ผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิ/ไม่ได้นั่งสมาธิ หรือไม่ได้ฌาณ ไม่ได้ญาณใดๆ สามารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลได้หรือเปล่าครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ผู้ที่ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดรอบคอบย่อมได้สาระจากพระธรรมวินัย
โดยมากจะเข้าใจกันว่า การเจริญสติปัฏฐานจะต้องเจริญสมถภาวนาก่อน คือ อบรมให้ได้ฌานจึงจะเจริญสติปัฏฐานได้ ดังนั้นเรามาเข้าใจคำว่า สมถะที่ควบคู่กับการเจริญวิปัสสนา คืออย่างไรครับ
สมถะ กับสมถกรรมฐาน (สมถภาวนา) ไม่เหมือนกันนะครับ ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน สมถะ หมายถึง สภาพธรรมที่สงบ สงบจากกิเลส ส่วนสมถภาวนา หมายถึง การอบรมเจริญความสงบจากกิเลส มีการเจริญพุทธานุสสติ เป็นต้น จะเห็นนะครับว่าต่างกัน สมถะ คือ สภาพธรรมที่สงบจากกิเลสขณะนั้น คำถามจึงมีว่าจำเป็นไหมจะต้องเจริญสมถภาวนาก่อนถึงจะเจริญวิปัสสนาได้ คำตอบคือไม่จำเป็น เพราะสมถภาวนาและวิปัสสนานั้นเป็นคนละส่วน แยกกันเลยครับ ผู้ที่อบรมสมถภาวนา เช่น เจริญฌาน แต่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องการเจริญวิปัสสนา หรือหนทางการรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ แม้จะได้ฌาน แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงและไม่มีทางบรรลุธรรมได้เลย ครับ
ดังเช่น พวกฤาษี ดาบส อาจารย์พระโพธิสัตว์ มี อาฬารดาบส อุททกดาบส ก็อบรมสมถภาวนา ได้ฌานแต่ไม่รู้หนทางการดับกิเลส ไม่เข้าใจการเจริญวิปัสสนา ก็ไม่บรรลุอะไรเลยครับ แต่ผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว แต่ไม่ได้อบรมสมถภาวนาได้บรรลุธรรมมีไหมครับ คำตอบ คือ มี มีมากด้วยครับ ดังเช่น นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านบรรลุธรรมโดยการเจริญสมถภาวนาก่อนไหมครับ คำตอบคือไม่ แต่ท่านฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า ปัญญาที่เคยสะสมการเจริญวิปัสสนา หรือการรู้ความจริงในสภาพธรรมในอดีตชาติ ก็เกิดขึ้นรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไมใช่เรา ทำให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสภาพธรรมและเป็นอนัตตาครับ ซึ่งการเจริญสมถภาวนาไม่สามารถรู้ความจริงเช่นนี้ได้เลย ครับ
ดังนั้น ประเด็นคือ ไม่จำเป็นจะต้องเจริญสมถภาวนาก่อนถึงจะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ครับ หากมีคำแย้งว่าต้องมีสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเป็นธรรมคู่กัน ตามที่ผมได้อธิบายแล้วว่าสมถะ กับ สมถภาวนา นั้นต่างกัน สมถะ หมายถึง สภาพธรรมที่สงบจากกิเลส ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แสดงองค์ของสมถะและวิปัสสนาว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดังนี้
มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ นี่คือการเจริญมรรค อันเป็นหนทางดับกิเลสคือวิปัสสนานั่นเองครับ คำถามมีว่ามรรคมีองค์ ๘ มีสมถะหรือเปล่าครับ หรือมีแต่วิปัสสนาอย่างเดียว คำตอบคือมีทั้งองค์ธรรมของสมถะและมีวิปัสสนาด้วย พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่เป็นคู่กันในการอบรมปัญญา คือ สมถะและวิปัสสนา
ดังนั้นในอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามที่กล่าวมา มีทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย มีอย่างไร พระพุทธเจ้าแสดงว่า ฝ่ายของวิปัสสนา มี ๒ อย่างคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่คือฝ่ายวิปัสสนา ส่วน ๖ ประการหลังคือ สัมมาวาจา ... สัมมาสมาธิ เป็นฝักฝ่ายของสมถะนั่นเอง ครับ
แม้ขณะที่เจริญวิปัสสนา เจริญมรรคอย่างเดียว ไม่ได้เจริญสมถภาวนาก่อน หรือไม่ได้เจริญสมถภาวนาเลย ขณะที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวก็มีทั้งสมถะและวิปัสสนาเกิดพร้อมกันอยู่แล้วครับ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เกิดพร้อมกัน ถามว่ามีสมถะไหมในขณะนั้น มีครับ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เป็นฝักผ่ายของสมถะ คือ สภาพธรรมที่สงบจากกิเลส และมีฝักผ่ายวิปัสสนาในขณะนั้นด้วยคือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....
