พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐) ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์
โดย บ้านธัมมะ  29 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41392

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 873

เถราปทาน

อัมพฏผลทายกวรรคที่ ๓๙

พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 873

พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐) (๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์

[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วย ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณียสถาน โชติช่วงด้วยแก้วต่างๆ ในละแวดป่าอันมีกลิ่นหอม ต่างๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของ พระองค์ ณ ที่นั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงกรรมที่เราทำแล้ว ของเรา เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้ ถวายผ้าเก่า.

เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก เพื่อความเป็น พระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า.

ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็น แม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะ กระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา.

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าว ตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลา นาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก.


๑. อรรถกถาว่า ปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 874

ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำ กล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.

เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่า นันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรก สิ้นกาลนาน.

เราท่องเที่ยว อยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความ เป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก.

ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกามากันหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง.

เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุตวา อันชนทั้งหลาย สักการะบูชา สอนมนต์ให้กันมาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่า ใหญ่.

ก็เราได้เห็นฤๅษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มากมา ในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้ บอกกะพวกศิษย์ของเราว่า

ฤๅษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวก มาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวง เที่ยวไปเพื่อภิกษาใน สกุลๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกาม.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ได้คำกล่าวตู่ ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.

ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุ แห่งทรัพย์ จับใส่ลงในซอกเขาและบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 875

วิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงทุ่มก้อนหิน ก้อนหินกลิ้ง ลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด.

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก) ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบาก กรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนู ผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา.

ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัด พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนี แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วย วิบากแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่งไล่ (เรา) เข้า ไปในพระนครราชคฤห์.

ในกาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษ เป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก.

ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้ ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป.

ในกาลก่อน เราเป็นเด็ก ลูกของชาวประมง อยู่ในบ้าน เกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศีรษะ) ได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน พระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว.

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 876

ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เรา อันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดง ตลอด ๓ เดือน ในกาลนั้น.

เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวย ปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา.

เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

เราชื่อว่า โชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า กัสสปะในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณ ท่านได้ยากอย่างยิ่ง.

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยาก มาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่ นั้น จึงได้บรรลุโพธิญาณ.

แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอัน บุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด.

(บัดนี้) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อน ทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน.

พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรง พยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่ ชื่อว่า อโนดาต ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 877

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติอันเป็นความประพฤติในกาลก่อนของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบพุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ

๓๙๐. อรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อโนตตฺตสราสนฺน ความว่า ชื่อว่า อโนตตฺโต เพราะ น้ำที่ถูกความร้อนแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์แผ่ปกคลุมไปไม่ถึง เพราะ มียอดภูเขาหลายยอดช่วยปิดบังไว้. ชื่อว่าสระ เพราะเป็นแดนไหลไป คือเป็นแดนเกิดก่อน หลงใหลไปแห่งแม่น้ำใหญ่, อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่ ที่ไหลออกจากช่องมีช่องสีหะเป็นต้นแล้ว ไหลวนไปทางขวา ๓ รอบ จึง ไหลไปทางทิสาภาคที่ไหลออกแล้วๆ แต่เดิม. อโนตัตตะศัพท์ กับ สระศัพท์ รวมกันเป็น อโนตัตตสระ อธิบายว่า ที่อยู่ใกล้กับสระนั้น คือใกล้กับสระอโนดาต ได้แก่ ตรงที่ใกล้สระอโนดาตนั้น. บทว่า รมณีเย ความว่า ในสถานที่อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น ชื่อว่า รมณียํ เพราะเป็นสถานที่อันเทวดา ทานพ คนธรรพ์ กินนร งู พระ พุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น พึงรื่นรมย์ใจ คือพึงติดใจ. บทว่า สิลาตเล ความว่า พื้นแห่งศิลาเป็นภูเขาลูกเดียว. บทว่า นานารตนปชฺโชเต ความว่า โชติช่วงเปล่งปลั่งด้วยแก้วมากมายหลายประการ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 878

มีแก้วทับทิม และไพฑูรย์ เป็นต้น. บทว่า นานาคนฺธวนนฺตเร เชื่อม ความว่า ที่พื้นศิลา (หิน) ในละแวกป่าอันเป็นชัฏดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม นานาชนิด เช่นไม้จันทน์ กฤษณา การบูร คูน หมากหอม อโศก กากะทิง บุนนาค และ การะเกด เป็นต้น มีประการต่างๆ.

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของชาวโลก เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวโลกทั้ง ๓ ทรงมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม เพราะ ยิ่งใหญ่ด้วยพระคุณ และเพราะยิ่งใหญ่ด้วยการนับ ประทับนั่งเหนือ อาสนะศิลานั้นแล้ว ตรัสชี้แจงถึงกรรม คือการถวายดอกไม้ของพระองค์ คือได้ทรงกระทำให้ปรากฏชัดเป็นพิเศษ. คำที่เหลือในข้อความนั้น มี เนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทั้งหมด เพราะได้กล่าวไว้แล้วในพุทธาปทานใน หนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้ รวบรวมกุศลกรรมและอกุศลกรรมไว้ในอปทานนี้ ทั้งที่มีปรากฏอยู่ใน พุทธาปทานแล้ว ก็ด้วยมุ่งที่จะรวมไว้ในวรรค เพราะจะได้ชี้แจงแสดง เฉพาะกรรมแล.

จบอรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธปทาน

จบอรรถกถาอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 879

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน ๒. ลพุชทายกเถราปทาน ๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน ๔. มิลักขุผลทายกเถราปทาน ๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน ๗. กทลิผลทายกเถราปทาน ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน ๙. โสณโกฏิวิสเถราปทาน ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ.

บัณฑิตทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๙๑ คาถา.

จบอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙

จบภาณวารที่ ๑๔