[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 226
๙. สตปัตตชาดก
ว่าด้วยความสําคัญผิด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 226
๙. สตปัตตชาดก
ว่าด้วยความสําคัญผิด
[๔๓๖] มาณพสําคัญนางสุนัขจิ้งจอกในหนทางซึ่งเที่ยวอยู่ในป่าผู้ปรารถนาประโยชน์ และบอกให้รู้ด้วยอาการอย่างนั้นว่า เป็นผู้ปรารถนาความฉิบหายว่า มาสําคัญนกกระไนผู้ปรารถนาความฉิบหายว่า เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ฉันใด.
[๔๓๗] บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเป็นเช่นนั้นเมื่อชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์กล่าวสอน ย่อมกลับถือเอาโดยไม่เคารพ ฉันนั้น.
[๔๓๘] อนึ่ง ชนเหล่าใดสรรเสริญบุคคลนั้นก็ดียกย่องบุคคลนั้นเพราะกลัวก็ดี ก็สําคัญชนเหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพสําคัญผิดนกกระไนว่าเป็นมิตร ฉะนั้น.
จบ สตปัตตชาดกที่ ๙
อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อว่าปัณฑกะ และโลหิตกะ จึงตรัสเรื่องนี้มีคํา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 227
เริ่มต้นว่า ยถา มาณวโฑ ปนฺเถ ดังนี้.
ได้ยินว่า บรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูปคือ พระเมตติยะ. และพระภุมมชกะ อาศัยนครราชคฤห์อยู่.พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูป คือพระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะเข้าไปอาศัยกิฏาคิรีวิหารอยู่. ส่วนพระฉัพพัคคีย์ ๒ รูปนี้ คือพระปัณฑกะ และพระโลหิตกะ. เข้าไปอาศัยนครสาวัตถีอยู่.เธอทั้งสองนั้นรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วโดยชอบธรรม. ซ้ำเป็นผู้สนับสนุนพวกภิกษุเป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบ กล่าวคํามีอาทิว่าอาวุโสทั้งหลาย พวกท่านใช่ว่าจะเลวกว่าภิกษุเหล่านี้โดยชาติ โคตรศีลหรือวัตรเป็นต้น ก็หามิได้ ถ้าท่านทั้งหลายสละการยึดถือของตนเสีย ภิกษุเหล่านี้ก็จักข่มขี่นั้นพวกท่านหนักขึ้น แล้วชักชวนไม่ให้ละวางการยึดถือ. ด้วยเหตุนั้น ความหมายมั่น และการทะเลาะวิวาทจึงเป็นไปอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุนี้แล้วรับสั่งให้เรียกพระปัณฑกะและพระโลหิตกะมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอรื้อฟื้นอธิกรณ์แม้ด้วยตนเอง ทั้งยังไม่ให้ภิกษุเหล่าอื่นปล่อยวางการยึดถือ จริงหรือ? เมื่อพระปัณฑกะและพระโลหิตกะทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทําของพวกเธอ ย่อมเป็นเหมือนการการทําของนกกระไน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 228
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมและพาณิชกรรมเป็นต้น แต่รวบรวมพวกโจร ๕๐๐ เป็นหัวหน้าโจรเหล่านั้นกระทําโจรกรรม เช่นปล้นคนเดินทางและตัดช่องย่องเบาเป็นต้นเลี้ยงชีวิต. ในกาลนั้น มีกฎมพีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ให้ทรัพย์พันกหาปณะแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป แต่ยังไม่ได้เอากลับคืนมา ก็ตายเสียก่อน. ครั้นในในกาลต่อมา ภรรยาของกฎมพีนั้น ป่วยเป็นไข้ใกล้จะตาย จึงเรียกบุตรมาบอกว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป ยังไม่ได้ให้นําคืนมาก็ตายเสียก่อน ถ้าแม้แม่จักตายไปเขาก็จักไม่ให้เจ้า ไปเถิดเจ้า เมื่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจงให้นําทรัพย์พันกหาปณะนั้นมาเก็บไว้. บุตรนั้นรับคําแล้วไปในที่นั้นได้กหาปณะมา. ลําดับนั้น มารดาของเฝ้าก็กระทํากาลกิริยาตายไป