[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ. [๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ. [๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ. [๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนเอง รู้เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ. [๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ. [๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ
อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ. [๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ. [๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ
อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีการงานอย่างนี้ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัต-บุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐จบ เทวทหวรรคที่ ๑
...............................................
อ่านพระสูตรนี้แล้วน่าศึกษา และประพฤติปฏิบัติตามเท่าที่สามารถจะทำได้จังเลย นะครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
ข้อความบางตอนจาก จูฬปุณณสูตร
อสัตบุรุษ
[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
ของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่าง
อสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็น
อย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ
อสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี
โอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ.
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่
มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร
เป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อ
อสัตบุรุษ.
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิด
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ
อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเตองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ
อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
เจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อย
คำอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ
อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักพระพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัต-
บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้
แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผล
วิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี
คุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน
ชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย
ตนเอง ในโลกไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มี
ความเห็นอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่
ด้วยมือของตน ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างส่งๆ เป็นผู้มีความ
เห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่า ย่อม
ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิคอย่างอสัต
บุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่าง
อสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน. ขออนุโมทนาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