เคยถามตัวเองว่าทำไม ต้องเป็นเรา แต่ไม่ได้ทุกข์อะไร เพราะศึกษาธรรมะอยู่ ทำให้เข้าใจถึงผลวิบากที่เกิดขึ้น ทำใจได้ แต่ชอบนำมาพิจารณาว่า เหตุมีผลย่อมเกิด ในชีวิตที่ผ่านมา มีแต่เรื่องเสียทรัพย์ และพบคนที่พูดจาไม่รักษาคำพูด ทำให้เราเดือดร้อน คิดว่าคงผิดศีลข้อมุสา และลักทรัพย์แน่นอนเลย
สัตว์โลกที่เกิดมาส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นการรับผลของกรรมที่ตนเคยทำไว้ มีทั้งวิบากที่ดี และวิบากที่ไม่ดี ส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการกระทำกรรมใหม่ คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ทุกๆ ชาติก็เป็นอย่างนี้ จนกว่าจะอบรมเจริญปัญญา จนบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ไม่เกิดอีก จึงชื่อว่า ดับทั้งกรรมและวิบากทั้งหมดได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 251 ข้อความตอนหนึ่งจาก จูฬกัมมวิภังคสูตร
[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
ทำไมถึงต้องเป็นเรา ก็เพราะว่าเป็นคนอื่นไม่ได้ เราทำดีหรือทำชั่วก็เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น การที่เสียทรัพย์ หรือ เจอคนที่ไม่รักษาคำพูด ก็ต้องเป็นอกุศลกรรมในอดีตทำให้เราได้รับวิบากที่ไม่ดี แต่สามารถทำเหตุใหม่ คือทำความดีทุกประการ โดยเฉพาะการอบรมปัญญา เพราะปัญญา มีค่าประเสริฐกว่าทรัพย์ใดๆ ในโลกค่ะ
วิบาก จริงแล้ว คือ ผัสสะ วิญญาญ และเวทนา ใช่หรือไม่
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เริ่มมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า ทุกอย่างเป็นธรรม กรรม คือการกระทำที่เป็นไปในกุศลหรืออกุศล ผลของกรรม (วิบาก) เป็นผลของกุศลหรืออกุศลที่ได้ทำ ใครทำ จิต เจตสิกทำ ธรรมทำ ไม่ใช่เรา ใครได้รับผลของกรรม จิต เจตสิก ธรรมได้รับผลของกรรม ไม่มีสัตว์บุคคลรับ เช่น ได้ยินเสียงไม่ดี ใครได้ยิน เราหรือว่าเป็นจิตที่ได้ยิน
ดังนั้น ประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจความจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรมเท่านั้น ย่อมจะไม่โทษใครๆ ครับ แม้แต่ตัวเราเอง เพราะเราก็ไม่มี มีแต่ธัมมะ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ที่ว่า " ไม่ใช่เราทำ " เป็นแต่เพียงธรรมะ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เกิดจากจิต เจตสิกนั้น พูดแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ยาก ที่ทุกคนจะเข้าใจ เพราะเราก็ยังยึดมั่นถือมั่น ยังมีตัวตน
เพราะเหตุนั้น จึงต้องอบรมเพื่อให้มีความเข้าใจที่มั่นคงยิ่งขึ้น
ยินดีในกุศลจิตค่ะ