มรรคหรือสติปัฏฐาน เป็นทั้งสมถและวิปัสนนา
จะเห็นนะครับว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดที่เป็นการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว มีทั้งสมถะและวิปัสสนาเกิดพร้อมกันอยู่แล้ว ดังนั้นจะต้องเข้าใจใหม่ว่าจะต้องไปทำสมถภาวนาก่อนถึงจะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ อันนี้ไม่ใช่ครับ เพราะเราจะต้องเข้าใจคำพูดที่ว่าธรรมที่เป็นคู่กัน คือ สมถะและวิปัสสนา สมถะในที่นี้ไมได้มุ่งหมายถึงการเจริญฌานเท่านั้น สมถะในที่นี้ มุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่สงบ เป็นฝักฝ่ายสมถะ ก็เกิดอยู่แล้วในขณะเจริญวิปัสสนา ฝักฝ่ายสมถะก็คือสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ครับ
ตามที่กล่าวแล้ว สมถะ หมายถึง ความสงบจากกิเลสด้วย ดังนั้น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เจริญวิปัสสนา ขณะนั้นจิตก็สงบจากกิเลสด้วยในขณะนั้น จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ครับ
ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของสติและปัญญาเป็นสำคัญ ไม่ใช่เรื่องของสมาธิ ดังเช่น อริยมรรคมีองค์ ๘ สำคัญคือ เริ่มที่ สัมมาทิฏฐิ ก่อน คือ ปัญญา ความเห็นถูก หากมีสมาธิดีแต่ไม่ไ่ด้เข้าใจการเจริญวิปัสสนา ไม่มีปัญญาที่เป็นการเจริญวิปัสสนา ก็ไม่สามารถที่จะเจริญวิปัสสนาได้เลย ดังนั้นการเจริญวิปัสสนาที่ดีได้ ไม่ใช่อยู่ที่สมาธิ แต่อยู่ที่ปัญญาครับ และผู้ที่ไม่ไ่ด้เจริญสมถภาวนา หรือ ไม่ได้ฌาน แต่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว และได้บรรลุธรรมมีมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งขณะที่เจริญวิปัสสนานั้น จะเป็นสมาธิที่ตั้งมั่นได้ฌานไม่ได้ ต้องเป็นขณิกสมาธิเสมอ คือ สมาธิชั่วขณะ ครับ ดังนั้นปัญญา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ใช่สมาธิ ครับ
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 206
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้
ขออนุโมทนา
ขอขอบพระคุณ กับความกระจ่างครับ สาธุ สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั้นมีความละเอียด ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในเรื่องการอบรมเจริญสมถภาวนาก็มีความละเอียดลึกซึ้งมาก การอบรมเจริญสมถภาวนาต้องเป็นเรื่องของความเข้าใจที่ถูกต้องเห็นความต่างระหว่าง กุศล กับ อกุศล ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ แล้วจะเป็นผู้เจริญสมถภาวนา จะต้องเริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ และประการที่สำคัญไม่มีตัวตนที่ไปทำหรือไปเจริญ แต่เป็นความเจริญขึ้นของกุศลธรรมนั่นเอง
สมถภาวนา เป็นการอบรมจิตเพื่อให้สงบจากอกุศลธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิต จนจิตสงบเข้าถึงความสงบแนบแน่นเป็นฌานขั้นต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ขณะที่เจริญสมถถาวนา จิตย่อมไม่มีอกุศลเลย แต่ข้อที่น่าพิจารณาคือ ผู้ที่เจริญสมถภาวนาที่ไม่ถูกต้องขาดความรู้ความเข้าใจ เจริญไม่ถูก จิตย่อมไม่สงบจากอกุศล แต่เป็นอกุศล เป็นการเพิ่มอกุศลให้มีมากขึ้น อย่างนี้ไม่ชื่อว่าการอบรมเจริญสมถภาวนา เมื่อเจริญถูกต้อง ผลของสมถภาวนาย่อมทำให้เกิดในพรหมโลกตามระดับขั้นของฌาน ยังเป็นผู้ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะสมถภาวนาละกิเลสไม่ได้เลย เพียงแค่ข่มกิเลสไว้เท่านั้น
ส่วนวิปัสสนาภาวนาเป็นสติสัมปชัญญะ ที่สามารถรู้สภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อดับกิเลสได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เป็นการอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ธรรมตามเป็นจริง เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมสำรอกราคะ ดับอวิชชา และดับกิเลสประการอื่นๆ ด้วย
