ละความรำคาญ
โดย pirmsombat  12 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 20018

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 618

……………………………………..

ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง

[๙๗๔] ชื่อว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก

ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก ละความรำคาญ ได้แก่ความ

ตรึก ๙ อย่าง คือความตรึกในกาม ความตรึกในความพยาบาท ความ

ตรึกในความเบียดเบียน ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความ

ตรึกถึงเทพเจ้า ความตรึกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความ

ตรึกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกอัน

ปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง.

กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง

พยาบาทวิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งวิหญิงสาวิตก.

อีกอย่างหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ

อุทธัจจะ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก คือความดำริทั้งหลาย ชื่อว่า

ความรำคาญ คือความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญ

มือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่า

ไม่ควร ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่า

ไม่มีเทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือด

ร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ

๒ ประการ คือเพราะกระทำและไม่กระทำ.

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

กระทำ และเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต

ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต

เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโน-

สุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติปาต

เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เรา

ทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร

เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณา-

วาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา

เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่

ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำ

อนภิชฌา เราทำพยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เรา

ไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจย่อม

เกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ

สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕

เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรค

มีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค

เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ.

คำว่า พึงเข้ารูปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่

อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด

ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก

ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ

...........................



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ความตรึก หรือ ความคิดนึก พระพุทธองค์ทรงแสดงหลากหลายนัย คือ ความคิดนึก

ที่เป็นไปในกุศล และความคิดนึกที่เป็นไปในอกุศลก็มีครับ ซึ่งความตรึกที่เป็นไปใน

อกุศล เช่น ความตรึกในญาติ ความตรึกในลาภ สักการะ เป็นต้น ซึ่งก็ไม่พ้นจากความ

ตรึก 9 ประการ พระพุทธเจ้งทรงแสดงเหตุที่ให้เกิดความคิดนึกด้วยอกุศลคือ อวิชชา

กิเลสประการต่างๆ ครับ

พระพุทธเจ้าทรงแสงดให้ละ ความตรึกเหล่านั้นด้วยปัญญา ละตัดขาดด้วยปัญญา

ซึ่งหนทางในการละความตรึกจากอกุศลธรรมประการต่างๆ คือ เข้าใจแม้ความตรึก นึก

คิดในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะพยายามไปห้ามไม่ให้คิดเป็นอกุศล

ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย แต่หนทางที่ถูกเข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้ว แม้ความคิดนึกที่เป็นอกุศล

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่คือหนทางที่ถูกต้องครับ เป็นหนทางละ ตัดขาดจาก ความตรึก

นึกคิดที่เป็นอกุศลด้วยปัญญา

ส่วน ความเดือดร้อน รำคาญใจ มีจริง เกิดขึ้นได้เพราะมีอกุศล กิเลสที่สะสมอยู่

ความเดือด้อน รำคาญใจเกิดได้ เพราะทำอกุศลธรรม มีการล่วงศีล เป็นต้นและไม่ได้

ทำความดีไว้ จึงเดือดร้อนที่เป็นผู้ทำชั่ว แต่ไม่ได้กระทำความดี คือ งดเว้นจากการ

ล่วงศีลครับ และอีกประการหนึ่ง ความเดือดร้อนใจ รำคาญใจเกิดจาก การไมด้ด้อบรม

ปัญญา เพื่อเป็นไปเพื่อดับกิเลส เมือ่ไม่ด้ดอบรมปัญญาในหนทางท่ถูกต้อง หรือ อบรม

หนทางที่ผิด ก็ย่อมเดือดร้อน รำคาญใจที่ตัวเองไม่ด้ดอบรมหนทางที่ถูกต้องครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ และอาจารย์ผเดิมครับ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตร่วมสนทนา ด้วยครับ ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล จะเห็นไดว่า พระองค์ทรงแสดงในเรื่องของอกุศลธรรมไว้มากมายทีเดียว ทั้งความตรึกนึกคิดไปในทางที่เป็นอกุศล และ ความเดือดร้อนรำคาญใจในอกุศลที่ได้กระทำไปแล้ว และ ในกุศลที่ยังไม่ได้กระทำ ก็เพื่อให้พุทธบริษัทได้ศึกษา เพื่อให้โทษภัยของอกุศลเหล่านั้น แล้วถอยกลับจากอกุศลเหล่านั้น ซึ่งถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงไว้ ก็ไม่มีทางที่รู้ที่จะเข้าใจได้ว่าตนเองมีอกุศลมากน้อยแค่ไหน และไม่มีทางที่จะขัดเกลาได้เลย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงแสดงไว้มากอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นผู้ทีไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฟัง ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระธรรม และไม่สามารมถที่จะดับกิเลสอกุศลต่างๆ เหล่านี้ได้ เพราะไม่ได้อบรมเจริญปัญญา นั่นเอง เพราะฉะนั้น การที่จะค่อยๆ ละคลายอกุศล ละคลายความเดือดร้อนรำคาญใจ ก็ต้องด้วยการสะสมกุศลและอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นนั้น อกุศลเกิดไม่ได้เลย ความตรึกไปในทางที่เป็นอกุศล เกิดไม่ได้ ความเดือดร้อนรำคาญใจก็เกิดไม่ได้ ครับ ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย pirmsombat  วันที่ 12 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนา

คุณผเดิม คุณคำปั่น คุณผู้ร่วมเดินทาง คุณเซจาน้อยและทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 5    โดย เซจาน้อย  วันที่ 12 พ.ย. 2554

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 6    โดย nong  วันที่ 13 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย jaturong  วันที่ 14 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย หลานตาจอน  วันที่ 15 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