ปัจจุบัน พนักงานระดับแรงงานเป็นหนี้สินเยอะมาก สืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตผิดๆ มีความฟุ้งเฟ้อ พอมีปัญหาหนักเข้าก็มาขอความช่วยเหลือ เราก็พอช่วยได้แต่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทุกคน เนื่องจากเป็นจำนวนเงินที่เยอะ ถ้าต้องช่วยทุกคนก็จะเป็นล้านบาทซึ่งเกินกำลังที่เราจะช่วยได้ การช่วยเหลือคนเหล่านี้ เราก็รู้ว่า เราคงไม่ได้เงินคืน แต่หากไม่ช่วยพวกเค้าก็เดือดร้อนมาก แต่ถึงเราช่วยให้พวกเค้าหายเดือดร้อน พวกเค้าก็มีแนวโน้มที่จะกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิม เนื่องจาก ไม่ได้เคยสะสมความเห็นที่ถูกต้องต่อการดำเนินชีวิต อยากขอความเห็นว่าเราควรวางเฉย เนื่องจากเค้าก็ต้องรับผลจากเหตุที่เค้าทำไว้ หรือว่าถ้าเราช่วยได้ เราก็ช่วยถือเป็นการบริจาคทานไป ถึงแม้ผู้รับทานนั้น จะไม่ใช่คนดีก็ตาม
รบกวนขอความเห็นด้วยค่ะ
ลองอ่านคำกล่าวของท่านอาจารย์เรื่องการให้ดูนะครับ ขออนุโมทนาครับ
คำกล่าวของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์จากรายการสนทนาเรื่องปฏิบัติธรรมที่ ม.ศ.พ. ๒ ก.ย. 50
การให้ไม่ใช่เพื่อตัวเองเพื่อเป็นกุศลของเรา เพื่อเราจะได้กุศลหรือผลของกุศล ผู้ที่ตรงคือ ว่าขณะใดเป็นกุศล เป็นสิ่งที่ดี ก็ไม่ใช่เรา เป็นสาธารณะทั่วไป ธรรมะที่ดีก็เป็นสิ่งที่ดี เกิดขึ้นเป็นไป เพราะฉะนั้นขณะที่ให้ ถ้ายังมีความต้องการผล หรือว่าต้องการกุศล พอพูดถึงกุศลก็นับเลยว่าทานมีไหม ศีลมีไหม วันนี้จะทำอะไร เท่าไร ยังไง ทุกเรื่องเป็นเรื่องที่ตรงแลละเอียดอย่าลืมแต่ละคำว่า ให้เพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น ไม่ใช่เพื่อเราแม้สักนิดเดียว ถ้าเพื่อเราก็ไม่ใช่ทาน แต่เป็นเพื่อตัวเอง ถ้าเป็นการให้เพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น ก็ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เราจะให้อะไรได้มากน้อยแค่ไหน เราพอที่จะให้คนที่เขาต้องการทุกหนทุกแห่งได้ไหม เพราะฉะนั้นขณะใดเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ควรให้ แต่ถ้าให้แล้วเป็นโทษแก่ผู้รับเช่น ไม่พิการ แต่บอกว่าเป็นใบ้หรือว่าหูหนวก แล้วเราก็ให้ไป สงสารมากเลย เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่าสมควร เงินที่จะให้เนี่ยะ ถ้าให้ที่ไหนและเป็นประโยชน์จริงๆ ก็ควรจะให้เพี่อประโยชน์ แต่ว่าให้เพื่อส่งเสริมทุจริต หรือว่าให้เพื่อทำอะไรๆ ซึ่งไม่เป็นสาระ แต่ว่า ก็มีคนซึ่งจะทำสิ่งไม่เป็นสาระเนี่ยะเยอะมาก แล้วเราจะให้ไหม เพื่อที่จะทำสิ่งไม่เป็นสาระ
เพราะฉะนั้นแม้แต่การให้จริงๆ ก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ เราไม่สามารถที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ทุกคนได้อย่างที่อยากจะให้ แต่ว่าเมื่อสิ่งใดที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลใดก็ให้ เพื่อประโยชน์ จริงๆ โดยที่ไม่ได้มานึกถึงว่าแล้วเราก็จะได้รับตอบแทน หรือว่าขณะนั้นเราก็เป็นกุศล ให้อย่างนี้ แล้วจิตผ่องใส ไม่ต้องไปคำนึงถึงเลยค่ะ ขณะนั้นก็จะรู้จักนะคะว่าเราจะให้อะไร และไม่ให้อะไร ไม่ใช่ว่าเราไม่ให้เพราะตระหนี่หวงแหน แต่มีเหตุผลในการที่จะให้เพื่อประโยชน์เท่านั้น แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้ไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แล้วเราจะให้หรือ
น่าสงสารคนที่ไม่มีโอกาสได้เข้าใจความจริงค่ะ
มีคำพูดของชาวตะวันตกที่น่าคิดอยู่ประโยคหนึ่งนะคะว่า...