ที่สำคัญ คือ การเป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่ด้วยหนทางประพฤติปฏิบัติที่ผิด แต่เป็นด้วยการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ จะขาดปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้นไม่ได้เลย และในฐานะที่เป็นสาวกแล้ว ล้วนเป็นผู้ที่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
เข้าใจหรือเปล่าว่าปฏิบัติคืออย่างไร ตรงกับความหมายอย่างไร ปฏิบัติคือถึงเฉพาะธรรมะนั้นๆ ผู้ที่ไม่ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วนำไปสอน มันก็จะผิดไป ผู้ที่กล่าวก็จะเดือดร้อน เพราะสอนให้คนทำผิดๆ การที่กล่าวว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ขั้นต่างๆ ก็เป็นการรู้เฉพาะตัวท่านเอง ไม่ใช่คนอื่นพูดว่าท่านเป็นพระอริยเจ้า ไม่ใช่พระเท่านั้น ที่จะเป็นพระอริยเจ้า กลุ่มหรือคณะที่ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมะที่ปรากฏตามความเป็นจริงเท่านั้นจริงๆ
กราบขออนุโมทนาคำชี้แจงของท่านอาจารย์
และกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ถ้าได้ศึกษาในพระไตรปิฎก จะเห็นว่า ในครั้งพุทธกาล แค่การฟังธรรมเพียงอย่างเดียวก็สามารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลชั้นใด ชั้นหนึ่งแล้วครับ นั่นแสดงให้เห็นว่า การไม่ได้ทำสมาธิ หรือนั่งสมาธิ ไม่สามารถบรรลุธรรมได้นั้นเป็นความเห็นที่ไม่ค่อยตรงเท่าไรนักนะครับ ความคิดเห็นของผมคิดว่าควรศึกษาพระธรรมมากๆ ขอคำปรึกษาจากท่านผู้รู้และปัญญาเราจะค่อยๆ เกิดขึ้นครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
* * ฟังพระสัจจธรรมจนเป็นสัจจญาณ อาจหาญและมั่นคง เป็นฐานสู่ กิจจญาณ และกตญาณ สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ชัดเจนลึกซึ้งกราบอนุโมทนาสาธุดีแล้วท่านผู้เจริญ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก หัวข้อ โดย chaiyakit
ผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิ/ไม่ได้นั่งสมาธิ หรือไม่ได้ฌาณ ไม่ได้ญาณใดๆ สามารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลได้หรือเปล่าครับ
ได้ครับ
การบรรลุธรรมต้องเป็นปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ
ส. ถ้าพูดถึงบรรลุธรรมต้องเข้าใจว่า อะไรบรรลุ เมื่อกี้นี้ไม่มีคน ไม่มีสัตว์เลย มีแต่สภาพธรรมะ สภาพธรรมะก็มีตั้งหลายอย่าง ความโกรธบรรลุธรรมไม่ได้แน่ ความโลภก็บรรลุธรรมไม่ได้ ความเมตตาทำให้บรรลุธรรม รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ไหมคะ ไม่ได้ ได้ยินคำว่า “สติ” บ่อยๆ สติก็ไม่สามารถรู้อริยสัจธรรมได้ ต้องเป็นปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ คือในธรรมะ ตามความเป็นจริงของธรรมะนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงปัญญาก็เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งในภาษาไทยก็ใช้คำนี้ ในโรงเรียนครูก็จะรายงานว่า มีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน แต่ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก นี่เป็นความต่างกัน สิ่งที่เราเข้าใจว่า เป็นปัญญาทางโลก ที่เราเข้าใจว่า สามารถสร้างเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ได้ สามารถคิดยารักษาโรค สามารถคิดสร้างสิ่งที่วิจิตรต่างๆ ถ้าขณะนั้นไม่รู้ความจริงที่เป็นปรมัตถธรรมไม่ใช่ปัญญาเจตสิก เราขอยืมคำมาใช้ แต่เราก็ต้องทราบว่า ปัญญาเจตสิกเป็นธรรมะที่สามารถเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ จนกระทั่งประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ท่านพระสารีบุตรต้องมีปัญญาเข้าใจคำว่า “ธรรมะ” ต้องมีปัญญาในขณะที่ฟัง รู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมะแต่ละอย่างซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยต่างกัน และสามารถประจักษ์การดับไป