เพราะความรักบุตร จึงบังเกิดเป็นสุนัขจิ้งจอกโดยอุปปาติกะกําเนิดอยู่ ณ ที่ใกล้ทางมาของบุตรนั้น. ในกาลนั้น หัวหน้าโจรนั้น เมื่อจะปล้นคนเดินทาง จึงพร้อมด้วยบริวารยินอยู่ใกล้หนทางนั้น. ลําดับนั้น นางสุนัขจิ้งจอกนั้น เมื่อบุตรมาถึงปากดง จึงคุ้ยหนทางห้ามซ้ำๆ ซากๆ อันเป็นสัญญาณให้รู้ดังนี้ว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าอย่าเข้าดงเลย พวกโจรตั้งซุ่มอยู่ที่นั้น พวกมันจักฆ่าเจ้าแล้วยึดเอากหาปณะไป. บุตรนั้นไม่รู้เหตุการณ์อันนั้นคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 229
กาลกิณีตัวนี้มาขุดคุ้ยหนทางเรา จึงหยิบก้อนดินนั้นไล่มารดาให้หนีไปแล้วเดินทางไปยังดง. ลําดับนั้น นกกระไนตัวหนึ่งบินบ่ายหน้าไปทางโจรร้องว่า บุรุษผู้นี้ มีทรัพย์พันกหาปณะอยู่ในมือ. พวกท่านจงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะไว้. มาณพไม่รู้เหตุที่นกกระไนนั้นกระทํา จึงคิดว่า นกตัวนี้ เป็นนกมงคล บัดนี้ ความสวัสดีจักมีแก่เรา. จึงประคองอัญชลีกล่าวว่า ร้องเถอะนาย ร้องเถอะนาย.พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นแล้วจึงคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอกนี้ คงจะเป็นมารดาของบุรุษผู้นี้ ด้วยเหตุนั้นจึงห้ามปราม เพราะกลัวว่า พวกโจรจักฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะไป ส่วนนี้กระไนนี้ คงจะเป็นศัตรูด้วยเหตุนั้นมันจึงร้องบอกว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะ แต่บุรุษนี้ ไม่รู้ความหมายนี้ คุกคามมารดาผู้ประโยชน์นาประโยชน์ให้หนีไป ประคองอัญชลีแก่นกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ด้วยความเข้าใจว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา โอหนอ บุรุษนี้เป็นคนเขลา.ก็การถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น แห่งพระโพธิสัตว์แม้ผู้เป็นมหาบุรุษอย่างนี้ย่อมมีได้ด้วยอํานาจการถือปฏิสนธิอันไม่สม่ําเสมอ บางอาจารย์กล่าวว่า เพราะโทษแห่งดาวนักขัตฤกษ์ ดังนี้ก็มี. มาณพเดินทางมาถึงระหว่างแดนแห่งพวกโจร. พระโพธิสัตว์ให้จับมาณพนั้น แล้วถามว่าเจ้าเป็นชาวเมืองไหน? มาณพกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นชาวเมืองพาราณสี. พระโพธิสัตว์. เจ้าไปไหนมา? มาณพ. ทรัพย์พันกหาปณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 230
ที่ควรจะได้ มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ไปที่หมู่บ้านนั้นมา.พระโพธิสัตว์. ก็ทรัพย์พันกหาปณะนั้น เจ้าได้มาแล้วหรือ? มาณพ.ได้มาแล้วขอรับ. พระโพธิสัตว์. ใครส่งเจ้าไป.? มาณพ. นาย บิดาของข้าพเจ้าตายแล้ว ฝ่ายมารดาของข้าพเจ้าก็ป่วยไข้ มารดาสําคัญว่าเมื่อเราตายไป บุตรนี้จักไม่ได้ทรัพย์ คืน จึงส่งข้าพเจ้าไป. พระโพธิสัตว์. บัดนี้ เจ้ารู้ความเป็นไปแห่งมารดาของเจ้าไหม? มาณพ.ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่รู้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มารดาของเจ้า เมื่อเจ้าออกมาแล้วก็ตาย เพราะความรักบุตรจึงเกิดเป็นนางสุนัขจิ้งจอกเป็นผู้กลัวภัยคือความตายของเจ้า จึงขุดคุ้ย ณ ที่สุดปลายทางห้ามเจ้าไว้. แต่เจ้าคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกนั้นให้หนีไป ส่วนนกกระไนเป็นปัจจามิตรของเจ้า มันร้องบอกพวกเราว่า พวกท่านจงฆ่าบุรุษนี้แล้วยึดเอากหาปณะ เพราะเจ้าเป็นคนโง่เขลา เจ้าจึงสําคัญมารดาผู้ปรารถนาประโยชน์ว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาแก่เรา สําคัญนกกระไนผู้ปรารถนาความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าคุณความดีที่เจ้ากระทําแก่พวกเรา ไม่มี แต่มารดาของเจ้ามีพระคุณมากหลายถึงจะตายะแล้วก็จริง เจ้าจงถือเอากหาปณะทั้งหลายไปเถิด แล้วปล่อยมาณพนั้นไป.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 231
มาณพสําคัญนางสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยวไปในป่า ผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้บอกให้ทราบด้วยอาการ ในระหว่างทาง ว่าเป็นผู้ปรารถนาความฉิบหาย และสําคัญนกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ปรารถนาประ-โยชน์ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเป็นเช่นกับมาณพนั้น ฉันนั้นเหมือนกันอันชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลกล่าวคําตักเตือน ย่อมรับเอาโดยไม่เคารพ.อนึ่ง ชนเหล่าใด สรรเสริญบุคคลนั้นก็คือยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัวก็ดี ก็มาสําคัญชนเหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพสําคัญนกกระไนว่าเป็นมิตรฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตภิ ได้แก่ผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล คือความเจริญ. บทว่า วจนํ วุตฺโต ได้แก่ ผู้กล่าวโอวาทสั่งสอนและอนุศาสน์พร่ําสอนอันนําหิตสุขมาให้. บทว่าปฏิคฺคณฺหติวามโต ความว่า บุคคลผู้ไม่รับโอวาท เมื่อรับเอาด้วยคิดว่า นี้ ไม่นําประโยชน์มาให้เรา นี้นําความฉิบหายมาให้เรา. ชื่อว่ารับเอาโดยไม่เคารพ. บทว่า เย จ โข นํ ความว่า อนึ่ง บุคคลเหล่าใดย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 232
สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ถือเอาความยึดถือของตนอยู่ว่า ชื่อว่าบุคคลผู้ยึดถืออธิกรณ์มั่นอยู่ ต้องเป็นเช่นกับท่าน. บทว่า ภยา อุกฺกํ สยนฺติวา ความว่า ย่อมยกขึ้นแสดงภัย เพราะปัจจัยคือการสละอย่างนี้ว่าเพราะการสละความยึดถือนี้เป็นปัจจัย ภัยนี้แลจักเกิดขึ้นแก่ท่านท่านอย่าได้สละ คนเหล่านี้ย่อมไม่ถึงท่านด้วยพาหุสัจจะตระกูล และบริวารเป็นต้น. บทว่า ตํ หิ โส มฺเต มิตฺตํ ความว่า บรรดาชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น บุคคลนั้น บางคนเป็นคนโง่เขลา ย่อมสําคัญคนใดคนหนึ่ง ว่าเป็นมิตร เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา คือย่อมสําคัญว่าผู้นี้ เป็นมิตรผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา. บทว่า สตปตฺตํวมาณโว ความว่า เหมือนมาณพนั้น สําคัญนกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหายเท่านั้น ว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญ เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา ส่วนบัณฑิตไม่ถือเอาคนหัวประจบ เห็นปานนั้นว่าเป็นมิตรย่อมเว้นบุคคลนั้นเสียห่างไกลทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-
บุคคลผู้มิใช่มิตร ๔ จําพวกเหล่านี้ คือมิตรผู้นําเอาไปส่วนเดียว คือคนปอกลอก ๑มิตรมีวาจาเป็นเบื้องหน้า คือคนดีแต่พูด ๑มิตรผู้กล่าวแต่คําคล้อยตาม คือคนหัวประจบ๑ มิตรผู้เป็นเพื่อนในอบายทั้งหลาย คือคนที่ชักชวนในทางฉิบหาย ๑ บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 233
แล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล เสมือนบุคคลละเว้นหนทางอันมีภัยเฉพาะหน้าฉะนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกว่า หัวหน้าโจรให้กาลนั้นคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสตปัตตชาดกที่ ๙