์จะรับหาให้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ท่านต้องการรถชนิดไร รถทำด้วยทองคำ แก้วมณี โลหะ หรือรูปิยะ จงบอกรถชนิดนั้นแก่เราเถิด เราจะทำรถให้แก่ท่าน จะหาล้อทั้งคู่ใส่ให้เสร็จ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาวท ความว่า ท่านต้องการรถชนิดไร? ชอบใจรถชนิดไร? จงบอกรถชนิดนั้นเถิด เราจะทำรถให้แก่ท่าน. บทว่า ปฏิปาทยามิ คือ เราจะให้ท่านได้รับล้อทั้งคู่ ที่เหมาะแก่เรือนรถ.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 909

พระศาสดา ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสด้วยคาถา ที่มาณพฟัง ดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถา ว่า :-

พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ทั้ง ๒ งามผ่องใส อยู่ในวิถีทั้ง ๒ ลอยไปในอากาศ รถทองของเรา ย่อมงามด้วยพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้น อันเป็นคู่ล้อ.

พราหมณ์ จึงกล่าวคาถาที่เหลือ ต่อจากนั้น ว่า :-

ดูก่อนมาณพ ท่านเป็นพาลแท้ ท่านได้ปรารถนา สิ่งที่เขาไม่ปรารถนากัน เราเข้าใจว่า ท่านนั้น จักตายเสียเปล่า ท่านจักไม่ได้ พระจันทร์ และพระอาทิตย์เลย.

พึงทราบอธิบาย ในคาถาที่พราหมณ์กล่าว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปตฺถยํ แปลว่า อันเขาไม่พึงปรารถนากัน.

ลำดับนั้น มาณพ จึงได้กล่าวคาถา ว่า :-

แม้ความอุทัย แลอัสดงของพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้น ก็ยังปรากฏอยู่ สีสรร


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 910

วรรณะ และวีถีทางของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ทั้ง ๒ ก็ยังปรากฏอยู่ ส่วนบุคคลผู้ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ปรากฏเลย บรรดาเรา ๒ คน ผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอ จะเป็นคนโง่เขลา ยิ่งกว่ากัน?

พึงทราบอธิบาย ในคาถาที่มาณพกล่าว.

การขึ้น และการอัสดง ชื่อว่า คมนาคมนํ ในคาถานั้น.

สีสรร นั่นแหละ ชื่อว่า วณฺณธาตุ ในคำว่า อุภเยตฺถ วีถิโย นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ คือ แม้ภูมิเป็นที่ไป และเป็นที่มา ของพระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ ย่อมปรากฏอยู่ ในอากาศว่า นี้เป็นวิถีของพระจันทร์ นี้เป็นวิถีของพระอาทิตย์.

บทว่า เปโต ปน ความว่า ส่วนสัตว์ผู้ไปแล้ว สู่ปรโลก ย่อมไม่ปรากฏเลย. บทว่า โก นุ โข ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บรรดาเรา ๒ คน ผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอ จะเป็นคนเขลายิ่งกว่ากัน.

เมื่อมาณพกล่าวอยู่อย่างนี้ พราหมณ์กำหนดความได้ จึงได้กล่าวคาถา ว่า :-

แน่ะมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเราทั้ง ๒ ผู้คร่ำครวญอยู่ เรานี่แหละเป็นคน


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 911

โง่เขลา ยิ่งกว่าท่าน เราปรารถนาผู้ตาย ไปยังปรโลกแล้ว เหมือนเด็กร้องไห้ อยากได้พระจันทร์ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า จนฺทํ วิย ทารโก ความว่า เด็กชาวบ้านวัยหนุ่ม พึงร้องไห้ เพื่อต้องการพระจันทร์ ด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงให้พระจันทร์แก่เราเถิด ดังนี้ ฉันใด แม้เราก็ปรารถนาผู้ตาย ไปยังปรโลกแล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน.

พราหมณ์หายเศร้าโศก ด้วยถ้อยคำของมาณพ เมื่อจะกล่าวชมเชยมาณพ จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

น่าสรรเสริญ ท่านมารดเรา ผู้เร่าร้อนให้สงบ ระงับดับ ความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคล ดับไฟที่ติด เปรียบด้วยน้ำ ฉะนั้น.

ท่านได้ถอนลูกศร ที่เสียบแทงหทัยของเรา ออกได้แล้ว ได้บรรเทาความโศก ถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำ แล้วหนอ.

ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้ถอนลูกศรได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่มีความขุ่นมัว เรา


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 912

จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำ ของท่าน.

ลำดับนั้น มาณพกล่าวสอนพราหมณ์ว่า ท่านพราหมณ์ ท่านร้องไห้ เพื่อประโยชน์แก่บุตรคนใด บุตรคนนั้น คือ ตัวข้าพเจ้า เป็นบุตรของท่าน ข้าพเจ้าเกิดในเทวโลก ตั้งแต่นี้ ท่านอย่าได้เศร้าโศกถึงเรา จงให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม ดังนี้แล้ว ไปสู่วิมานของตน แม้พราหมณ์ก็ดี ตั้งอยู่ในโอวาทของมาณพนั้น ทำบุญ มีให้ทาน เป็นต้น ตายแล้ว ไปเกิดในเทวโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ กุฎุมพี ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล ทรงประชุมชาดกว่า เทพบุตรผู้แสดงธรรม ในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา มัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