" Don't give him a fish, give him a fishing rod "
เพราะว่าถ้าให้ปลาเขาไปทานตัวนึง เพียงแค่มื้อเดียวก็หมด แต่ถ้าให้เครื่องมือตกปลา เขาก็จะรู้จักทำมาหากินเองได้ การศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ โดยเฉพาะเรื่องความสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมอีกเรื่องนึงนะคะ ครั้งหนึ่งดิฉันไปดำน้ำระหว่างที่นั่งพักอยู่บนเรือ ก็โยนอาหารไปให้ปลากิน ปลาก็ขึ้นกันมามากมาย ครูที่สอนดำน้ำก็ห้ามค่ะ และบอกเพียงสั้นๆ ว่า " ให้บ่อยๆ อีกหน่อยปลาพวกนี้จะไม่รู้จักทำมาหากิน " เพราะฉะนั้น การให้ก็ควรที่จะพิจารณาให้ดีด้วยนะคะ ว่าให้เพื่ออะไร เพราะอะไร และจะมีผลกระทบอย่างไร
ปัญญาเป็นประธานในการเจริญกุศลทุกประการ ดังนั้นธรรมทาน จึงเลิศกว่าการให้ทั้งปวงค่ะ
"....การสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมนั้นไม่มีวันจบสิ้น " ท่านอาจารย์สุจินต์ฯ ได้กล่าวไว้ในคำกล่าวเนื่องในโอกาสเข้ารับรางวัลสตรีดีเด่นในพุทธศานา เชิญคลิกเพื่อชมภาพและอ่านข้อความครับ รางวัลสตรีดีเด่น ในพระพุทธศาสนา ๒๕๕๐ ชุดที่ ๓
ควรช่วยควบคู่กันไปในระยะแรกครับ ถ้าเค้ามีความจำเป็นที่จะต้องยังชีพ ก็ควรให้สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตแก่เขาเพื่อความอยู่รอด จากนั้นก็ค่อยๆ แนะนำหนทางดำเนินชีวิตที่ดี ให้วิทยาธาน แนะแนวทางประกอบอาชีพสุจริต ให้รู้จักวางแผนการใช้ชีวิต ให้รู้จักประหยัด และเก็บเงิน ถ้าสนิทใจ พอเตือนได้ ก็เตือนด้วยความหวังดีครับ และที่สำคัญกว่า คือแนะนำให้เขาได้ศึกษาธรรมะ เพราะเราเปลี่ยนใครไม่ได้ แต่ความเข้าใจพระธรรมจะค่อยๆ ช่วยเปลี่ยนให้เขาดีขึ้นเอง ซึ่งก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ฉะนั้น ใจเย็นๆ ครับ เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า มันอาจจะไม่เป็นไปตามที่คิด แต่ถ้ามีโอกาสที่จะช่วย ก็ช่วยเท่าที่ช่วยได้ช่วยอย่างมีเหตุผล ช่วยอย่างดีที่สุด ช่วยด้วยกุศลจิต ช่วยอย่างเต็มที่ ช่วยแล้วไม่อาลัยที่ได้เคยช่วย ส่วนเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ต้องเป็นไปตามกรรมของเขาเองครับ
ทุกคนมีกรรมเป็นของตน ถ้าเราช่วยเขาได้ ถึงแม้รู้ว่าจะไม่ได้เงินคืน ก็ช่วยเท่าที่จะช่วยได้ เขาคนนั้นที่เรารู้จักอาจเคยเป็นญาติ พี่น้อง หรือผู้มีพระคุณในอดีตชาติก็ได้ หรือไม่ใช่ ก็ไม่เป็นไร คนนั้นก็มีกรรมดีมาทำให้ได้รู้จักคุณ และคุณก็มีโอกาสได้ช่วยเหลือเขา แต่ถ้าแนะนำให้เขาสนใจธรรมได้จะดี เพราะอย่างน้อยถ้าเขาฟังธรรมแล้ว เขาก็จะเกิดปัญญาแก้ไขเองได้ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
