๘. อรรถกถา อาทีนวญาณุทเทส ว่าด้วยอาทีนวญาณ
โดย บ้านธัมมะ  23 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40819

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 56

มหาวรรค

ญาณกถามาติกา

๘. อรรถกถา อาทีนวญาณุทเทส

ว่าด้วยอาทีนวญาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 56

๘. อรรถกถาอาทีนวญาณุทเทส

ว่าด้วย อาทีนวญาณ

คำว่า ภยตูปฏฺเน ปญฺา มีความว่า ปัญญาในการปรากฏขึ้นแห่งอุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายูหนาการประมวลมา และปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัยคือในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบด้วยความเบียดเบียนอยู่เนืองๆ. ย่อมปรากฏโดยความเป็นภัย ฉะนั้นจึงชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คืออารมณ์. ปัญญา ในภยตูปัฏฐานนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คือปัญญา เพราะอรรถว่า ปรากฏโดยความเป็นภัย คำนั้นย่อมเป็นคำอธิบาย อันท่านกล่าวแล้วว่า ภยตูปัฏฐาน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 57

คำว่า อาทีนเว าณํ เป็นภุมมวจนะ คือสัตตมีวิภัตติ. เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า

ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัย ๑, อาทีนวญาณ ๑, นิพพิทาญาณ ๑, มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น (๑).

แม้จะกล่าวเพียงคำเดียว (ญาณเดียว) ก็ย่อมเป็นอันกล่าวทั้ง ๓ โดยประเภทแห่งการกำหนด ดุจมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ฉะนั้น แม้ไม่กล่าวว่า เมื่อภยตูปัฏฐานและอาทีนวานุปัสสนา สำเร็จแล้ว นิพพิทานุปัสสนาก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วทีเดียว.

สังขารทั้งหลาย อันจำแนกไว้ในภพ ๓, กำเนิด ๔, คติ ๕, วิญญาณฐิติ ๗, และสัตตาวาส ๙ ย่อมปรากฏเป็นมหาภัยแก่พระโยคีบุคคลผู้เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งภังคานุปัสสนามีความดับไปแห่งสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างสีหะ, เสือโคร่ง, เสือเหลือง, หมี, เสือดาว, ยักษ์, รากษส, โคดุ, สุนัขดุ, ช้างซับมันดุ, งูดุ, ฟ้าผ่า, ป่าช้า, สมรภูมิ, หลุมถ่านเพลิงที่คุกรุ่นเป็นต้น


๑. ขุ.ป. ๓๑/๕๐๗.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 58

ย่อมปรากฏเป็นภัยใหญ่แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่มีชีวิตอยู่เป็นสุข, ภยตูปัฏฐานญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้ แก่พระโยคีบุคคลผู้เห็นอยู่ว่า สังขารทั้งหลายในอดีตก็ดับไปแล้ว, ในปัจจุบันก็กำลังดับ, ถึงแม้ในอนาคตก็จักดับไปอย่างนี้เหมือนกัน

ในภพ, กำเนิด, คติ, ฐิติ, และสัตตาวาสทั่วทุกแห่งหน ที่ต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่ไป ที่พึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเลยแก่พระโยคีบุคคลผู้เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งภยตูปัฏฐานญาณนั้น, ความปรารถนาก็ดี ความถือมั่นก็ดี ย่อมไม่มีในสังขารทั้งหลายอันมีในภพ, กำเนิด, คติ, ฐิติ, นิวาสะ แม้สักสังขารเดียว, ภพทั้ง ๓ ปรากฏดุจหลุมถ่านเพลิงที่เต็มด้วยถ่านเพลิงไม่มีเปลว, มหาภูตรูป ๔ ปรากฏดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย, ขันธ์ ๕ ปรากฏดุจเพชฌฆาตที่กำลังเงื้อดาบ, อัชฌัตติกายตนะ ๖ ปรากฏดุจเรือนว่างเปล่า, พาหิรายตนะ ๖ ปรากฏดุจโจรปล้นชาวบ้าน, วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ปรากฏดุจถูกไฟ ๑๑ กองลุกเผาอยู่โชติช่วง, สังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏแก่ผู้นั้นเหมือนเป็นฝี, เป็นโรค, เป็นลูกศร, เป็นไข้, เป็นอาพาธ, ปราศจาก ความแช่มชื่น, หมดรส, เป็นกองแห่งโทษใหญ่ เป็นเหมือนป่าชัฏที่มีสัตว์ร้าย แม้จะตั้งขึ้นโดยอาการที่น่ารื่นรมย์แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่จะมีชีวิตอยู่เป็นสุข เป็นเหมือนถ้ำที่มีภูเขาไฟพ่นอยู่, เป็นเหมือนสระน้ำที่มีรากษสสิงสถิตอยู่ เป็นเหมือนข้าศึกที่กำลังเงื้อดาบขึ้น. เป็น