เพราะฉะนั้น เมื่อสามารถประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมะ ก็คลายความยึดถือว่าเป็นเรา เพราะเป็นสภาพธรรมะที่เกิดดับ เมื่อคลายความยึดมั่นในสิ่งที่เคยเป็นเราทั้งหมด หรือสภาพธรรมะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เห็นโทษภัยว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมะที่เกิดดับ จึงน้อมไปสู่การมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ ตราบใดที่ยังพอใจในโลก คือ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในความเป็นเรา เมื่อนั้นก็ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมที่ ๓ คือ นิพพาน ถ้าไม่ประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน โดยวิธีใดก็ตาม ไม่สามารถดับกิเลสได้
เพราะฉะนั้น การเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือการเป็นพระอัครสาวกของท่านพระสารีบุตร ก็คือปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมะ แต่ว่าพระอรหันต์อื่นนอกจากท่านพระสารีบุตร ก็ไม่ได้เป็นเอตทัคคะ คือไม่ได้เป็นผู้เลิศ ไม่ได้เป็นอัครสาวกผู้เลิศทางปัญญาอย่างท่านพระสารีบุตร
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นระดับขั้นของปัญญาที่ต่างกัน ตั้งแต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัครสาวก และพระอรหันต์อื่นๆ ด้วย แต่ทั้งหมดต้องรู้แจ้งอริยสัจธรรม ต้องเป็นปัญญาที่ดับกิเลส เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนี้เองถ้าอบรมเจริญปัญญาเท่าท่านพระสารีบุตร หรือจะน้อยกว่าก็ได้ แต่สามารถรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมะในขณะนี้ ก็สามารถประจักษ์ได้ เพราะเหตุว่าเป็นความจริง
ขณะนี้ความจริงคือสภาพธรรมะเกิดแล้วดับ พอจะเชื่อหรือยังคะว่าเป็นอย่างนี้ หรือเป็นแต่เพียงแนวทางที่เริ่มเข้าใจว่า แท้ที่จริงทุกอย่างไม่เที่ยง เราพูดกันบ่อยๆ แต่พูดระยะไกล ใช่ไหมคะ เกิดมาแล้วแก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย ก็บอกว่าไม่เที่ยง วันนี้เป็นอย่างนี้ พรุ่งนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็ไม่เที่ยง วันนี้แข็งแรงดี พรุ่งนี้ป่วยไข้ เป็นโรคร้ายแรงก็ไม่เที่ยง เราเข้าใจความไม่เที่ยงในระยะที่ยาวมาก แต่ขณะนี้เองไม่นับเป็นวินาทีเลย เพราะว่าเร็วกว่านั้นมาก ที่ทรงแสดงไว้ก็คือว่า ทรงแสดงอายุของรูปๆ หนึ่ง ขอให้คิดถึงที่โต๊ะ หรือที่หนึ่งที่ใดมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่อย่างละเอียดยิบ พร้อมจะแตกทำลายเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้น ในกลุ่มเล็กที่สุดกลาปหนึ่งที่เกิดมามีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งการเกิดดับของจิต ๑๗ ขณะ ขอให้คิดดูว่า ขณะที่กำลังเห็นไม่ใช่ขณะที่กำลังได้ยิน ไม่ใช่ขณะที่กำลังคิด เพราะถึงไม่เห็นก็คิดได้ เพราะฉะนั้น การคิดอาศัยการเห็นแล้วคิดก็มี อาศัยการได้ยินแล้วคิดก็มี หรือไม่อาศัยการเห็น การได้ยินเลย แต่คิด เช่นขณะที่ฝันก็คิด
เพราะฉะนั้น ทรงแสดงไว้ว่า จิตที่เห็นกับจิตที่ได้ยินในขณะนี้ซึ่งดูเสมือนว่าพร้อมกัน ไม่มีอะไรที่ทำให้เห็นว่า แยกขาดจากกันตอนไหนได้เลย แต่ความจริงจิตที่เกิดคั่นระหว่างจิตเห็นกับจิตได้ยินเกิน ๑๗ ขณะ
เพราะฉะนั้น รูปๆ หนึ่งหรือกลาปหนึ่งซึ่งมีอากาศธาตุแทรกคั่นอย่างละเอียดยิบ มีปัจจัยเกิดแล้วดับ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปจะดับเร็วสักแค่ไหน เร็วยิ่งกว่านักวิทยาศาสตร์ใดๆ จะสามารถคิดได้ว่า ในขณะที่เหมือนเห็นกับได้ยินพร้อมกัน รูปดับไปแล้ว ทั้งๆ ที่แยกกันไม่ออก
นี่คือพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าศึกษาโดยละเอียดและอบรมเจริญปัญญามาจริงๆ ก็จะต้องประจักษ์อย่างนี้ เพราะความจริงเป็นอย่างนี้
ความจริงที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมดสำหรับให้พุทธบริษัทได้ศึกษาและได้อบรมเจริญปัญญาที่จะสามารถประจักษ์ความจริงนี้ได้
ที่มา ... คลิกที่นี่