[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 666
จตุกนิบาต
๖. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยที่เกิดตัณหามี ๔ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 666
๖. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยที่เกิดตัณหามี ๔ อย่าง
[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้น ในที่เกิดแห่งตัณหา ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหา เมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งจีวร ๑ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ๑ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ๑ หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติและวิบัติ ๑ ด้วยประการ ฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นในที่เป็นที่ เกิดแห่งตัณหา ๔ อย่างนี้แล.
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความ เป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้แล้วว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นผู้มีตัณหา ปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึง เว้นรอบ.
จบตัณหาสูตรที่ ๖
อรรถกถาตัณหาสูตร
ในอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า ตณฺหุปฺปาทา นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า อุปปาทะ เพราะ หมายความว่า เป็นที่เกิดขึ้น. ถามว่า อะไรเกิดขึ้น? ตอบว่า ตัณหา. ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ชื่อว่า ตัณหุปปาทะ. อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 667
คือ เป็นเหตุแห่งตัณหา. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอารมณ์เหล่าใดที่เป็น นิมิต. บทว่า อุปฺปชฺชมานา ได้แก่ มีปกติเกิดขึ้น. ในบทว่า จีวรเหตุ นี้ มีอธิบายว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งจีวรว่า เราจักได้จีวร ที่น่าชอบใจ. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัย นี้แล. อนึ่งศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้ เป็นนิบาตใช้ใน ความหมายว่า นิทัสสนะ เหมือน อย่างที่มีความหมายว่า แม้เพราะเหตุแห่งจีวรเป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า ภวาภว นี้ ท่านประสงค์เอาเนยใสและเนยข้นเป็นต้นทีประณีตๆ เพราะหมาย ความว่า เป็นเหตุให้มีความไม่มีโรค. บรรดาสมบัติและภพทั้งหลาย สมบัติ และภพที่ประณีตและประณีตกว่า ท่านเรียกว่า ภวาภวะดังนี้บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภโว ได้แก่ สมบัติ. บทว่า อภโว ได้แก่ วิบัติ. บทว่า ภโว ได้แก่ วุฑฒิ (ความเจริญ). บทว่า อภโว ได้แก่ หานิ (ความเสื่อม). และตัณหา ก็มีภวาภวะนั้นเป็นนิมิตจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภวาภวเหตุ วา ดังนี้.
คาถาทั้งหลาย มีความหมายดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล. อนึ่ง บทว่า ตณฺหาทุติโย ได้แก่ มีตัณหาเป็นสหาย. อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อ ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งมีที่สุดเบื้องต้นอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ ก็มิได้ ท่องเที่ยวไปคนเดียว แต่ว่าได้ตัณหาเป็นที่สอง คือ เป็นเพื่อนท่องเที่ยวไป. จริงอย่างนั้น ตัณหานั้น ไม่ให้สัตว์ได้คิดถึงการตกไปในเหวนั้น ให้เห็นแต่ เฉพาะอานิสงส์ในภพทั้งหลาย แม้อากูลด้วยโทษเป็นอเนก เหมือนพรานตีผึ้ง ฉะนั้น จึงให้สัตว์หมุนอยู่ในข่ายที่ไร้ประโยชน์. บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา ความว่า รู้โทษนั้น คือ ที่หมายรู้ว่าเป็นอย่างนี้ และเป็นอย่างอื่นในขันธ์ ทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. บทว่า ตณฺหา ทุกฺขสฺส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 668
สมฺภวํ ความว่า รู้ว่า ตัณหาเป็นบ่อเกิด คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุ แห่งภัยและวัฏทุกข์.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการที่ภิกษุรูปหนึ่งเจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุอรหัตตผลด้วยคำเพียงเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยภิกษุผู้ขีณาสพนั้น จึงตรัสคำว่า วีตตณฺโห เป็นต้น.
ส่วนคำใดที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น นั่นแล.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