มีโอกาสก็ช่วยครับ ช่วยที่พอจะช่วยได้ ขณะไหนเป็นโอกาสที่ช่วยในอามิสทานก็ให้ โอกาสใดเหมาะก็ช่วยในการให้ธรรมทานก็ให้ หากเป็นประโยชน์สำหรับผู้รับแล้ว ก็ควรจะให้ครับ แต่ตามความเหมาะสมและกำลังครับ ขออนุโมทนา [เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๑๙
ข้อความบางตอนจาก อิสสัตถสูตร
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาว่าพระองค์ตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่เหล่าสาวกของคนพวกอื่น ไม่มีผลมาก ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบปัญหาของเราก็จักทรงทำลายวาทะของเหล่าเดียรถีย์ได้ในที่สุด ท้าวเธอเมื่อทรงทูลถามปัญหาจึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหนหนอ. บทว่ายตฺถ ความว่า (พระพุทธเจ้าตรัสว่า) จิตเลื่อมใสในบุคคลใด พึงให้ทานในบุคคลนั้น หรือพึงให้แก่บุคคลนั้น.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
กุศลจิตเกิดก็ช่วยเท่าที่จะช่วยได้ครับ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ขออนุโมทนาครับ
ขออนุญาตินำกระทู้นี้มาสนทนาธรรมนะคะ ปัจจุบันนี้มีผู้ทุกข์ยากมากมายจากภัยธรรมชาติมีความเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจในเรื่องของกรรม ขอเชิญสหายธรรมและวิทยากรให้ความรู้ด้วยนะคะ...อนุโมทนา
(รีโพสต์)
ความคิดเห็นที่ 12 โดย : prissna
เป็นหัวข้อที่น่าสนใจจริงๆ เพราะการไม่ให้ เกิดจากสาเหตุหลายประการบาง ครั้งคิดจะให้ แล้วไม่สามารถให้ได้ ด้วยเหตุผลนานาประการอย่างความเห็นเบื้องต้น บางครั้งการให้ทานกับสัตว์ยังง่ายกว่า เพราะรู้ว่าเขาขอเพราะจำเป็นต่อการดำรงชีพจริงๆ .กับบางคนก็ให้ได้ แม้ไม่ขอ กับบางคนแม้ขอก็ไม่ให้ (เช่นขอไปเพื่อเรื่องไร้สาระ) เช่นถ้าขอเงินไปซื้อข้าวหุงกินก็ให้ได้โดยแทบไม่ต้องคิดให้เสียเวลา พอๆ กับไม่คิดให้เสียเวลาเลยว่าจะไม่ให้ หากเงินขอไปซื้อเหล้าหรือบุหรี่
วันที่ : ๑๘-๐๓-๒๕๕๑
ความคิดเห็นที่ 13 โดย : suwit02
ขออนุโมทนาครับ
วันที่ : ๑๙-๐๓-๒๕๕๑
ความคิดเห็นที่ 14 โดย : pairojj
การเข้าใจพระธรรม การอนุเคราะห์ผู้อื่นให้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของพระธรรมนั้นเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต การสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมนั้นไม่มีวันจบสิ้นและไม่สามารถให้เกิดความสงบสุขได้ เมื่อไม่เข้าใจพระธรรมความทุกข์ก็จะบรรเทาและหมดสิ้นไปไม่ได้ เพราะไม่รู้เหตุที่แท้จริงของปัญหาต่างๆ (ท่านอาจารย์กล่าวในโอกาสเข้ารับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา)
ขออนุโมทนาครับ