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 59

เหมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ, เป็นเหมือนหนทางที่เต็มไปด้วยโจร, เป็นเหมือนเรือนที่ไฟติดทั่วแล้ว, เป็นเหมือนสนามรบที่เหล่าทหารกำลังต่อยุทธกัน.

เหมือนอย่างว่า บุรุษนั้นอาศัยภัยมีป่าชัฏที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายเป็นต้นเหล่านี้ กลัวแล้ว ตกใจแล้ว ขนลุกชูชัน ย่อมเห็นโทษอย่างเดียวรอบด้าน ฉันใด, พระโยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏแล้วโดยความเป็นภัยด้วยอำนาจภังคานุปัสสนา ก็ย่อมเห็นแต่โทษอย่างเดียวปราศจากรสหมดความแช่มชื่นอยู่รอบด้าน. อาทีนวานุปัสสนาญาณย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่อย่างนี้.

พระโยคีบุคคลนั้น เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย กระวนกระวาย ไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย อันมีประเภทในภพ, กำเนิด, คติ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง. เหมือนอย่างว่าพญาหงส์ทองผู้ยินดีเฉพาะเชิงเขาจิตรกูฏ ย่อมไม่ยินดีบ่อน้ำแถบประตูบ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด, ย่อมยินดีเฉพาะสระใหญ่ทั้ง ๗ เท่านั้น ฉันใด, พญาหงส์คือพระโยคีนี้ ย่อมไม่ยินดีสังขารอันมีประเภทต่างๆ ล้วนแล้วด้วยโทษอันตนเห็นแจ่มแจ้งแล้ว, แต่ย่อมยินดียิ่งในอนุปัสสนา ๗ เท่านั้น เพราะยินดีในภาวนา คือเพราะประกอบด้วยความยินดีในภาวนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แสะเหมือนสีหะ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 60

มิคราชาถูกจับขังไว้แม้ในกรงทองก็ไม่ยินดี, แต่ย่อมยินดีในหิมวันตประเทศอันกว้างใหญ่ถึง ๓,๐๐๐ โยชน์ ฉันใด, สีหะคือพระโยคีบุคคลแม้นี้ ย่อมไม่ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ๓ แต่ย่อมยินดีในอนุปัสสนา ๓ เท่านั้น

อนึ่ง เหมือนพญาช้างฉัททันต์เผือกผ่องทั้งตัวมีที่ตั้งดี ๗ สถาน มีฤทธิเหาะไปในเวหาส ย่อมไม่ยินดีในใจกลางพระนคร, แต่ย่อมยินดีในสระใหญ่ชื่อฉัททันต์เท่านั้น ฉันใด, พระโยคีบุคคลเพียงดังช้างตัวประเสริฐนี้ ย่อมไม่ยินดีในสังขารธรรมแม้ทั้งปวง, แต่ย่อมยินดีในสันติบทคือพระนิพพานเท่านั้น อันท่านแสดงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า การไม่เกิดขึ้นเป็นการปลอดภัย (๑) , มีใจน้อมไปโน้มไปเงื้อมไปในสันติบทคือพระนิพพานนั้น. นิพพิทานุปัสสนาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้นแล้วแก่พระโยคีนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้.


๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๕.